xs
xsm
sm
md
lg

ICDL สหภาพยุโรปบินเข้าพบหน่วยงานรัฐ ชื่นชมรัฐแก้ตรงจุด หัวใจหลัก Digital Transformation ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่คือ Digital Competency

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



คลื่นวิกฤตโควิด-19 สร้างผลกระทบทุกภาคส่วน เป็นความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ที่บีบบังคับทุกองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องพร้อมสำหรับ Digital Transformation เพื่อไปสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 จะเห็นได้ว่าธุรกิจมากมายที่ไม่สามารถก้าวข้ามอุปสรรคที่เกิดจากวิกฤตโควิดได้เพียงเพราะไม่สามารถปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลได้ทันท่วงที ธุรกิจที่ยังรอดคือผู้ที่เตรียมพร้อมด้านเทคโนโลยีไว้ทันเวลาเท่านั้น จุดนี้สร้างความตระหนักถึงความพร้อมด้านเทคโนโลยีอย่างใหญ่หลวง
 
จากวิกฤตครั้งนี้ เป็นแรงผลักให้การลงทุนด้านไอทีสูงขึ้นในทุกภาคส่วน โดย บริษัท การ์ทเนอร์ คาดการณ์มูลค่าการใช้จ่ายด้าน IT ของประเทศไทย ว่า ใช้จ่ายผลิตภัณฑ์และบริการเทคโนโลยีในประเทศไทยในปี 2565 จะเติบโตเพิ่มขึ้น 6.4% เทียบจากปี 2564 หรือคิดเป็นมูลค่า 8.7 แสนล้านบาท (การ์ทเนอร์ : พฤศจิกายน 2564) 

ดาเมียน โอซัลลิแวน ประธานบริหารมูลนิธิ ICDL แห่งสหภาพยุโรป
การลงทุนด้านไอที การพัฒนาด้านเทคโนโลยีให้ล้ำสมัย คือ ปัจจัยหลักที่ทำให้ธุรกิจองค์กรและเศรษฐกิจระดับประเทศประสบความสำเร็จใช่หรือไม่? เนื่องในโอกาสการเยือนประเทศไทยของมูลนิธิ ICDL Foundation องค์กรผู้บริหารการดำเนินงานวุฒิบัตรทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอันดับหนึ่งของโลก โดย มร. ดาเมียน โอซัลลิแวน (Damian O’Sullivan) ประธานบริหารของมูลนิธิ ICDL แห่งสหภาพยุโรป พร้อม คุณทีน่า วู ผู้จัดการทั่วไป (Tina Wu) ICDL Asia ประจำภูมิภาคเอเชีย มี Key Message สำคัญที่ย้ำชัดต่อหน่วยงานภาครัฐ ว่า การพัฒนาด้านเทคโนโลยีและการลงทุนไม่สำคัญเท่าศักยภาพด้านดิจิทัลของบุคลากร

มร.ดาเมียน โอซัลลิแวน ประธานบริหารมูลนิธิ ICDL แห่งสหภาพยุโรป กล่าวว่า “วิกฤตโควิดมีผลให้เกิด Digital Disruption ในหลายอุตสาหกรรม ถึงแม้ทุกคนจะตระหนักด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างดีแต่ปัจจุบันสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อการทำ Digital Transformation คือ วิสัยทัศน์ของผู้นำ ที่ตระหนักถึงความสำคัญของ Digital Literacy ของบุคลากรในองค์กร หากขาดตรงนี้แล้ว อาจกล่าวได้ว่าการลงทุนด้านไอที คือ ศูนย์เปล่า สร้างความเสียหายต่อองค์กรอย่างใหญ่หลวงถึงระดับถึงขั้นยุติกิจการ ทำให้การพัฒนาประเทศถดถอยไม่ทันประเทศอื่นๆ Digital Literacy นี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้การรับรองทักษะความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ให้ได้ตามมาตรฐานสากล กับประชาชนในทุกภาคส่วน ทั้งในภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้ประเทศไทยมีกำลังคนที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพ มีขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศสามารถร่วมขับเคลื่อนประเทศสู่เป้าหมาย ดิจิทัลไทยแลนด์ได้อย่างสัมฤทธิ์ผล”

