กู๊ด ดอกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) สามารถให้การดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 ได้เป็นจำนวนมากที่สุด ในเขตปทุมวัน แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการประยุกต์ใช้การแพทย์ทางไกล ในช่วงวิกฤติโควิด-19 นี้
เมื่อวันที่ 3 พ.ย. กู๊ด ดอกเตอร์ เทคโนโลยี (Good Doctor Technology: GDT) บริษัทเทคโนโลยีด้านสุขภาพระดับภูมิภาคที่ยึดมั่นในวิสัยทัศน์ที่ว่า “หนึ่งแพทย์ต่อหนึ่งครอบครัวทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA)” จัดงานสัมมนาด้วยรูปแบบการอภิปราย และ เรียนเชิญสื่อ เพื่อเยี่ยมชมการสาธิตวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 ภายใต้โครงการกักตัวดูแลที่บ้าน หรือ Home Isolation ด้วยการผสมผสานการปฏิบัติงาน ณ คลินิกเวชกรรมจีดีทีที พร้อมการให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชันกู๊ด ดอกเตอร์โดยทีมแพทย์ประจำการจีดีทีที ในงานอภิปรายนี้ จีดีทีทีมีความมุ่งหวังที่จะสร้างความตระหนักรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริการสุขภาพในรูปแบบดิจิทัล ที่เข้ามาส่งเสริมและต่อยอดการบริการสุขภาพผ่านสถานพยาบาลรูปแบบดั้งเดิม พร้อมทั้งการเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของผู้ป่วยในการเข้าถึงทีมแพทย์ได้อย่างรวดเร็วและทันเวลา
การเยี่ยมชมคลินิกจีดีทีทียังรวมไปถึงการสาธิตวิธีการใช้งานแอปพลิเคชันกู๊ด ดอกเตอร์ ซึ่งเริ่มตั้งแต่การลงทะเบียนเข้าใช้งาน วิธึการเข้ารับคำปรึกษาจากทีมแพทย์ประจำการ ตลอดจนบริการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์์ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรเครือข่ายร้านขายยาทั่วประเทศไทย รวมไปถึงการส่งต่อผู้ป่วยโควิด-19 ไปยังสถานพยาบาลเครือข่าย หากผู้ป่วยมีอาการแย่ลง
ในฐานะผู้ให้บริการสุขภาพในรูปแบบดิจิทัล จีดีทีทีตระหนักถึงความเร่งด่วนในการเข้าช่วยเหลือและร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อบริหารจัดการปัญหาโควิด-19 โดยการประยุกต์ใช้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีการดูแลสุขภาพจีดีทีที เพื่อเน้นย้ำวิสัยทัศน์ของจีดีทีทีในการส่งมอบ “หนึ่งแพทย์ต่อหนึ่งครอบครัวทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ SEA” โดยแอปพลิเคชัน กู๊ด ดอกเตอร์ ได้รับการออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งาน เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่เชื่อถือได้อย่างรวดเร็ว โดยนอกเหนือจากบริการการแพทย์ทางไกลแล้ว แอปพลิเคชัน กู๊ด ดอกเตอร์ ยังมีส่วนลดพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ พรอมทั้งบทความและเคล็ดลับสุขภาพที่คัดสรรพิเศษโดยทีมแพทย์ประจำการ เพื่อให้ตอบโจทย์ทุกคำถามและความกังวลทางด้านสุขภาพของคนไทย แอปพลิเคชัน Good Doctor ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยที่มีการพิสูจน์แล้วว่าสามารถแก้ไขปัญหาในเรื่องของการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นประเทศอินโดนีเซียหรือประเทศจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยระบบอัตโนมัติผู้ป่วยจะสามารถเชื่อมต่อเพื่อขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ได้ภายใน 60 วินาที โดยไม่ต้องทำการนัดหมายล่วงหน้า อีกทั้งยังจะได้รับการวินิจฉัยและแผนการรักษาได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียง 15 นาที
จีดีทีทีเริ่มดำเนินการจัดตั้งทีมงานและคลินิกเวชกรรม รวมทั้งได้ รับใบอนุญาต ให้สามารถให้บริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) อย่างเป็นทางการ เพื่อเปิดให้บริการในประเทศไทย ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา จีดีทีทีมุ่งมั่นที่จะเพิ่มความสามารถของทีมงานในประเทศไทย ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมล่าสุด ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วจากประเทศอื่น ในภูมิภาคเอเชีย ว่าสามารถช่วยลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างแท้จริง ด้าน เมลวิน หวู ประธานเจ้าหน้าที่บริหารระดับภูมิภาคของ กู๊ด ดอกเตอร์ เทคโนโลยี ให้มุมมองเพิ่มติมกับสื่อ เกี่ยวกับการโอกาสของการแพทย์ทางไกล ในยุคของการแพร่ระบาดของเชื่อไวรัสโควิด-19 ว่า “การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้ นำไปสู่การประยุกต์ใช้การแพทย์ทางไกล ในการส่งมองบริการสุขภาพในอัตราก้าวกระโดด โดยหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชน นอกเหนือจากการพึ่งพาสถานพยาบาลรูปแบบดั้งเดิม ทำให้คนจำนวนมากรับรู้ถึงประโยชน์ของการแพทย์ทางไกลมากขึ้น และมีการตอบรับต่อบริการสุขภาพในรูปแบบดิจิทัลที่ดีขึ้น ผมและทีมงานมุ่งหวังที่จะขยายการให้บริการในประเทศไทย เพื่อให้เขาถึงกลุ่มคนจำนวนกว้างขึ้น พร้อมทั้งพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ ในแอปพลิเคชัน กู๊ด ดอกเตอร์ เพื่อให้ครอบคลุมและตอบโจทย์ความต้องการทางด้านสุขภาพของผู้ใช้งานในประเทศไทยยิ่ง ๆ ขึ้นไปครับ”
นอกเหนือจากการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพในช่วงของการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 นพ. สุทธิชัย โชคกิจชัย หัวหน้าฝ่ายการแพทย์ บริษัท กู๊ด ดอกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ยังอธิบายเพิ่มเติมถึงการนำบริการการแพทย์ทางไกลเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบริการสุขภาพปฐมภูมิ และส่งเสริมระบบสาธารณสุขของประเทศไทยว่า “การแพทย์ทางไกลจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพของคนไทย เราเข้าใจดีกว่าคนไทยจำนวนไม่น้อย เลือกที่จะหลีกเลี่ยงหรือไม่เข้ารับคำปรึกษาที่สถานพยาบาลรูปแบบเดิม เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทาง ปัญหาการรอคิวที่ยาวนาน ภายใต้เวลาอันจำกัด รวมถึงความหนาแน่นของกลุ่มคนที่เข้ามารอใช้บริการ อุปสรรคในการเข้าถึงบริการสุขภาพเหล่านี้ส่งผลให้คนส่วนใหญ่ เลือกที่จะวินิจฉัยอาการป่วยด้วยตนเอง ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อตัวผู้ป่วยเองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงที่โควิด-19 กำลังระบาด แต่การปรึกษาแพทย์ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันกู๊ด ดอกเตอร์ ที่ได้รับการออกแบบมาให้ง่ายต่อการใช้งาน จะช่วยขจัดอุปสรรคที่กล่าวมาข้างต้น ผู้คนก็ไม่จำเป็นต้องคิดหาหนทางเอง สามารถเข้ามาพบทีมแพทย์ประจำการของเราได้แทบจะทันทีเลยครับ”
ในวันที่ 25 สิงหาคม ปี 2564 ที่ผ่านมา จีดีทีทีได้รับการการอนุมัติอย่างเป็นทางการจากทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้เป็นผู้ให้บริการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการและผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงระหว่างการแยกกักตัวอยู่ที่บ้านหรือ Home Isolation คุณสุชาดา เข็มเงิน หนึ่งในผู้ป่วยรายแรก ๆ ที่ได้เข้ารวมโครงการ Home Isolation ได้แสดงความคิดเห็นถึงความมีประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการพบแพทย์และการรับการรักษาผ่านแอปพลิเคชัน Good Doctor ว่า “ในตอนแรกฉันคิดว่าการใช้งานแอปพลิเคชัน Good Doctor จะยุ่งยาก แต่ทีมแพทย์และแอดมินก็ให้คำแนะนำการใช้เป็นอย่างดี ฉันได้รับคำปรึกษาอย่างรวดเร็วและตรงจุดทุกครั้งที่กังวลเกี่ยวกับอาการ นอกจากนี้การส่งยาและอุปกรณ์การแพทย์ได้ภายใน 1 ชั่วโมง ก็น่าประทับใจ”
ภายใต้ใบอนุญาตการแพทย์ทางไกลจากกระทรวงสาธารณสุข จีดีทีทีวางแผนที่จะมอบบริการทางการแพทย์ที่เข้าถึงง่าย ในราคาที่จับต้องได้ ซึ่งรวมถึงการดำเนินงานตามมาตรฐานสากล เพื่อให้คำปรึกษาผ่านทางข้อความอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยรูปแบบของการให้บริการแบบออนไลน์สู่ออฟไลน์ที่เป็นเอกลัษณ์นี้ ผู้ป่วยที่พบแพทย์ออนไลน์ ก็สามารเข้าพบแพทย์คนเดิม ณ คลินิกจีดีทีที ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกและช่วยให้เกิดความต่อเนื่องทางด้านการรักษา จีดีทีทีเชื่อว่า การมอบบริการแบบองค์รวม ในแง่ของการมอบข้อมูลความรู้เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมถึงการเพิ่มความรวดเร็วและทางเลือกในการเข้าถึงบริการสุขภาพยามเจ็บป่วย จะช่วยลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนไทยส่วนใหญ่ได้ จีดีทีทีร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร ทั้งเครือข่ายร้านขายยา หน่วยงานทางการแพทย์ ตลอดจนผู้ให้บริการจัดส่งสินค้า โดยมุ่งหวังที่จะช่วยพัฒนามาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์ที่หลากหลาย และเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพดิจิทัลของประเทศไทย