xs
xsm
sm
md
lg

เด็กไทยคว้ารางวัล International Concept Artist Award แนะ 8 ขั้นตอนออกแบบแนวคิด สู่ผลงานออกแบบยอดเยี่ยม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“ลูกหว้า” รางวัลชนะเลิศ การประกวดออกแบบคาแรคเตอร์ตัวละคร “Earth Guardians ฮีโร่ผู้พิทักษ์โลก”
เปิดห้องเรียนจำลองนิวซีแลนด์ “Concept Design” แนวคิดการออกแบบสร้างแรงบันดาลใจสู่ผลงานยอดเยี่ยม พร้อมเปิดใจนักเรียนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ International Ultimate Concept Artist Award จากการประกวดนักเรียนระดับมัธยมทั่วโลก ในโครงการประกวดการออกแบบคาแรคเตอร์ตัวละคร “Earth Guardians ฮีโร่ผู้พิทักษ์โลก” จาก มหาวิทยาลัย แมสซี (Massey University) ประเทศนิวซีแลนด์ ที่ตัดสินรางวัลร่วมกับ Weta Workshop สตูดิโอที่มีชื่อเสียงด้าน concept design และผลิตเอฟเฟกต์ ที่สร้างหนังรางวัลระดับโลกเช่น The Lord of the Rings, Avatar และ The Hobbit

อาชีพนักออกแบบมัลติมีเดียและแอนิเมชั่น (Multimedia / Animator artists) ยังคงเป็นอาชีพมาแรงของคนยุคดิจิทัล ทำหน้าที่ออกแบบและสร้างสรรค์ภาพการ์ตูน ภาพเคลื่อนไหว เพื่อใช้ในภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ ซึ่งนิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับถึงความโดดเด่นด้านการศึกษาทางด้านนี้

แมรี่ เทอร์สตัน รักษาการเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ ประจำประเทศไทย
ภายในงานแนะแนวการศึกษาต่อออนไลน์ “New Zealand Higher Education Showcase 2021” ซึ่งหน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ (Education New Zealand) สถานทูตนิวซีแลนด์ ประจำประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ โดยได้รับความสนใจจากน้อง ๆ และผู้ปกครอง มากกว่า 600 คน โดยมี แมรี่ เทอร์สตัน รักษาการเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ ประจำประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิดงานแนะแนวการศึกษาต่อประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเน้นย้ำว่า เด็กนักเรียนทุกคนจะได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การศึกษาของนิวซีเแลนด์

ภายในงานยังมีการจำลองห้องเรียนนิวซีแลนด์ กับคลาสเรียน Concept Design ของทางมหาวิทยาลัย แมสซี (Massey University) ที่มีหลักสูตรร่วมกับ Weta Workshop เพื่อให้นักเรียนไทยที่เข้าร่วมงานได้ทดลองเรียนฟรี เกี่ยวกับการเรียนการสอนด้านออกแบบและพัฒนาภาพสำหรับแอนิเมชันและการออกแบบเกม โดย รองศาสตราจารย์ธัญญ่า มาร์เรียตต์ จาก มหาวิทยาลัย แมสซี (Massey University) ประเทศนิวซีแลนด์ ได้นำเนื้อหาบางส่วนของวิชามาให้นักเรียนไทยที่สนใจการออกแบบตัวละครและสร้างแอนิเมชัน มาให้ทดลองเรียน ซึ่งที่นิวซีแลนด์จะเน้นการทำงานเป็นงานกลุ่ม โดยมอบหมายงานโปรเจ็คให้ ซึ่งโปรเจ็คที่ รองศาสตราจารย์ธัญญ่า นำมายกเป็นตัวอย่างได้แก่ โปรเจ็คการประกวด “การออกแบบตัวละครผู้พิทักษ์โลก (Earth Guardians)” ซึ่งนักเรียนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศจากโปรเจ็คนี้

รองศาสตราจารย์ธัญญ่า มาร์เรียตต์
“กว่างานหนึ่งชิ้นจะเสร็จขึ้นมา ต้องผ่านกระบวนการหลายอย่าง นักเรียนจะต้องศึกษาและค้นคว้าข้อมูลการออกแบบตัวละครแอนิเมชันผู้พิทักษ์โลกในจินตนาการ รวมทั้งต้องศึกษาโทนสี ประเภทของตัวละคร การศึกษาด้านสุนทรียศาสตร์ ฉากสำคัญของตัวละครในเรื่อง และการเขียนสตอรีบอร์ด และต้องผลิตใช้ได้จริง ในหนึ่งชิ้นงาน น้องๆจะได้เรียนรู้อย่างละเอียดครบถ้วน นักเรียนจะได้คิดเชิงลึกในเรื่องของการออกแบบ ทั้งเรื่องของน้ำหนัก อัตราส่วน รวมถึงวัตถุดิบที่จะเอามาใช้ในการผลิต”รองศาสตราจารย์ธัญญ่า กล่าวและเสริมว่า

ขั้นตอนวิธีการออกแบบตัวละครแอนิเมชันกับผู้เรียนแบบจำง่ายๆ 8 ขั้นตอน ได้แก่

1. เตรียมข้อมูลเบื้องหลังการสร้างและออกแบบตัวละคร (Prepare your resource) เช่น เป็นสัตว์ชนิดใด มีโทนและสไตล์อย่างไร กำหนดโครงสร้างตัวละคร

2. กำหนดเรื่องราวของตัวละครที่ออกแบบ (Developing Story)

3. ระบุรายละเอียดและการนำเสนอตัวละครที่สร้าง (Resolution and presentation)




4. ทำความเข้าใจว่าตัวละครที่ออกแบบสะท้อนบุคลิก หรือเรื่องราวอะไร (Critical reflection)

5. ออกแบบตุ๊กตาที่มาจากงานแอนิเมชั่น (Fabricate the blind box toy)

6. การนำเสนอผลงานของนักออกแบบกับผู้ผลิตให้เข้าใจตรงกัน (Designers and fabricator)

7. สร้างโมเดลตุ๊กตาจริง (Modelling for fabrications)

8. ผลิตของเล่นจริง (Making toy)

นางสาว ปัณฑิตา จันทาพูน
นอกจากนี้ ภายในงานยังได้ประกาศผล Concept Artist Award ทั่วโลกในโครงการประกวดการออกแบบคาแรคเตอร์ตัวละคร “Earth Guardians ฮีโร่ผู้พิทักษ์โลก” ที่นักเรียนไทยได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาว ปัณฑิตา จันทาพูน (มิ้งค์) ม.6 โรงเรียนเทศบาล6 นครเชียงราย จังหวัดเชียงราย ซึ่งออกแบบผู้พิทักษ์ดอกไม้ ชื่อว่า “ลูกหว้า” โดยเบื้องหลังการออกแบบตัวละครนี้ ได้แรงบันดาลใจจากสวนของคุณแม่ โดยหยิบเอาดอกไม้-ต้นไม้บางชนิดมาออกแบบ และมองว่า “ป่าและดอกไม้” เป็นสิ่งที่ควรปกป้องรักษาไว้ และต้องการจะสร้างตัวละครที่มีสีสันสดใส ดูเป็นมิตร แต่ก็ยังดูสง่างามด้วย และเมื่อมองเห็น “ลูกหว้า” แล้ว จะทำให้ทุกคนรู้สึกเคารพป่าไม้และธรรมชาติของเรา


กำลังโหลดความคิดเห็น