xs
xsm
sm
md
lg

สสส.- ศวส. จับมือภาคี แนะ เตรียมตัวหยุดดื่มก่อน “งดเหล้าเข้าพรรษา”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สสส.- ศวส. จับมือภาคี แนะ เตรียมตัวหยุดดื่มก่อน “งดเหล้าเข้าพรรษา” ใช้สิทธิ-สวัสดิการทางการแพทย์ ปรึกษา - ป้องกันภาวะลงแดง รุนแรงในกลุ่มคนดื่มสุราเรื้อรังได้ เสนอ ภาครัฐหนุนเข้าถึงระบบบำบัดรักษา เพิ่มการคัดกรองในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) และศูนย์ปรึกษาเพื่อการเลิกสุราและการเสพติด 1413 จัดเวทีคลับสนทนาวิชาการ “Change Charge Share เลิกเหล้าเราช่วยได้” ให้ความรู้ในการเตรียมความพร้อมก่อนงดเหล้าเข้าพรรษา แนะนำช่องทางการเข้ารับการบำบัดคัดกรอง ดูแลตัวเองหลังการบำบัดในช่วงก่อนเข้าพรรษา ป้องกันภาวะลงแดง (ขาดเหล้า) รุนแรงในคนที่เป็นพิษสุราเรื้อรัง
 
นายพิทยา จินาวัฒน์ คณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 1 สสส. กล่าวว่า ผู้ติดสุราในประเทศไทย ซึ่งมีอยู่ประมาณ 9 แสน ถึง 1 ล้านคนทั่วประเทศ ในจำนวนนี้มีผู้ติดสุราอย่างหนัก ที่อาจจะมีภาวะขาดสุรารุนแรงและซับซ้อนอยู่ประมาณ 5-10% หรือประมาณ 5 หมื่นคน ถึง 1 แสนคน โดยผู้ติดสุรากลุ่มนี้ ควรได้รับการดูแลรักษาภาวะขาดสุราในสถานพยาบาล เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และมีอันตรายถึงชีวิต ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจของ สสส. ในการขับเคลื่อนงานพัฒนา และประเมินเครื่องมือคัดกรองผู้มีปัญหาจากการดื่มสุรา ควบคู่กับการสนับสนุนงานรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาระดับชุมชน


นายพิทยา จินาวัฒน์ คณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 1 สสส. กล่าวว่า ผู้ติดสุราในประเทศไทย ซึ่งมีอยู่ประมาณ 9 แสน ถึง 1 ล้านคนทั่วประเทศ ในจำนวนนี้มีผู้ติดสุราอย่างหนัก ที่อาจจะมีภาวะขาดสุรารุนแรงและซับซ้อนอยู่ประมาณ 5-10% หรือประมาณ 5 หมื่นคน ถึง 1 แสนคน โดยผู้ติดสุรากลุ่มนี้ ควรได้รับการดูแลรักษาภาวะขาดสุราในสถานพยาบาล เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และมีอันตรายถึงชีวิต ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจของ สสส. ในการขับเคลื่อนงานพัฒนา และประเมินเครื่องมือคัดกรองผู้มีปัญหาจากการดื่มสุรา ควบคู่กับการสนับสนุนงานรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาระดับชุมชน


นายธวัชชัย กุศล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและการบริการ ศูนย์ปรึกษาเพื่อการเลิกสุราและการเสพติด 1413 กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมหยุดดื่มเหล้าในช่วงวันเข้าพรรษา ต้องเริ่มจากการศึกษาข้อมูลเรื่องวิธีการเลิกเหล้าที่ปลอดภัย และเหมาะกับตัวเอง วิธีการเลิกเหล้ามี 2 วิธีหลักๆ คือ เลิกด้วยตัวเอง และเลิกโดยการพบแพทย์ ในกลุ่มผู้ดื่มประจำหรือผู้ที่ติดสุราไปแล้ว ควรคำนึงถึงภาวะบางประการตามหลักการทางการแพทย์ ต้องระวังภาวะถอนสุรา เช่น มือสั่น เหงื่อออก หนาวสั่น หรืออาจมีบางอาการที่รุนแรง เช่น ชัก เพ้อ สับสน ที่อันตรายถึงชีวิต และจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การรักษาทั่วไปแล้วใช้เวลาในช่วงอาการถอนพิษสุรา อย่างน้อย 2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผู้ติดสุรา ผู้ติดสุราขอใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) สิทธิประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจ ในการเข้ารับการบำบัดรักษาได้ โดยตรวจสอบการใช้สิทธิ์ได้จากการโทรสอบถามโรงพยาบาลที่ต้องการเข้าบำบัดรักษา แต่หากยังไม่รู้ว่าต้องเริ่มต้นด้วยวิธีใด หรือเลิกแบบใดจะปลอดภัยและเหมาะกับตัวเองที่สุด สามารถโทรมาที่ 1413 สายด่วนเลิกเหล้า มีนักจิตวิทยาคลินิกและนักจิตวิทยาให้การปรึกษาที่เชี่ยวชาญด้านสุรา ซึ่งเปิดให้บริการทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 08:00 - 20:00 น. และในช่วงเข้าพรรษา สามารถโทรเข้ามาขอคำปรึกษาได้ทุกวันไม่เว้นวันเสาร์อาทิตย์

นายสังวรณ์ สมบัติใหม่ นักวิชาการศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ และสมาคมฮักชุมชน กล่าวต่อว่า จากการขับเคลื่อนการดูแลผู้มีปัญหาสุราและสุขภาวะโดยชุมชน ในปี พ.ศ. 2562 – 2565 ผ่านกิจกรรมตามรูปแบบเชิงพุทธ มุ่งเน้นการห่างไกลสภาพแวดล้อม เดิมใช้พื้นที่วัดในการทบทวนตัวเอง สร้างสติ ปัญญา รูปแบบกลุ่มครอบครัว และติดตามผลในระยะ 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน โดยใช้แบบประเมิน ASSIST พบว่า ผู้มีปัญหาสุราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่ม โดยสามารถเลิกดื่มสุรา 38% และลดการดื่มสุรา 55% ด้วยแนวทางของ ”การกู้คืนฟื้นตัว” หรือ “Recovery” ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อปรับปรุงสุขภาพ ความเป็นอยู่ คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยทำให้ตัวเองเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าเดิม ไม่พึ่งสุราหรือยาเสพติด หรือ เรียกอีกอย่างว่า Self-Directed Life ที่ผู้มีปัญหาสุรา มีการจัดการตัวเองแบบองค์รวม 4 มิติ ได้แก่ สุขภาพ ความเป็นอยู่ ครอบครัว และชุมชน

(ข่าวประชาสัมพันธ์)


กำลังโหลดความคิดเห็น