xs
xsm
sm
md
lg

10 ธันวาคม วันสิทธิมนุษยชนโลก เครือซีพี ดีเดย์เปิดตัว “รายงานสิทธิมนุษยชน” ฉบับปฐมฤกษ์ มาตรฐานระดับโลกตามกรอบ “UNGPRF” ชูนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



10 ธันวาคม วันสิทธิมนุษยชนโลก เครือซีพี ดีเดย์เปิดตัว “รายงานสิทธิมนุษยชน” ฉบับปฐมฤกษ์ มาตรฐานระดับโลกตามกรอบ “UNGPRF” ชูนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงการปลูกฝังสิทธิมนุษยชนในองค์กร ไปจนถึงกลุ่มคู่ค้าธุรกิจ
วันนี้ (9 ธ.ค.) นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจของเครือฯ ได้ยึดมั่นในการทำธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชนทั้งในธุรกิจของเครือฯ และตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยเครือซีพีได้ตั้งเป้าหมายด้านสิทธิมนุษยชนเป็น 1 ในยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของเครือฯ และเพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรที่มีมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนในระดับโลก เครือซีพีจึงจัดทำรายงานสิทธิมนุษยชน หรือ Human Right Report ขึ้นเป็นฉบับแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินธุรกิจตามมาตรฐานของ UN Guiding Principles reporting Framework (UNGPRF) อย่างครอบคลุม โดยกำหนดเผยแพร่รายงานสิทธิมนุษยชนฉบับปฐมฤกษ์อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันสิทธิมนุษยชนโลก เพื่อตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจควบคู่กับการเคารพสิทธิมนุษยชนตามกรอบกติการะหว่างประเทศและกรอบกฎหมายในแต่ละประเทศที่เครือฯและบริษัทในเครือฯเข้าไปลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามหลักการชี้แนะสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน หรือ UN Guiding Principles on Business and Human Rights (UNGPs)
“ผมคาดหวังว่ารายงานสิทธิมนุษยชนของเครือซีพี จะเป็นช่องทางหนึ่งเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวกับเครือฯได้มีโอกาสรับรู้รับทราบและนำไปสู่การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและเสนอข้อชี้แนะแก่เครือฯ เพื่อยกระดับการดำเนินธุรกิจควบคู่กับการส่งเสริมและเคารพสิทธิมนุษยชนของเครือซีพี และพันธมิตรธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน” ซีอีโอ เครือซีพี กล่าว
ด้านนายนพปฎล เดชอุดม ประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า เครือซีพีมุ่งมั่นในการเคารพหลักสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียและผู้ทรงสิทธิทุกกลุ่มที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจ หรือการดำเนินความสัมพันธ์ทางธุรกิจ โดยได้กำหนดแนวทางในการส่งเสริมและเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจนผ่านจรรยาบรรณธุรกิจ หรือ Code of Conduct บังคับใช้กับพนักงานทุกคนในทุกบริษัท และ จรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าธุรกิจ หรือ Supplier Code of Conduct บังคับใช้กับคู่ค้าธุรกิจของเครือฯ อีกทั้งยังออกนโยบายต่าง ๆ ด้านสิทธิมนุษยชน อาทิ 1. นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน 2. นโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน 3. นโยบายและแนวปฏิบัติในการจ้างแรงงานข้ามชาติ 4. นโยบายและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 5. นโยบายและแนวปฏิบัติเรื่องการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ 6. นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการแจ้งเบาะแส 7.นโยบายและแนวปฏิบัติที่ดีด้านความหลากหลายและการอยู่ร่วมกัน
ที่ผ่านมาเครือซีพีมีความมุ่งมั่นนำหลักสิทธิมนุษยชนสากลมาบูรณาการในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยกำหนดกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนรอบด้าน หรือ Human Rights Due Diligence เพื่อประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน เปิดช่องทางรับเรื่องร้องเรียนและเยียวยา รวมทั้งยังส่งเสริมคู่ค้าธุรกิจตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทานยึดตามหลักปฏิบัติที่ดีเพื่อยกระดับสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากล สำหรับผู้สนใจสามารถติดตามรายงานสิทธิมนุษยชน เครือซีพี ได้ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป
ดาวน์โหลดรายงานฉบับภาษาไทยได้ที่ https://www.cpgroupglobal.com/th/heart/SD_Human-Rights-and-Labor-Practice
ดาวน์โหลดรายงานฉบับภาษาอังกฤษได้ที่ https://www.cpgroupglobal.com/Heart/HumanRights




กำลังโหลดความคิดเห็น