เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยหน่วยบูรณาการเชิงประเด็นยุทธศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ด้านสิ่งแวดล้อม (SAT : Strategic Agenda Team) หรือ SAT สิ่งแวดล้อม จัดเสวนา ปลดล็อคการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ในประเด็น ความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อนำเสนอแนวคิด แนวทางการการดำเนินงาน ให้เกิดการขับเคลื่อนการวิจัยทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศ โดยมี ผู้เข้าร่วมการเสวนา ซึ่งประกอบด้วยทุกภาคส่วน ผู้แทนหน่วยราชการ อาทิ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักการต่างประเทศ กระทรวงการเกษตร คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ (คปช.) อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ฯลฯ รวมทั้งนักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้าน ความหลากหลายทางชีวภาพ
โอกาสนี้ รศ.ดร.โสภารัตน์ จารุสมบัติ ประธาน SAT สิ่งแวดล้อม อธิบายถึงการดำเนินงาน SAT สิ่งแวดล้อม ภายใต้การสนับสนุนของ สกสว. ก่อนเปิดให้ผู้เข้าร่วมเสวนาเสนอความเห็น ว่า SAT: Strategic Agenda Team มีหน้าที่ประสานเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ติดตามสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสังเคราะห์และจัดการองค์ความรู้ ให้เกิดความเชื่อมโยงการใช้องค์ความรู้ และการขับเคลื่อนองค์ความรู้ ระหว่างองค์กรในทุกระดับ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การดำเนินงานดังกล่าวจะช่วยลดช่องว่างของการพัฒนา และการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของประเทศไทยอย่างแท้จริง อย่างไรก็ดี การจัดสานเสวนาครั้งนี้ เป็นการจัดครั้งที่ 3 จากที่กำหนดประเด็น สำคัญ ๆ ไว้ ทั้งสิ้น 5 เรื่อง เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวล และ สังเคราะห์ข้อจัดทำรายงานสรุปให้กับ สกสว. เพื่อดำเนินการดังที่กล่าวมาแล้ว ขณะเดียวกัน ทาง SAT สิ่งแวดล้อม จะนำข้อมูลที่ได้จากจัดเวทีเสวนาทั้งหมดมาจัดเสวนาอีกครั้ง เพื่อสื่อสารชุดข้อมูลความรู้คืนสู่สาธารณะ และเพื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อไป
สำหรับความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมเสวนา สะท้อนมุมมองว่า ความหลากหลายทางชีวภาพ มีความเกี่ยวของ และเชื่อมโยงประเด็นทางสิ่งแวดล้อมหลายมิติ ตั้งแต่มิติทางน้ำ ทางบก และทางภูเขา แต่การดำเนินการด้านการวิจัยนี้ ยังขาดความเชื่อมโยงการทำงาน และมีช่องว่างของการทำงาน เช่น เรื่องฐานข้อมูลการวิจัย Open Data ข้อมูลการวิจัย และการเชื่อมต่อการวิจัยอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะ เรื่องของอนาคตศึกษาในประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งสามารถแยกประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยสิ่งแวดล้อมในมิติต่างๆ ดังนี้ คือ
1. การส่งเสริมงานวิจัยพื้นฐาน การบูรณาการศาสตร์การวิจัยและการวิจัยข้ามศาสตร์ต่างๆ เนื่องด้วยในช่วงหลายปีที่มาการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐาน โดยเฉพาะงานวิจัยพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย ถือว่ามีความก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง ได้พัฒนาองค์ความรู้ที่เป็นฐานสำคัญในทางวิทยาศาสตร์ที่เพียงพอในการประโยชน์ในเชิงรูปธรรม เพียงแต่คงมีลักษณะแบบแยกส่วนของงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งที่งานวิจัยด้านการบริหารจัดการที่เป็นการเชื่อมโยงและร้อยเรียงประเด็นทางความหลากหลายทางชีวภาพ เข้ากับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร วิถีชีวิต และความสามารถในการแข่งขันของประเทศนั้นถือว่ายังเป็นช่องว่างที่สำคัญ อาทิ ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหารและทรัพยากร นอกจากการส่งเสริมงานวิจัยพื้นฐาน การบูรณาการศาสตร์การวิจัยและการวิจัยข้ามศาสตร์ต่างๆ อีกทางหนึ่งยังเป็นการสร้างกำลังคน นักวิจัย และ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าว ในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่จะเห็นความร่วมมือ และการทำงานร่วมกันที่ดีขึ้น
2. ประเด็นการสื่อสาร ว่าด้วยความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้กระบวนการสื่อสารในหลายระดับ สำหรับการสื่อสารให้สาธารณะนั้น เป็นการสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักรู้ความสำคัญ ถึงเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ต่อนิเวศน์และทรัพยากรธรรมชาติทั้งระบบ โดยเฉพราะเรื่อไบโอไดเวอร์ซิตี้ ที่ปัจจุบันเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในแต่ละชุมชนนำมาประยุกต์เข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือนำไปปรับให้เข้ากับความรู้แบบสมัยใหม่ ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจที่เน้นการผลิตแบบยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้เราได้บริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น อีกทั้งแต่ละภูมิภาคที่มีระบบนิเวศต่างกัน หากเลือกปลูกพืชท้องถิ่นแล้ว นอกจากจะได้ผลผลิตที่ปลอดสารเคมีแล้ว ยังทำให้แต่ละชุมชนมีสินค้าที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และที่สำคัญคือ การทำเกษตรที่เน้นความหลากหลายเช่นนี้ ยังช่วยควบคุมและรักษาสมดุลแก่ธรรมชาติอีกด้วย โดยเฉพาะหากคนในชุมชนรู้จักการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสมและรักษาไม่ให้เสื่อมโทรม ยิ่งทำให้สายป่านของธุรกิจสินค้ากลุ่มไบโอไดเวอร์ซิตี้ดำเนินไปอย่างยั่งยืน
ขณะเดียวกันเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคน ที่ทุกคนต่างมีส่วนทำให้เกิดความเสียหาย หรือการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา เช่น เรื่องของการใช้ทรักยากร การลดปริมาณการใช้ขยะ รวมถึงการสร้างผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) โดยการเชิญผู้ประกอบการที่ผลิตยางรถยนต์ เข้ามามีส่วนร่วมกับการวิจัย และกำหนดขีดความสามารถในการผลิตและทิศทางในการใช้ประโยชน์ และผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งถือเป็นการวางแผนและบริหารจัดการอย่างบูรณาการจากภาคส่วนต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถต่อยอดการสื่อสารสาธารณะ เป็นการสื่อสารไปยังผู้มีส่วนกำหนดนโยบาย เพื่อกำหนดวิธี และระเบียบการปฏิบัติอีกทางหนึ่ง