ศบค. เผยยอดตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 23,418 ราย กำลังรักษาอยู่ 212,179 ราย กทม.วันนี้ติดเชื้อสูงสุด 5,140 ราย จากการตรวจเชิงรุก และตรวจด้วย ATK เตรียมเร่งฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยงผู้ตั้งครรภ์ คนขับรถสาธารณะ โดยเฉพาะในภาคกลางที่พบผู้เสียชีวิตจากกลุ่มเสี่ยงนี้มากสุด พบ 9 จังหวัด เจอคลัสเตอร์ใหม่รวม 11 แห่ง
วันนี้ (13 ส.ค.) เวลา 12.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ ว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 23,418 ราย โดยแบ่งเป็นติดเชื้อในประเทศ 23,030 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 388 ราย สะสม 834,326 ราย รักษาหายป่วยเพิ่ม 20,083 ราย สะสม 643,884 ราย กำลังรักษาอยู่ 212,179 ราย แบ่งเป็นรักษาในโรงพยาบาล 61,299 ราย และโรงพยาบาลสนาม 150,880 ราย เป็นผู้ป่วยอาการหนัก 5,565 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 1,111 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 184 ราย รวมเสียชีวิต 7,126 คน
ผู้ติดเชื้อรายใหม่แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 23,418 ราย เป็นผู้ติดเชื้อจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 17,642 ราย จากการค้นหาเชิงรุกในชุมชน 5,379 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 388 ราย และผู้เดินทางมาจากต่างประเทศเข้า State Quarantine 9 ราย
สำหรับผู้เสียชีวิตทั้ง 184 ราย ชาย 100 ราย หญิง 84 ราย กทม. 71 ราย สมุทรสาคร 16 ราย สมุทรปราการ 12 ราย ราชบุรี สุพรรณบุรี จังหวัดละ 7 ราย นครปฐม สระบุรี จังหวัดละ 6 ราย นราธิวาส 5 ราย ตาก ปราจีนบุรี จังหวัดละ 4 ราย ยะลา นครศรีธรรมราช อุบลราชธานี ขอนแก่น เพชรบูรณ์ ชัยนาท จังหวัดละ 3 ราย เลย อำนาจเจริญ นครสวรรค์ กำแพงเพชร สิงห์บุรี นครนายก จังหวัดละ 2 ราย ปัตตานี ระนอง กาฬสินธุ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ พิษณุโลก อุทัยธานี จันทบุรี ชลบุรี ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดละ 1 ราย โรคประจำตัวยังเป็นปัจจัยเสี่ยงความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ตั้งครรภ์ 2 ราย จ.ชัยนาท และ จ.อุดรธานี ปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อคนในครอบครัว จากคนอื่นๆ อายุค่ากลาง 67 ปี อายุน้อยสุด 12 ปี อายุมากสุด 105 ปี เป็นชาวไทย 177 เมียนมา 5 ราย ลาว 1 ราย อินเดีย 1 ราย
สำหรับผู้เดินทางกลับมาจากต่างประเทศวันนี้ พบลักลอบเข้าผ่านทางช่องทางธรรมชาติ มาเลเซีย 3 ราย เมียนมา 3 ราย
10 อันดับ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศ วันที่ 13 ส.ค. 2564 คือ 1. กรุงเทพมหานคร 5,140 ราย 2. สมุทรปราการ 1,936 ราย 3. สมุทรสาคร 1,847 ราย 4. ชลบุรี 1,408 ราย 5. นนทบุรี 731 ราย 6. อุบลราชธานี 537 ราย 7. นครปฐม 532 ราย 8. บุรีรัมย์ 530 ราย 9. สระบุรี 485 ราย 10. พระนครศรีอยุธยา 484 ราย
สำหรับใน กทม. วันนี้ทำสถิติสูงสุด 5 พันกว่าราย โดยพบจากการค้นหาเชิงรุก และตรวจหาเชื้อด้วย ATK ซึ่งอัตราการติดเชื้อในผู้สัมผัสใกล้ชิดใน กทม. อยู่ที่ 15.78%
