xs
xsm
sm
md
lg

“เอนก” เผย ครม.เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือภาระค่าใช้จ่ายการศึกษาระดับอุดมศึกษา 1 หมื่นล้านบาท ภาระค่าใช้จ่ายการศึกษาระดับอุดมศึกษา 1 หมื่นล้านบาท ช่วยนิสิตนักศึกษา 1.75 ล้านคน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รมว.อว. เผย ครม.เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือภาระค่าใช้จ่ายการศึกษาระดับอุดมศึกษา 1 หมื่นล้านบาท ช่วยนิสิตนักศึกษาทั้งระบบ 1.75 ล้านคน เริ่ใมภาคเรียนที่ 1/64 ลดทั้งค่าเล่าเรียนตั้งแต่ร้อยละ 50 โดยรัฐสนับสนุนส่วนลดร้อยละ 60

วันนี้ (27 ก.ค.) ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม. มีมติเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือนและประชาชนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา ภาครัฐและเอกชน โดยในส่วนของ อว. ครม. ได้เห็นชอบอนุมัติกรอบวงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินการตามมาตรการที่ อว. เสนอ คือ 1. สถาบันอุดมศึกษาภาครัฐ จะลดค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยกำหนดเป็น 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาท ลดค่าเล่าเรียน/ ค่าธรรมเนียมการศึกษา ร้อยละ 50 ขั้นที่ 2 ส่วนตั้งแต่ 50,001 – 100,000 บาท ลดร้อยละ 30 และขั้นที่ 3 ส่วนตั้งแต่ 100,001 บาทขึ้นไป ลดร้อยละ 10 โดยรัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณสำหรับส่วนลดนี้ร้อยละ 60 และสถาบันอุดมศึกษาสมทบร้อยละ 40 หรือในอัตรา 6:4 และ 2. สถาบันอุดมศึกษาเอกชน รัฐบาลจะสนับสนุนลดค่าเล่าเรียน/ ค่าธรรมเนียมการศึกษาคนละ 5,000บาท และให้ทางสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแต่ละแห่งพิจารณาลดค่าเล่าเรียนเพิ่มเติมและสนับสนุนมาตรการอื่นๆ เช่น ขยายเวลาผ่อนชำระหรือผ่อนจ่ายค่าธรรมเนียมการศึกษา ตั้งกองทุนสนับสนุนการศึกษา จัดหาอุปกรณ์/ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษายืมเพื่อใช้ในศึกษาออนไลน์ ส่วนลดค่าหอพักนักศึกษา จัดสวัสดิการพิเศษกรณีนักศึกษาป่วยด้วยโรคโควิด-19 เป็นต้น

รมว.อว.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายคือ นิสิต/นักศึกษาชาวไทย ระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชนที่มีจำนวนกว่า 1.75 ล้านคน โดยจะเริ่มใช้ทันทีในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 นี้ หลังจากนี้ อว.จะเร่งจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนแหล่งเงินตามขั้นตอนของ พ.ร.ก.กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ.2564 ต่อไป


กำลังโหลดความคิดเห็น