xs
xsm
sm
md
lg

ผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 ที่ป่วยเป็นโรคไต ไม่ต้องกังวล ไต

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ไต เป็นหนึ่งอวัยวะสำคัญของร่างกายที่ช่วยกรองของเสีย ถ้าหากป่วยเป็น "โรคไต" ย่อมส่งผลอย่างมากต่อสุขภาพ และโรคไตยังเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องดูแลรักษายาวนานตลอดชีวิต ทำให้ภาระค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง สำหรับผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครองกรณีป่วยเป็นโรคไตทุกระยะ สามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่กำหนด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย "ประกันสังคม" โดยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือมาตรา 39 ที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันที่เข้ารับการรักษา ส่วนในกรณีส่งเงินสมทบเข้ากองทุนครบ 3 เดือนแล้วแต่ลาออกจากประกันสังคม จะยังขอรับสิทธิรักษาได้ต่ออีก 6 เดือนนับตั้งแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

ผู้ป่วยโรคไต ประกันสังคมช่วยอะไรบ้าง ?
1.กรณีโรคไตวาย (ที่ไม่ใช่ระยะสุดท้าย) ได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรก โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายตามคำสั่งของแพทย์ ณ โรงพยาบาลตามสิทธิ (ยกเว้น สิทธิ์บำบัดทดแทนไต เช่น การฟอกไต ปลูกถ่ายไตการล้างช่องท้อง เป็นต้น)
2.กรณีโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
- ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ไม่เกิน 1,500 บาทต่อครั้งและไม่เกิน 4,500 บาทต่อสัปดาห์ (เดือนละ 18,000 บาท)
- จ่ายค่าเตรียมเส้นเลือดสำหรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมพร้อมอุปกรณ์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 20,000 บาทในระยะเวลา 2 ปี (หากใน 2 ปีนี้จำเป็นต้องเตรียมเส้นเลือดหรือแก้ไขเส้นเลือด จ่ายเพิ่มให้อีกไม่เกิน 10,000 บาท)
- การล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างถาวรไม่เกิน 20,000 บาท
- จ่ายค่าวางท่อรับส่งน้ำยาเข้าออกทางช่องท้องพร้อมอุปกรณ์ไม่เกิน 20,000 บาท (หากใน 2 ปีนี้จำเป็นต้องวางท่อรับส่งน้ำยาทางช่องท้อง จ่ายเพิ่มให้อีกไม่เกิน 10,000 บาท)
- ปลูกถ่ายไตได้รับสิทธิบริการทางการแพทย์ ก่อน ระหว่าง หลัง การผ่าตัดปลูกถ่ายไต และรับยากดภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต

วิธีขอรับสิทธิรักษาโรคไต ประกันสังคม
สำหรับผู้ประกันตนต้องการรับบำบัดทดแทนไต จะต้องทำการยื่นขอรับการอนุมัติก่อนที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา โดยเตรียมเอกสารประกอบ ได้แก่
1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีบำบัดทดแทนไตและปลูกถ่ายอวัยวะ หรือการดูแลหลังผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะและรับยากดภูมิคุ้มกันกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-18)
2. สำเนาเวชระเบียนในส่วนที่เกี่ยวข้อง
3. ผลการตรวจไตตามหลักเกณฑ์ฃ
4. หนังสือรับรองจากอายุรแพทย์โรคไต
5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
6. สำเนาหนังสือเดินทาง Passport หรือหนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (เฉพาะต่างชาติ/ต่างด้าว)
7. ใบอนุญาตทำงาน Work permit (เฉพาะต่างชาติ/ต่างด้าว)




กำลังโหลดความคิดเห็น