ศบค. เผย พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 11,754 ราย รักษาหายป่วยเพิ่ม 12,473 ราย ด้านผู้เสียชีวิตยังพบเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากสุด เป้าหมายการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น คาดจะได้รับครบทั้งหมดในเดือน ธ.ค. 64 ย้ำเฝ้าระวัง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังน่าห่วง หลังมีติดเชื้อเพิ่มและเสียชีวิตต่อเนื่อง
วันนี้ (29 ก.ย.) เวลา 12.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ ว่า พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 11,754 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ติดเชื้อใหม่ 11,253 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 501 ราย สะสม 1,615,229 ราย รักษาหายป่วยเพิ่ม 12,473 ราย สะสม 1,483,146 ราย กำลังรักษาอยู่ 115,233 ราย แบ่งเป็นรักษาในโรงพยาบาล 39,291 ราย และโรงพยาบาลสนาม 75,942 ราย เป็นผู้ป่วยอาการหนัก 3,144 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 709 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 123 ราย รวมเสียชีวิต 16,850 คน
ผู้ติดเชื้อรายใหม่แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 11,754 ราย เป็นผู้ติดเชื้อจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 9,998 ราย จากการค้นหาเชิงรุกในชุมชน 1,244 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 501 ราย และผู้เดินทางมาจากต่างประเทศเข้า State Quarantine 11 ราย
เป้าหมายการฉีดวัคซีน ต.ค. 64 ครอบคลุม 50% ของประชากรในจังหวัด (ต้องมีอย่างน้อย 1 อ. เกิน 70%, มีต้นแบบ Covid Free Setting อย่างน้อย 1 พท. ที่มีการฉีดวัคซีนแล้ว 80%) กลุ่มเสี่ยง, หญิงตั้งครรภ์ ครอบคลุม 80% นักเรียน นักศึกษา ฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็มไม่ต่ำกว่า 70%
สำหรับผู้รับวัคซีนเชื้อตายช่วง มี.ค.- พ.ค. 64 จะรับเข็มกระตุ้นในเดือน ต.ค. 64 ช่วง มิ.ย. รับเข็มกระตุ้น พ.ย. ที่เหลือจะได้รับวัคซีนกระตุ้นครบทั้งหมดในเดือน ธ.ค. 64 ให้พื้นที่เร่งสำรวจอัตราการฉีดวัคซีนในแต่ละอำเภอ-จังหวัด เพื่อเตรียมพร้อมการผ่อนคลายมาตรการ
สำหรับผู้เสียชีวิตทั้ง 123 ราย ชาย 60 ราย หญิง 63 ราย เป็นชาวไทย 123 ราย อายุค่ากลาง 67 ปี อายุน้อยสุด 23 ปี อายุมากสุด 99 ปี
แบ่งเป็น กทม. 29 ราย สมุทรปราการ 11 ราย นราธิวาส ราชบุรี ขังหวัดละ 8 ราย สมุทรสาคร 6 ราย นครปฐม 5 ราย สยะลา สระบุรี จังหวัดละ 4 ราย ปทุมธานี สงขลา พัทลุง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี จันทบุรี ระยอง นครสวรรค์ จังหวัดละ 3 ราย ปัตตานี นครศรีธรรมราช เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี บุรีรัมย์ จังหวัดละ 2 ราย ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี สตูลนครนายก ตราด ปราจีนบุรี อุดรธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา ตาก อุตรดิตถ์ จังหวัดละ 1 ราย โรคประจำตัวยังเป็นปัจจัยเสี่ยงความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง พบผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไป 86 ราย อายุน้อยกว่า 60 ปี มีโรคเรื้อรัง 31 ราย ไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง 6 ราย ปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อจากคนรู้จัก คนในครอบครัว
สำหรับผู้เดินทางกลับมาจากต่างประเทศวันนี้พบผู้ลักลอบเข้าผ่านทางช่องทางธรรมชาติจากมาเลเซีย 2 ราย เมียนมา 2 ราย
10 อันดับ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศ วันที่ 1 ต.ค. 2564 คือ 1. กรุงเทพมหานคร 1,423 ราย 2. สมุทรปราการ 861 ราย 3. ชลบุรี 820 ราย 4. ยะลา 545 ราย 5. นราธิวาส 515 ราย 6. ระยอง 472 ราย 7. สงขลา 451 ราย 8. ปัตตายี 406 ราย 9. นครศรีธรรมราช 378 ราย 10. ปราจีนบุรี 353 ราย
สถานการณ์โควิด-19 แนวโน้ม กทม. ปริมณฑลลดลงต่อเนื่อง กทม. เตรียมปิดศูนย์นิมิบุตร, เปิด รพ.สนามเลิดสิน, เสนอ Exit plan ด้านชายแดนใต้ ยังน่าเป็นห่วงโดยเฉพาะ 4 จ.ชายแดนใต้ เพิ่มทั้งติดเชื้อเพิ่มและเสียชีวิต ขอให้พื้นที่ภาคใต้ เข้มงวดกับมาตรการการป้องกันโควิด-19 ส่วนในพื้นที่อื่นๆ ยังมีพบคลัสเตอร์/ผู้ป่วยเพิ่ม เช่น งานศพ, ลพบุรี ศูนย์ฝึกนักกีฬา, ในล้งผลไม้ จ.จันท์, ศูนย์อาชีพฯ จ.เชียงใหม่, รง.ตราด, ประมง จ.ระยอง ซึ่งในวันนี้ มีการผ่อนคลายกิจการเพิ่ม อาจจะต้องมีการป้องกันที่เข้มข้นขึ้น เพื่อยังคงตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่ไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น
ขณะที่ยอดรวมผู้ติดเชื้อโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน เริ่มตั้งแต่ 1 เม.ย. 64 เป็นต้นมา พบผู้ติดเชื้อแล้ว 1,586,366 ราย หายป่วยสะสม 1,455,720 ราย เสียชีวิตสะสม 16,756 ราย
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น. ยอดผู้ติดเชื้อรวม 234,553,899 ราย อาการรุนแรง 88,633 ราย รักษาหายแล้ว 211,351,370 ราย เสียชีวิต 4,797,237 ราย
อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 44,314,424 ราย
2. อินเดีย จำนวน 33,765,488 ราย
3. บราซิล จำนวน 21,427,073 ราย
4. สหราชอาณาจักร จำนวน 7,807,036 ราย
5. รัสเซีย จำนวน 7,511,026 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 28 จำนวน 1,615,229 ราย