ส่วนจังหวัดอื่นๆ ยังมีการพบคลัสเตอร์ใหม่
- สมุทรสาคร พบคลัสเตอร์ใหม่ 3 แห่ง คือ บริษัทผลิตกระป๋อง อ.เมือง, บริษัทเฟอร์นิเจอร์ อ.เมือง, โรงงานทอผ้า อ.กระทุ่มแบน
- ชลบุรี พบคลัสเตอร์ใหม่ บริษัทผลิตภัณฑ์อาหาร อ.บ้านบึง
- นนทบุรี พบคลัสเตอร์ใหม่ บริษัทเสื้อผ้า อ.บางใหญ่
- นครปฐม พบคลัสเตอร์ใหม่ บริษัทเครื่องกีฬา อ.สามพราน
- ระยอง พบคลัสเตอร์ใหม่ โรงงานอาหารทะเล อ.แกลง
- สุพรรณบุรี พบคลัสเตอร์ใหม่ โรงงานน้ำแข็ง อ.บางปลาม้า
- ประจวบคีรีขันธ์ พบคลัสเตอร์ใหม่ โรงงานผลไม้กระป๋อง อ.กุยบุรี
- ตาก พบคลัสเตอร์ใหม่ หอพักนักเรียน อ.พบพระ
- จันทบุรี พบคลัสเตอร์ใหม่ ค่ายตากสิน อ.เมือง
ทั้งนี้ หลายจังหวัดยังคงพบผู้ติดเชื้อเพิ่มเติมในคลัสเตอร์เดิมอย่างต่อเนื่อง
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา มีการส่งตัวผู้ป่วยไปรักษาตัวในจังหวัดต่างๆ แล้ว 129,771ราย พบมากสุดคือภาคอีสาน
การคาดการณ์สถานการณ์ พบว่า สถานการณ์ในปัจจุบัน ลงมาแตะอยู่ในเส้นแนวของการล็อกดาวน์ ที่มีประสิทธิภาพ 20% คาดว่า แนวโน้มในช่วงกลาง ก.ย. จะมีผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นเป็น 45,000 ราย/วัน ซึ่งยังคงต้องขอความร่วมมือเพิ่มขึ้น โดยล็อกดาวน์มีประสิทธิภาพ 25%, เร่งฉีดวัคซีน ขอให้ทุกๆ คน ช่วยกันลดอยู่บ้าน เพื่อลดการระบาดลงมาให้อยู่ในระดับเส้นสีเขียว
ส่วนการคาดการณ์ผู้เสียชีวิต ในขณะนี้ เส้นเริ่มลดลงมาอยู่ที่ใกล้เส้นสีเขียว ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากวัคซีนในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ที่ได้รับวัคซีนมากขึ้น ซึ่งฝากประชาชนช่วยลดกิจกรรมนอกบ้านที่ไม่จำเป็น เนื่องจากยังมีรายงานการพบการจับกลุ่มสังสรรค์ ทำกิจกรรมรวมกลุ่ม กันในหลายพื้นที่ การลดการสัมผัส การรวมกลุ่ม จะช่วยลดการระบาดได้
สถานการณ์ผู้เสียชีวิตที่เป็นหญิงตั้งครรภ์ พบการติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นคนไทย ผู้ติดเชื้อ 185 ราย เสียชีวิต 29 ราย ส่วนใหญ่พบการติดเชื้อ เสียชีวิตในพื้นที่ภาคกลาง ส่วนใหญ่ได้รับเชื้อจากการสัมผัสจากผู้ป่วยก่อนหน้าพบว่า ยิ่งอายุครรภ์สูงมีโอกาสเสียชีวิตสูงขึ้น
กลุ่มผู้ประกอบอาชีพขนส่งสาธารณะ ติดเชื้อ 353 ราย เสียชีวิต 104 ราย พื้นที่ที่มีพบมากที่สุดในพื้นที่ภาคกลาง โดยเฉพาะใน กทม.
ขณะที่ยอดรวมผู้ติดเชื้อโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน เริ่มตั้งแต่ 1 เม.ย. 64 เป็นต้นมา พบผู้ติดเชื้อแล้ว 834,326 ราย หายป่วยสะสม 616,458 ราย เสียชีวิตสะสม 7,302 ราย
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม 2564 เวลา 10.00 น. ยอดผู้ติดเชื้อรวม 206,236,180 ราย อาการรุนแรง 102,730 ราย รักษาหายแล้ว 185,078,157 ราย เสียชีวิต 4,347,999 ราย
อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 37,203,649 ราย
2. อินเดีย จำนวน 32,117,052 ราย
3. บราซิล จำนวน 20,285,067 ราย
4. รัสเซีย จำนวน 6,534,791 ราย
5. ฝรั่งเศส จำนวน 6,398,983 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 35 จำนวน 863,189 ราย