ทีน่า วู ผู้จัดการทั่วไป ประจำ ICDL ภูมิภาคเอเชีย (ทางขวา)
ทีน่า วู ผู้จัดการทั่วไป ประจำ ICDL ภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า “ตัวอย่างที่ดีในการพัฒนาด้าน Digital Literacy คือ Singapore model ซึ่งทางภาครัฐได้ให้ความสนใจกับการพัฒนากำลังคนเป็นอันดับต้นๆ ได้ทุ่มงบจัดทำ SSG WSQ Framework ซึ่งปัจจุบันคือ SkillsFuture หน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาทักษะกำลังคนระดับประเทศ กำหนดให้ ICDL เป็นมาตรฐานระดับชาติสำหรับการเรียนรู้ดิจิทัล และเปิดประตูสู่ผู้ทำงานในสิงคโปร์ทุกคนเพื่อรับประโยชน์จากโครงการ ICDL ความช่วยเหลือทางการเงินจาก SSG และการสนับสนุนจากสภาพัฒนาชุมชนในท้องถิ่นทำให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคมสามารถยกระดับตนเองได้ รวมถึงผู้ที่ตกงาน ประกอบอาชีพอิสระ คนทำงานค่าแรงต่ำ หรือผู้ที่ทำงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ไม่สามารถอุปถัมภ์พนักงานได้ เพื่ออบรมดิจิทัล นอกจากนี้ ภาครัฐยังเพิ่มงบการอบรมบุคลากรในภาคเอกชน เพื่อให้ธุรกิจมีบุคลากรที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด ตัวอย่างภาคเอกชนที่ร่วมมือกับ ICDL ไปใช้เป็นหลักและร่วมพัฒนาหลักสูตรกับ ICDL ด้วย อาทิ Alibaba Cloud, Siemens, Dell Technologies เป็นต้น ไม่ใช่เพราะว่า สิงค์ไปรเป็นประเทศร่ำรวย แต่เป็นประเทศที่มีวิสัยทัศน์และก้าวหน้าที่มองว่าแก่นสำคัญแห่งการพัฒนาปรับเปลี่ยนองค์กรให้สำเร็จอยู่ที่ ทักษะดิจิทัล และ Mindset ของบุคลากร”

รัฐบาลไทยได้มีนโยบายในการปฏิรูปประเทศไทยสู่ Digital Thailand และ Thailand 4.0 มาเป็นแนวทาง หลักในการขับเคลื่อนการพัฒนา หนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล โดยมุ่งการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีทักษะและศักยภาพพร้อมเข้าสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล

ดร.ฮิวจ์ส แพททริค โอคอนแนล กรรมการผู้จัดการ ICDL Thailand กล่าวว่า “รัฐบาลมีวิสัยทัศน์ไกลและริเริ่มนโยบายดิจิทัลไทยแลนด์ โดยวางยุทธศาสตร์ไว้ 6 ด้าน ยุทธศาสตร์ที่ 4 เป็นการปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิทัลโดยเฉพาะ จึงมีการเริ่มจากขับเคลื่อนการพัฒนาด้านทักษะดิจิทัลภาครัฐก่อน ตอนนั้นได้วาง 3 หน่วยงานให้รับผิดชอบในการพัฒนาทักษะดิจิทัลสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) (สคช.)และสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ในปี 2560 สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ร่วมกับสำนักงาน ก.พ. จัดทำรายละเอียดทักษะด้านดิจิทัลและจัดให้มีการประเมินทักษะด้านดิจิทัลให้แก่ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ ตามที่ ก.พ. กำหนด และตอนนั้นจึงได้เริ่มความร่วมมือกับมาตรฐานสากล ICDL ตั้งแต่นั้นมา”
 


โดยในการวางแนวทางในการพัฒนาทักษะดิจิทัลสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐนั้น ได้มีการศึกษาเทียบเคียงกับมาตรฐานด้านดิจิทัลระดับสากล ICDL กลุ่มหลักสูตร Digital Literacy และใช้หลักสูตรทักษะดิจิทัลมาตรฐานสากล ICDL มาเป็นเครื่องมือพัฒนาและทดสอบประเมินทักษะดิจิทัลภาครัฐต่อมา จากการเข้าพบหารือกับสำนักงาน ก.พ.ล่าสุด ได้มีการหารือเรื่องความร่วมมือขั้นต่อไปในการต่อยอดการพัฒนาในระดับทักษะดิจิทัลขั้นสูงเฉพาะทางและทักษะดิจิทัลกลุ่มเทคโนโลยีเกิดใหม่สำหรับระดับผู้บริหาร

ในปีนั้นได้มีโครงการนำร่องทดสอบประเมินทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลพื้นฐานที่จำเป็น (Digital Literacy) สำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ จำนวน 12,000 คน จากกระทรวงต่างๆ 20 กระทรวง จากผลสอบประเมินตอนนั้น พบว่า ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐของไทยยังต้องเร่งพัฒนาทักษะดิจิทัลพื้นฐานที่จำเป็นให้ทั่วถึงและให้ดีพอขับเคลื่อนการดำเนินงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ดังนั้นในการวางแผนพัฒนาทักษะดิจิทัลของภาครัฐ ซึ่งประกอบไปด้วย 5 มิติ และมิติที่ 1 คือ การรู้เท่าทันและใช้เทคโนโลยีเป็น หรือ Digital Literacy จึงถูกระบุว่าจะต้องเป็นกลุ่มทักษะดิจิทัลที่ราชการทุกคนจะต้องมีเป็นพื้นฐานก่อนเลย และ ICDL เป็นเครื่องมือที่ตอบโจทย์ที่ช่วยการพัฒนาทักษะดิจิทัลส่วนนั้นตั้งแต่นั้นมา


