สกสว.จัดถก การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีอวกาศและความมั่นคงของไทย โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ นายปิแอร์ จาฟเฟร่ ที่ปรึกษาพิเศษด้านการลงทุน EEC แนะการปรับขบวนสร้างความมั่นคงทางเทคโนโลยีอวกาศ
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดการเสวนาออนไลน์ระดมความคิดเห็นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 5 ในหัวข้อ “การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมอวกาศและความมั่นคง: โอกาสของประเทศไทย” โดย นายปิแอร์ จาฟเฟร่ ที่ปรึกษาพิเศษด้านการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EEC
โอกาสนี้ รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้กล่าวต้อนรับ และแจ้งต่อที่ประชุมว่าการเสวนาและแลกเปลี่ยนในวันนี้จะเกิดประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) พ.ศ. 2566 - 2570 ซึ่งจะเป็นแผนระยะ 5 ปี ที่มีการจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบโลกและอวกาศ ภายใต้แผนงานของยุทธศาสตร์ที่ 3 อาทิ การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตและบริการแห่งอนาคต รวมทั้งอุตสาหกรรมอวกาศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศที่รองรับการวิจัยขั้นแนวหน้าและการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่อนาคต
ด้าน นายปิแอร์ จาฟเฟร่ ที่ปรึกษาพิเศษด้านการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EEC ให้ข้อสังเกตว่าปัจจุบันนโยบายการสนับสนุนด้านอุตสาหกรรมอากาศยานและการป้องกันประเทศ หรือ Aerospace and Defense: A&D ของประเทศไทยยังมีความกระจายตัวออกไปในแต่ละภาคส่วน ต่างคนต่างทำ พร้อมกับเสนอแนะแนวทางที่ประเทศไทยจำเป็นต้องดำเนินการใน 8 เรื่อง คือ 1) การมีคณะทำงานดูแลทิศทางอุตสาหกรรมด้านนี้ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และภาควิชาการ 2) การกำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมอากาศยานและการป้องกันประเทศในแต่ละระยะที่ชัดเจน 3) การมีระบบการเงินที่รองรับ กลไกงบประมาณรัฐบาล หรือกองทุน 4) การสร้างแชมเปี้ยน เติบโตทั้งแบบออร์แกนิกและการควบรวมกิจการเพื่อการเติบโต และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน 5) การพัฒนาระบบนิเวศและโครงสร้างพื้นฐานของ A&D 6) การกำหนดนโยบายชดเชย หรือ Offset Policy เป็นเงื่อนไขในการทำสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างกับต่างชาติ ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างที่มาพร้อมกับการถ่ายทอดเทคโนโลยี และพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ ประเทศไทยเองต้องกลับมาตั้งคำถามว่า อะไรคืออุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ 7) การปรับแก้กฎระเบียบและมาตรฐานดิจิทัล และ 8) การเปิดตัวโครงการระดับชาติและเข้าร่วมโครงการระดับนานาชาติ
ในงานเดียวกันนี้ ได้มีการหยิบยกข้อเสนอแนะของนายปิแอร์ จาฟเฟร่ มาอภิปรายแบบโต๊ะกลม “Round Table Discussion” โดย ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์ ดำเนินรายการ ร่วมกับแขกรับเชิญ ได้แก่ รศ. ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สกสว. ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์ รองผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุน บพค. ดร.ดำรงค์ฤทธิ์ เนียมหมวด รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) และ ดร.วิภู รุโจปการ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) ร่วมอภิปราย ในประเด็นการวาง Technology Roadmap สำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่จะนำไปสู่การสร้างผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานการบินและอวกาศทั่วโลก
เนื่องจากนวัตกรรมทางการบินและอวกาศที่กำลังกลายเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในระยะยาว กับการเชื่อมต่อระหว่างซัพพลายเออร์รายเล็ก ให้มีโอกาสที่จะเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทาน “ดิจิทัล” ของบรรยากาศ และอวกาศทั้งหมด (Aerospace) การพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานด้านเทคโนโลยีอวกาศจากต่างประเทศที่ก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี การกำหนดเป้าหมายเพื่อสร้างความสามารถในการผลิตวัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตดาวเทียมได้ในประเทศ รวมถึงพัฒนาความสามารถของกำลังคนในประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงในประเทศ ซึ่งเป็นโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการบินและอวกาศทั่วโลกสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดการเสวนาออนไลน์ระดมความคิดเห็นเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 5 ในหัวข้อ “การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมอวกาศและความมั่นคง: โอกาสของประเทศไทย” โดย นายปิแอร์ จาฟเฟร่ ที่ปรึกษาพิเศษด้านการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EEC
