xs
xsm
sm
md
lg

วช. หนุน มช. แสดงศักยภาพงานวิจัยมุ่งเป้าดูแลภาวะฉุกเฉินด้าน “การแพทย์-สาธารณสุข” อย่างครบวงจร จากล่างสู่บนปีที่ 2

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สนับสนุนการประชุมวิชาการ เหลียวหลัง-แลหน้า งานวิจัยมุ่งเป้า “การพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านการดูแลภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างครบวงจร จากล่างสู่บน ปีที่ 2” ให้แก่ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อนำเสนอสรุปผลการดำเนินการของโครงการวิจัยภายต้แผนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย การบริหารจัดการแผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานระบบบริการสุขภาพ : การพัฒนาระบบบริการเพื่อการดูแลภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างครบวงจร เป็นปีที่ 2 โดยมีกำหนดจัดการประชุมแบบ Hybrid ในวันที่ 31 มีนาคม – 1 เมษายน 2565 ณ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมวันที่ 31 มีนาคม 2565 และ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติปราศรัยพิเศษ “บทบาทของ อว. กับการวิจัยและพัฒนา
ด้านระบบบริการสุขภาพ”

วันนี้ (31 มี.ค.) ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีบทบาทสำคัญในการให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยหลักของประเทศ และเป็นหน่วยงานกลางที่ประสานเชื่อมโยงทุกภาคส่วนบน
ฐานงานวิจัยให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่งงานวิจัยมีความสำคัญกับการพัฒนาในทุกมิติ งานวิจัยที่ดีจะสามารถช่วย
ให้การพัฒนาบรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดความรู้ใหม่ และแนวทางใหม่ โดย วช.
มีกลไกในการส่งเสริม สนับสนุนทุนวิจัย และนวัตกรรม ในรูปแบบต่าง ๆ ครอบคลุมทุกด้าน ทุกสาขาวิชาการ
เพื่อการพัฒนาและแก้ปัญหาระดับชาติ จากการดำเนินงานของแผนงาน Spearhead “การพัฒนาระบบ
บริการสุขภาพด้านการดูแลภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างครบวงจร จากล่างสู่บนปีที่ 2”
เป็นรูปแบบใหม่ของการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยระบบบริการสุขภาพ: การพัฒนาระบบบริการเพื่อการดูแลภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างครบวงจร และมีการขยายผลงานวิจัยและนวัตกรรมออกไปสู่พื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งถือเป็นงานวิจัยที่มีการกำหนดเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาการบริการสุขภาพของคนไทยในประเทศชาติร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นายแพทย์สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ ภายใต้โครงการวิจัยแบบบูรณาการยุทธศาสตร์เป้าหมายด้านสังคม ที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก วช. มาขับเคลื่อนให้เกิดงานวิจัยที่มีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในการเข้าถึงบริการระบบบริการสุขภาพ ที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยมุ่งเป้าไปที่ “การพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านการดูแลภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างครบวงจร จากล่างสู่บนปีที่ ๒” เป็นการพัฒนาระบบทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องทั้งภาวะฉุกเฉินที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ และจากโรคภัยไข้เจ็บโดยเฉพาะกลุ่มโรคเรื้อรัง ซึ่งถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากปัจจุบันระบบยังมีช่องว่างของตัวระบบบริการสุขภาพที่ต้องการการวิจัยพัฒนาในหลายประเด็น โดยหวังว่าผลของโครงการวิจัยจะเป็นประโยชน์สำคัญในการช่วยลดช่องว่างของระบบบริการที่ยังเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพสำหรับประชาชนทุกระดับ และสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ในการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร การจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการจัดการบริการสุขภาพตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan) สู่การยกระดับมาตรฐานระบบบริการสุขภาพให้กับหน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับทั่วประเทศ ให้มีมาตรฐาน มีความปลอดภัย มีกลไกในการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานสร้างเครือข่ายวิชาการ ด้าน สังคม แผนงานระบบบริการสุขภาพ: การพัฒนาระบบบริการเพื่อการดูแลภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างครบวงจรและก้าวสู่ในปีที่ 3 ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีความมั่นคงและปลอดภัยต่อไป

สำหรับโครงการ “การพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านการดูแลภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างครบวงจร จากล่างสู่บนปีที่ 2” การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน สร้างความตระหนักรู้ด้านการแพทย์
ให้กับประชาชนและนำไปสู่การพัฒนาทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้และ
มีส่วนร่วมในการเข้าถึงระบบการบริการสาธารณสุข การนำองค์ความรู้ที่จะได้รับจากโครงการวิจัยในการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง และการดูแลคนไข้หลังพ้นระยะฉุกเฉิน เป็นการนำไปสู่แนวทางในการป้องกันลดการสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากสภาวะการเจ็บป่วยที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ซึ่งระบบบริการสุขภาพจะเป็นเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ การเข้าถึงบริการสุขภาพที่เหมาะสมเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานลดความเหลื่อมล้ำในสังคมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาต่อประเทศชาติต่อไป








































กำลังโหลดความคิดเห็น