 
สำหรับภาคการศึกษาของประเทศไทย เราเห็นความคืบหน้าที่สำคัญ คือ เมื่อกลางปี 2565 นี้มีการกำหนดกฏกระทรวงของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ว่าด้วยมาตรฐานการอุดมศึกษาตามนโยบายปฏิรูปการอุดมศึกษาของรัฐบาลที่เป็นรูปธรรม ปรับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่ยืดหยุ่นและตอบสนองต่อสังคมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยให้นำผลลัพธ์การเรียนรู้มาสะสมในคลังหน่วยกิตเพื่อขอรับคุณวุฒิหรือปริญญาได้ เป็นการตอบสนองต่อการเรียนรู้รูปแบบตลอดชีวิต

ใบรับรองวุฒิบัตรทักษะดิจิทัล ICDL จะเป็น Micro-Credentials ที่นักศึกษาสามารถนำไปสะสมหน่วยกิตผนวกได้กับวุฒิบัตรด้านอื่นๆได้ โดยปัจจุบันนี้สะดวกมาก เมื่อสอบผ่านเกณฑ์ก็จะได้รับตรารับรองในรูปแบบอิเลกทรอนิกส์ (e-badge) และใบวุฒิบัตรในรูปแบบอิเลกทรอนิกส์ (e-certificate) ในลักษณะ Digital Profile สามารถนำไปแสดงในสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น LinkedIn, Twitter, Instagram, Facebook ได้

โครงการที่กำลังดำเนินอยู่ผ่านมาความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม คือ โครงการยกระดับทักษะดิจิทัลสู่มาตรฐานสากลให้แก่กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศทั้ง 38 แห่ง ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย โครงการนี้จะสร้างนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 20,000 คน ในปีนี้ให้เป็นบัณฑิตที่เก่งดิจิทัลระดับสากล ICDL ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทยพร้อมให้ภาคธุรกิจรับช่วงต่อใช้งาน


สำหรับบุคลากรในบริษัท หลักสูตร ICDL ก็ตอบโจทย์ให้กลุ่มคนทำงานได้เลือกพัฒนาทักษะต่างๆตามต้องการ สามารถ Re-Skill หรือ Up-Skill เพื่อสเติบโตในหน้าที่การงานที่จากนี้ไปจะเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง หรืออาจมีสายงานใหม่ๆที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เนื่องจากในอนาคตเด็กจบใหม่ลดลง ตัวเลือกในตลาดแรงงานน้อยลงมาก การนำหลักสูตรและมาตรฐานสากล ICDL มาใช้ในการพัฒนาพนักงานที่มีอยู่เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะเพิ่มศักยภาพเขา เป็นการลงทุนด้าน HR ที่คุ้มค่า

ปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าภาครัฐหันมาเห็นความสำคัญเรื่องนี้เป็นอย่างมาก วางรากฐานปูพื้นด้าน Digital Literacy ที่มีทุกภาคส่วนพร้อมร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาแบบมีแนวทางที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากล ด้วยมาตรฐานสากล ICDL ได้รับการรับรองโดยหน่วยงานและสมาคมด้านคอมพิวเตอร์ต่างๆ รัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ สหประชาชาติ ยูเนสโก หน่วยงานด้านการศึกษา และบริษัทชั้นนำทั่วโลก ซึ่งหลักสูตรมาตรฐานสากล ICDL ได้ใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งในระดับราชการ บริษัทเอกชน หน่วยงานด้านการศึกษา มหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียน ต่างๆ ในนานาประเทศรวม 150 ประเทศทั่วโลก ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ รวม 42 ภาษา และรวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนสอบไปแล้วกว่า 17 ล้านคนทั่วโลก ข้อสอบและประกาศนียบัตร 80 ล้านชุดและพร้อมที่จะปฏิบัติติภารกิจด้วยพัฒนาความรู้ความสามารถให้ทรัพยากรมนุษย์มีศักยภาพมากขึ้นเพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในภูมิภาค การรวมเอาพลังทุกภาคส่วนไม่ว่าจะภาคประชาชน ภาคธุรกิจ หรือภาครัฐ เพิ่มศักยภาพของทุกทรัพยากรด้วยความรู้ด้านดิจิทัลจะสามารถผลักดันพลิกโฉมประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0 ก้าวสู่ประเทศผู้นำในอาเซียนได้ต่อไป


กำลังโหลดความคิดเห็น