xs
xsm
sm
md
lg

แจงเดินพาเหรดงานไพรด์ไม่ทำให้ติด "ฝีดาษลิง" เว้นสัมผัสใกล้ชิด ชี้โรคกระจายช้า ทั่วโลกป่วยไม่ถึงพัน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



"อนุทิน" ยันติดตามเฝ้าระวัง "ฝีดาษลิง" ต่อเนื่อง ย้ำทุกคนหลีกเลี่ยงความเสี่ยง กรมควบคุมโรคแจงฝีดาษลิงไม่ได้ติดต่อกันง่ายๆ เดินพาเหรดงานไพรด์ไม่ทำให้ติด หากติดต้องสัมผัสกันใกล้ชิด อย่างต่างประเทศเป็นการติดจากกิจกรรมส่วนตัวหลังพาเหรด ชี้แพร่กระจายช้า ทั่วโลกไม่ถึงหลักพัน ส่วนตุ่มดูน่ากลัว รักษาดีไม่เป็นแผลเป็น

เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. ที่สถาบันบำราศนราดูร นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงสถานการณ์โรคฝีดาษในไทย ว่า กรมควบคุมโรคติดตามเฝ้าระวังอยู่ตลอด หวังว่าทุกคนน่าจะดูแลตัวเองได้ เราต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัส ต้องรู้ว่ากลุ่มเสี่ยงอยู่ตรงไหน แล้วหลีกเลี่ยงการนำตัวเองเข้าไปอยู่ในจุดเสี่ยง ส่วนกรณีงาน Pride ที่สีลม คนที่ร่วมงานก็ต้องเฝ้าระวังตามวิธีปฏิบัติตน ส่วน สธ.ก็ต้องเฝ้าระวังเช่นกัน ทั้งนี้ สธ.ก็บอกไปยังสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานถึงวิธีการปฏิบัติตัว และมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมาตลอด

"ฝีดาษลิงดูเป็นโรคที่น่ากลัว แต่อัตราการเสียชีวิตไม่เหมือนกับไข้เลือดออก หรือโรคโควิด 19 แต่ฝีดาษลิงแสดงออกให้เห็นชัดว่าน่ากลัว จึงต้องระวัง เป็นโรคติดต่อจาการสัมผัส การเดินทางของผู้คนจำนวนมากก็มีโอกาสที่ประเทศไทยจะเจอผู้ติดเชื้อได้ สิ่งที่เราต้องเตรียมคือเวชภัณฑ์ ยา การรักษา" นายอนุทินกล่าว

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคฝีดาษลิงไม่ได้ติดต่อกันง่ายๆ ซึ่งมีการติดเชื้อประมาณ 2-3 เดือนแล้ว ผู้ติดเชื้อทั่วโลกยังไม่ถึงหลักพันคน หากเทียบกับโควิดอาจจะขึ้นไปเป็นล้านคนแล้ว และขณะนี้ยังไม่มีผู้เสียชีวิตจากฝีดาษลิง เพียงแต่ตุ่มที่ขึ้นมาอาจดูน่ากลัว ส่วนกรณีข้อกังวลการจัดงานไพรด์นั้น การเดินพาเหรดธรรมดาไม่ทำให้ติดโรคฝีดาษลิง เพราะไม่ได้จะติดกันง่ายๆ แบบโควิด แต่ที่งานพาเหรดในต่างประเทศมีการติดกัน เพราะมีกิจกรรมหลังพาเหรด ซึ่งเป็นพฤติกรรมส่วนบุคคล โดยโรคฝีดาษลิงเป็นการติดต่อกันจากการสัมผัสใกล้ชิด

"การแพร่กระจายของโรคฝีดาษลิงถือว่าช้า การนับผู้ติดเชื้อสะสมย่อมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่หากเทียบกับโควิดก็คงเป็นล้านคนแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่ถึงพันคน ส่วนประเทศไทยเราเป้นประเทศเปิด คนเข้าออกมาได้ คนมาอาจไม่มีอาการ เราก้ต้องตรวจจับให้เจอและควบคุมไม่ให้แพร่กระจายออกไป ส่วนยา เวชภัณฑ์ก็มีการตเรียมให้พร้อม ส่วนตุ่มที่ขึ้นมาอาจจะดูน่ากลัว แต่หากรักษาดีๆ ก็ไม่เป็นแผลเป็นมาก เหมือนเด็กเป็นอีสุกอีใส สุดท้ายตุ่มก็หาย แต่หากรักษาไม่ดี มีภาวะแทรกซ้อนก็อาจเกิดแผลเป็นได้" นพ.โอภาสกล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น