โอกาสนี้ รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้กล่าวต้อนรับ และแจ้งต่อที่ประชุมว่าการเสวนาและแลกเปลี่ยนในวันนี้จะเกิดประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) พ.ศ. 2566 - 2570 ซึ่งจะเป็นแผนระยะ 5 ปี ที่มีการจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบโลกและอวกาศ ภายใต้แผนงานของยุทธศาสตร์ที่ 3 อาทิ การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตและบริการแห่งอนาคต รวมทั้งอุตสาหกรรมอวกาศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศที่รองรับการวิจัยขั้นแนวหน้าและการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่อนาคต
ด้าน นายปิแอร์ จาฟเฟร่ ที่ปรึกษาพิเศษด้านการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EEC ให้ข้อสังเกตว่าปัจจุบันนโยบายการสนับสนุนด้านอุตสาหกรรมอากาศยานและการป้องกันประเทศ หรือ Aerospace and Defense: A&D ของประเทศไทยยังมีความกระจายตัวออกไปในแต่ละภาคส่วน ต่างคนต่างทำ พร้อมกับเสนอแนะแนวทางที่ประเทศไทยจำเป็นต้องดำเนินการใน 8 เรื่อง คือ 1) การมีคณะทำงานดูแลทิศทางอุตสาหกรรมด้านนี้ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และภาควิชาการ 2) การกำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมอากาศยานและการป้องกันประเทศในแต่ละระยะที่ชัดเจน 3) การมีระบบการเงินที่รองรับ กลไกงบประมาณรัฐบาล หรือกองทุน 4) การสร้างแชมเปี้ยน เติบโตทั้งแบบออร์แกนิกและการควบรวมกิจการเพื่อการเติบโต และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน 5) การพัฒนาระบบนิเวศและโครงสร้างพื้นฐานของ A&D 6) การกำหนดนโยบายชดเชย หรือ Offset Policy เป็นเงื่อนไขในการทำสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างกับต่างชาติ ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างที่มาพร้อมกับการถ่ายทอดเทคโนโลยี และพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ ประเทศไทยเองต้องกลับมาตั้งคำถามว่า อะไรคืออุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ 7) การปรับแก้กฎระเบียบและมาตรฐานดิจิทัล และ 8) การเปิดตัวโครงการระดับชาติและเข้าร่วมโครงการระดับนานาชาติ
ในงานเดียวกันนี้ ได้มีการหยิบยกข้อเสนอแนะของนายปิแอร์ จาฟเฟร่ มาอภิปรายแบบโต๊ะกลม “Round Table Discussion” โดย ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์ ดำเนินรายการ ร่วมกับแขกรับเชิญ ได้แก่ รศ. ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สกสว. ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์ รองผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุน บพค. ดร.ดำรงค์ฤทธิ์ เนียมหมวด รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) และ ดร.วิภู รุโจปการ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) ร่วมอภิปราย ในประเด็นการวาง Technology Roadmap สำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่จะนำไปสู่การสร้างผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานการบินและอวกาศทั่วโลก
เนื่องจากนวัตกรรมทางการบินและอวกาศที่กำลังกลายเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในระยะยาว กับการเชื่อมต่อระหว่างซัพพลายเออร์รายเล็ก ให้มีโอกาสที่จะเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทาน “ดิจิทัล” ของบรรยากาศ และอวกาศทั้งหมด (Aerospace) การพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานด้านเทคโนโลยีอวกาศจากต่างประเทศที่ก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี การกำหนดเป้าหมายเพื่อสร้างความสามารถในการผลิตวัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตดาวเทียมได้ในประเทศ รวมถึงพัฒนาความสามารถของกำลังคนในประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงในประเทศ ซึ่งเป็นโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการบินและอวกาศทั่วโลกสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์