xs
xsm
sm
md
lg

รู้หรือไม่? เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 แล้ว จะสามารถใช้สิทธิประโยชน์ได้ เมื่อไหร่กัน?

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ กลุ่มคนลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการ และหน่วยงานราชการ เช่น พนักงานออฟฟิศ พนักงานโรงงาน เป็นต้นค่ะ โดยคุ้มครอง 7 กรณีด้วยกัน ได้แก่
• กรณีเจ็บป่วย
• กรณีคลอดบุตร
• กรณีทุพพลภาพ
• กรณีเสียชีวิต
• กรณีสงเคราะห์บุตร
• กรณีชราภาพ และ
• กรณีว่างงาน

โดยในแต่ละความคุ้มครองมีเงื่อนไขการใช้สิทธิดังนี้
• กรณีเจ็บป่วย
ผู้ประกันตนจะสามารถใช้สิทธิประโยชน์นี้ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เมื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่เลือกไว้ตามสิทธิ โดยจะส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์
• กรณีคลอดบุตร
ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันคลอดบุตร โดยสามารถเบิกค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 15,000 บาท ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
• กรณีทุพพลภาพ
กรณีนี้... ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์เมื่อสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนทุพพลภาพ
• กรณีตาย
เมื่อผู้ประกันตนเสียชีวิต หรือตาย จะจ่ายค่าทำศพ 50,000 บาทและเงินสงเคราะห์กรณีตาย โดยคำนวณจากการส่งเงินสมทบ สิทธิประโยชน์นี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเดือนที่ถึงแก่ความตาย
• กรณีสงเคราะห์บุตร
ผู้ประกันตนสามารถรับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่าย เดือนละ 800 บาทได้ เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิ โดยเบิกได้ตั้งแต่เกิดจนถึง 6 ปี บริบูรณ์

• กรณีว่างงาน
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน
และกรณีสุดท้าย
• กรณีชราภาพ
โดยจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ เมื่อผู้ประกันตนมีอายุครบ 55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือจะเกิดขึ้นเมื่อเป็นผู้ทุพพลภาพหรือตาย

หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th หรือแอด Line Official @ssothai เท่านี้ ก็สามารถสอบถามและไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหวจากสำนักงานประกันสังคม

                 


กำลังโหลดความคิดเห็น