xs
xsm
sm
md
lg

"เอนก” ชู “ธัชชา” 12 ดีกระทรวง อว.เป็นสหวิทยาการองค์ความรู้พัฒนาประเทศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



"เอนก” ชู “ธัชชา” 12 ดีกระทรวง อว.เป็นสหวิทยาการองค์ความรู้พัฒนาประเทศ ครอบคลุม 5 ด้าน มั่นใจกลยุทธ์เดิน 2 ขาพาไทยแล่นฉิว ด้านอธิการ ม.เกษตรฯรับ TASSHA เอื้อให้ มก.ได้ประโยชน์เต็มๆ


เมื่อวันที่ 13 ต.ค.ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวถึงการนำแนวทางรูปแบบวิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ TASSHA(ธัชชา) มาเป็นกลไกในการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการของดี อว. “12 เดือน 12 ดี”ว่า ประเทศไทยเรามีความสวยงามทางด้านภูมิศาสตร์ มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรม คนไทยมีจิตใจดีงาม มีความเข้มแข็งด้านนี้ดังนั้นในการพัฒนาประเทศ ถ้าเรานำวิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ TASSHA(ธัชชา) เป็นกลไกในการพัฒนาประเทศจะถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ตามที่นายเอนกเหล่าธรรมทัศน์ รมว.อว.ให้นโยบายไว้ว่าเราจะต้องเดินทั้งสองขา ขาแรกคือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ ขาที่สองคือ สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์


ปลัดกระทรวง อว. กล่าวว่าโดย TASSHA จะขับเคลื่อน 5 ด้าน ได้แก่ 1.สุวรรณภูมิศึกษา คือการเข้าใจประวัติศาสตร์ประเทศ ภูมิภาคที่ย้อนหลังตั้งแต่ยุคสุวรรณภูมิเมื่อ 3,000 ปี ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้เราได้รู้ว่าประเทศไทยที่เราเรียกว่าดินแดนสุวรรณภูมิมีความเป็นมาอย่างไร มีศิลปวิทยาการอย่างไร มีประชาชนอยู่กันแบบไหน เป็นฐานทางวัฒนธรรมที่จะสร้างมูลค่าต่อไป 2.โลกคดีศึกษา คือ ความเข้าใจโลก ทำให้นานาอารยประเทศ
ทราบว่าประเทศไทยเป็นอย่างไร มีความแข็งแกร่งด้านการทูต ยืนหยัดได้ไม่ว่อยู่ในยุคใดก็ตาม เป็นฐานที่ทุกคนอยากเป็นพันธมิตรด้วย เราจะได้ถอดบทเรียน เราทำอะไรมาบ้างและจะขยายอย่างไร ขณะเดียวกันทำให้คนไทยเข้าใจบริบทของโลกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันไปพร้อมกับการสังเคราะห์ปัญหาระหว่างประเทศ

3.เศรษฐกิจพอเพียง มีทั้งบริบทที่ผ่านมา ปัจจุบันและการขยายผล องค์การสหประชาชาตินำเอาหลักนี้ไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ครอบคลุมทั้งวงจรธุรกิจ ประเทศไทยจะป็นตัวอย่างของการนำเอาหลักการพัฒนาประเทศไทยไปสู่การพัฒนาโลก 4.พิพิธภัณฑ์และศิลปกรรมแห่งชาติ กระทรวงอว.โดยTASSHA จะขยายผลโดยจัดการระบบของการประมวลความรู้และศิลปกรรมในมิติต่างๆ และนำมาจัดรูปแบบในลักษณ์พิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ พัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้เชิงวิชาการและสุนทรียะ บูรณะศิลปะของประเทศ เพื่อให้คงอยู่ต่อไป และ5.ช่างศิลป์ท้องถิ่น แต่ละภูมิภาคจะมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แข็งแกร่งแตกต่างกันออกไป ทำอย่างไรให้สามารถประมวลความรู้ นำเทคโนโลยีไปเข้าไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันจะสร้างช่างศิลป์ท้องถิ่นรุ่นใหม่ ศิลปๆต่างๆนำไปสู่การสร้างมูลค่า


TASSHA จะเป็นการขับเคลื่อนครั้งใหญ่ของประเทศไทย จะทำให้คนไทยเกิดความตระหนักรู้ เกิดความภูมิใจ ความเข้าใจในอดีตและตระหนักรู้ถึงปัจจุบัน ในที่สุดแล้วเจะสร้างมูลค่าให้กัยประเทศ หัวใจสำคัญของ TASSHA คือการขับเคลื่อนองค์รวมของประเทศ จะทำงานร่วมกันทุกหน่วยงาน โดยกระทรวง อว.จะมีเครือข่ายของมหาวิทยาลัยทุกแห่ง เพื่อขับเคลื่อน TASSHA หรือที่เรียกอีกอย่างว่า สหวิทยาการ ในการใช้องค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมผสมผสานกับสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ขับเคลื่อนไปพร้อมๆ ในการพัฒนาประเทศไทย

ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิบการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า นิสิตและคณาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต้องภาคภูมิใจในความเป็นไทยและร่วมกันที่จะศึกษาวิจัย เราคิดว่ามีความรู้อีกเยอะภายใต้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีความโดดเด่นไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับชนบทวิถีเกษตรทั้งหลายพิพิภัณฑ์การเกษตรทั้งหลาย รูปแบบการเกษตรในอดีต ศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะได้ประโยชน์มาก เพราะเราเองมีนักวิจัยและนิสิตจำนวนมากที่จะมาผูกโยงกับเรื่องนี้และสามารถสร้างความโดดเด่นให้กับประเทศต่อไปในอนาคตได้.








กำลังโหลดความคิดเห็น