xs
xsm
sm
md
lg

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดโครงการ “สูงวัยหัวใจยังเวิร์ค” ส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางดิจิทัล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สนับสนุนภาคีเครือข่ายโครงการ “สูงวัยหัวใจยังเวิร์ค” เพื่อพัฒนาทักษะและเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ส่งเสริมทักษะการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สร้างสรรค์และผลิตชิ้นงานที่สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุให้มีโอกาสในการสร้างอาชีพ และเป็นช่องทางในการสร้างพฤติกรรมเชิงบวกให้กับประชาชนทั่วไปได้เข้าใจสภาพของสังคมผู้สูงวัยในมิติด้านคุณค่าส่วนบุคคลและเชิงเศรษฐกิจของสังคม ภายในงานจัดเสวนา “ผู้สูงวัยใช้สื่อออนไลน์อย่างไรให้เวิร์ค” โดยมี ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นประธาน พร้อม Influencer สูงวัย จากโลกโซเชียล ได้แก่ คุณณัฐรดา สุขสุธรรมวงศ์, ทพ.สมชัย สุขสุธรรมวงศ์, คุณชุติมา แสนนนท์, คุณกาญจนา สร้อยสิงห์, คุณสุเทพ ประยูรพิทักษ์ ฯลฯ พร้อมเวิร์คช้อปฯ พัฒนาทักษะและเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ในการสร้างแนวทางการใช้เทคโนโลยีทางดิจิทัล (วันอังคารที่ 21 ธันวาคม 2564 ณ แลนด์แล็บ ศูนย์การเรียนรู้ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี)

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ให้สัมภาษณ์ถึงแนวคิดในการส่งเสริมโครงการฯ นี้ว่า ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเปลี่ยนผ่านเป็นสังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์โดยมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นและจากรายงานข้อเสนอเชิงนโยบายสู่วิถีชีวิตแนวใหม่ของสังคมผู้สูงอายุด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจัดทำโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย พบว่าผู้สูงอายุ ที่มีช่วงวัย 60 - 70 ปี และ ผู้จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ ช่วงวัย 50 - 59 ปี มีการเข้าถึงและใช้งานอินเทอร์เน็ต วันละ 5 - 6 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที - 1 ชั่วโมงและเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยระยะเวลาการใช้งานแต่ละวันพบว่า ใช้งานเฉลี่ยวันละ 2 - 3 ชั่วโมง สะท้อนให้เห็นว่าอินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ของทั้งสองกลุ่มวัย โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 50 - 45 ปี ที่กำลังจะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุในอนาคต มีระยะเวลาใช้งานเฉลี่ยวันละ 4 - 5 ชั่วโมง

นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีความหลากหลาย ลักษณะประกอบด้วย การใช้สื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ ไลน์ เฟซบุ๊ก และยูทูบ โดยใช้สนทนาอ่านข่าวติดตามข่าวสารในระดับมาก ดังนั้นมีมุมมองใหม่แตกต่างจากอดีต ที่มองว่าผู้สูงอายุมีความกังวล ไม่คุ้นเคย ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีได้ มาเป็นภาพผู้สูงอายุที่ยอมรับเทคโนโลยีมีการใช้เทคโนโลยีในกิจกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน แสดงให้เห็นว่าสื่อออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ถือว่า กลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้สูงวัย เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่สำคัญ จึงดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุต่อเนื่องทุกปี ล่าสุดภายใต้ชื่อ “สูงวัยหัวใจยังเวิร์ค” มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะและเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ในการสร้างแนวทางการใช้เทคโนโลยีทางดิจิทัล, เพื่อให้ตอบสนองต่อทักษะการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น, เพื่อสร้างสรรค์และผลิตชิ้นงานสื่อที่สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุให้มีโอกาสในการสร้างอาชีพ, เพื่อเป็นช่องทางในการสร้างพฤติกรรมเชิงบวกให้กับประชาชนทั่วไปได้เข้าใจสภาพของสังคมผู้สูงวัยในมิติด้านคุณค่าส่วนบุคคลและเชิงเศรษฐกิจของสังคม โดยเน้นกลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงวัยอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยมีแนวคิดหลัก ส่งเสริมผู้สูงวัยหัวใจดิจิทัล อัพสกิลทักษะออนไลน์ เรียนรู้แบบเข้าใจ ทำได้ ใช้เป็น ผ่านกลยุทธ์การสนับสนุน เพราะเชื่อว่า การปรับตัวของผู้สูงวัยมีข้อจำกัดทางร่างกายและความกังวลที่เป็นอุปสรรค โครงการจึงเปิดรับนักศึกษาตัวแทนเยาวชนที่เชี่ยวชาญเทคโนโลยี เพื่อเป็น “Digital Buddy” ของผู้สูงวัย เป็นหน่วยสนับสนุนร่วมบ่มเพาะจนเกิดต้นแบบที่เป็นองค์ความรู้กลับคืนสู่สังคม นอกจากนี้กิจกรรมในโครงการ มีเปิดอบรมและสร้างต้นแบบผู้สูงวัยที่มีความประสงค์จะใช้ทักษะทางดิจิทัลและสื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต ในวันที่ 12 – 14 ม.ค. 65 โดย จัดอบรมฟรี 4 หลักสูตร ได้แก่ ดิจิทัล D 101: YOLD Creator นักผลิตสื่อวัยเก๋า อบรมการผลิตสื่อสร้างสรรค์เพื่อลงบนแพลทฟอร์มออนไลน์ อาทิ ยูทูป, เฟสบุค อบรมการถ่ายภาพ ,การตัดต่อด้วยโทรศัพท์มือถือ, การพูดหน้ากล้องอย่างมั่นใจ, ดิจิทัล D102: YOLD Digital Marketer นักขายออนไลน์วัยเก๋าอบรมการ ตลาดออนไลน์ เฟสบุค, Tiktok, ดิจิทัล D 103: YOLD Online Tutor ครูออนไลน์วัยเก๋าการเปลี่ยนความรู้และทักษะให้เป็นรายการด้วยการสอนออนไลน์ และ ดิจิทัล D104: YOLD Digital Literacy รู้ทันสื่อดิจิทัล, ต่อต้านข่าวลวง ข่าวปลอม สามรถติดตามรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เฟสบุ๊คแฟนเพจสูงวัยหัวใจยังเวิร์ค

“สังเกตเห็นว่าในการให้ทุนในแต่ละปี เราก็จะมีคนสูงอายุหรือกลุ่มผู้สูงวัย เพราะเราต้องการที่จะให้ทุกท่านสามารถที่จะใช้สื่อได้อย่างถูกต้อง มีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ แล้วก็สามารถที่จะเป็นผู้ผลิตสื่อที่ดีด้วย เพราะทุกวันนี้ เรารับข้อมูลและส่งต่อ จนเรียกว่าทุกคนเป็นสื่อ โดยกิจกรรมนี้ จะได้ประโยชน์ทั้งสองด้าน ด้านแรกทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ วิเคราะห์แยกแยะได้ว่าข่าวไหนลองเอาไหนจริงอันไหนที่จะส่งผลกระทบทางบวก อันไหนส่งผลกระทบทางลบ เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ร่วมกัน ด้านสอง เมื่อเข้ารับการอบรมแล้ว ทุกคนสามารถที่จะสร้างสรรค์สื่อดี ๆ ได้ บอกเล่าเรื่องราวที่ท่านรู้สึกประทับใจ ถ่ายทอดไปสู่คนอื่นอย่างสร้างสรรค์ อนาคตเราอยากเห็น creator เป็นผู้สูงวัย มาถ่ายทอดองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญของเขา แล้วเราก็อยากเห็นว่าผู้สูงวัยมีทักษะในการที่จะใช้สื่อออนไลน์ที่เป็นประโยชน์เช่น ขายสินค้าออนไลน์ เป็นนักการตลาดดัง ฯลฯ ต้องยอมรับความจริงว่าวันนี้ เรามีประชากรที่สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำอย่างไร ให้เขารู้สึกว่าไม่ได้เป็นภาระของสังคม การทำโครงการฯ เสมือนเปิดโอกาสให้ได้ใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ และเกิดการพบปะกับรุ่นอื่นๆ มีการทำงานร่วมกัน จึงขอเชิญชวนทุกท่านร่วมกิจกรรมครับ”

ผู้สูงวัยที่สนใจ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ https://forms.gle/iMA6c262MZa2r5Hn6
นักศึกษาตัวแทนเยาวชนที่สนใจร่วมเป็น “Digital Buddy” ของผู้สูงวัย สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ https://forms.gle/FdFiEPGHKdKzCU5BA














กำลังโหลดความคิดเห็น