xs
xsm
sm
md
lg

อว. ลงพื้นที่โครงการ U2T for BCG จ.สุรินทร์ ส่งเสริมภูมิปัญญาทางด้านการทอผ้าไหมซิ่นละออ บ้านตะกุย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เมื่อวันที่ 15 ส.ค.น.ส.นิสากร จึงเจริญธรรม ที่ปรึกษา รมว.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) และกรรมการบริหารโครงการ U2T for BCG พร้อมด้วยนายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัด อว. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมความคืบหน้าการดำเนินการโครงการ U2T for BCG ตำบลตรมไพร อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ภายใต้การดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.) สุรินทร์ เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำการดำเนินโครงการ U2T for BCG โดยตำบลตรมไพร เป็นตำบลที่มีภูมิปัญญาทางด้านการทอผ้าไหมเป็นทุนเดิม ซึ่ง มรภ.สุรินทร์ ได้เข้ามาช่วยยกระดับผ้าไหม โดยการออกแบบและสร้างอัตลักษณ์ด้วยลายดอกคูน รวมถึงแนะนำกระบวนการทอจากเดิม 3 ตะกอ เป็น 5 ตะกอ และกระบวนการย้อมสีธรรมชาติแทนสีจากสารเคมี ส่งผลให้ผ้าไหมของตำบลตรมไพร สามารถยกระดับและสร้างมูลค่าให้ชุมชนได้เป็นอย่างดี

น.ส.นิสากร กล่าวว่า โครงการ U2T for BCG มรภ.สุรินทร์ ดำเนินโครงการการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันการผลิตและจำหน่ายผ้าไหมลายอัตลักษณ์ชุมชนและกระเป๋าจากเศษผ้าไหม ต.ตรมไพร อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ มีผู้รับผิดชอบ ประกอบด้วย อาจารย์ดวงตา โนวาเช ผศ.กัญญา กิ่งจันทร์ โทรศัพท์ และอาจารย์วิทยา จันตุ โดยชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอำชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่มันสำปะหลัง ทำไร่อ้อยและสวนยางพารา อาชีพเสริมที่สำคัญ ได้แก่ งานบริการ ร้านอาหาร ค้าขายของชำ และมีการรวมกลุ่มเพื่อทำผลิตภัณฑ์น้ำยาจ้างจาน กลุ่มแม่บ้านทำขนม และกลุ่มทอผ้าไหม

“โดยกลุ่มทอผ้าไหมมีความเข้มแข็งและได้มีการจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนและเป็นที่รู้จัก คือ กลุ่มวิชากิจชุมชนทอผ้าไหมซิ่นละออ บ้านตะกุย ซึ่งมีสมาชิกอยู่ประมาณ 35 คน ทีม อว.โครงการ U2T for BCG จึงลงไปทำงานกับชุมชนด้วยการเพิ่มมูลค่าทางการตลาดและผ้าไหม เนื่องจากตลาดจำหน่ายผ้าไหมส่วนใหญ่ยังอยู่ระดับอำเภอ และจังหวัด ขณะที่ผ้าไหมของกลุ่มวิชากิจชุมชนทอผ้าไหมซิ่นละออ บ้านตะกุย มีความโดดเด่นในด้านความประณีตในการทอ และสีย้อมธรรมชาติ หากแต่ยังต้องการการสนับสนุนในด้านการสร้างลวดลายที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และการเพิ่มมูลค่า รวมทั้งขยายช่องทางการจำหน่าย นอกจากนั้น ในชุมชนเอง ต้องการที่จะใช้สร้างมูลค่าให้แก่เศษผ้าไหมที่เหลือจากกระบวนการตัดเย็บเสื้อผ้าซึ่งชุมชนเองได้ผลิตกระเป๋าจากเศษผ้าไหมในระดับหนึ่ง ซึ่งผลิตภัณฑ์ยังต้องการการพัฒนาในประเด็นคุณภาพการตัดเย็บและการออกแบบให้ทันสมัยเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค และสามารถจำหน่ายได้ในปริมาณมากขึ้นและราคาสูงขึ้น” น.ส.นิสากร กล่าว






กำลังโหลดความคิดเห็น