ศบค. รายงานไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 11,305 ราย กำลังรักษาอยู่ 126,765 ราย ผู้เสียชีวิตวันนี้พบอายุน้อยสุด 14 ปี มีภาวะอ้วนและโรคเบาหวาน กทม.ยังคงพบผู้ติดเชื้อมากสุด และดับมากสุด ผู้ป่วยอาการหนักและที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกพื้นที่ การระบาดของโรคมีแนวโน้มคงที่ ไม่ลดลง กระจายทั้งประเทศ ยังพบมากใน กทม.ปริมณฑล
วันนี้ (20 ก.ค.) ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ ว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 11,305 ราย โดยแบ่งเป็นติดเชื้อในประเทศ 10,710 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 595 ราย พบผู้ป่วยยืนยันสะสม 426,475 ราย รักษาหายป่วยเพิ่ม 6,557 ราย สะสม 296,208 ราย กำลังรักษาอยู่ 126,765 ราย แบ่งเป็นรักษาในโรงพยาบาล 73,591 ราย และโรงพยาบาลสนาม 53,174 ราย เป็นผู้ป่วยอาการหนัก 3,711 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 855 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 80 ราย รวมเสียชีวิต 3,502 คน
ผู้ติดเชื้อรายใหม่แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 11,305 ราย เป็นผู้ติดเชื้อจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 8,599 ราย จากการค้นหาเชิงรุกในชุมชน 2,097 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 595 ราย และผู้เดินทางมาจากต่างประเทศเข้า State Quarantine 14 ราย
สำหรับผู้เสียชีวิตทั้ง 80 ราย ชาย 37 ราย หญิง 43 ราย กทม. 41 ราย ปัตตานี 6 ราย ชลบุรี 5 ราย สงขลา นราธิวาส จังหวัดละ 3 ราย ปทุมธานี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา สระแก้ว อุบลราชธานี จังหวัดละ 2 ราย สุราษฎร์ธานี ปราจีนบุรี ระยอง ตราด กาฬสินธุ์ นครราชสีมา เชียงราย กำแพงเพชร สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา จังหวัดละ 1 ราย โรคประจำตัวยังเป็นปัจจัยเสี่ยงความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง พบ 6 รายที่ไม่มีโรคประจำตัว ปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อคนในครอบครัว มากสุด อายุค่ากลาง 69 ปี อายุน้อยสุด 14 ปี มีภาวะอ้วนและ DM หรือ โรคเบาหวาน อายุมากสุด 94 ปี
สรุปสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก พบผู้ติดเชื้อแนวโน้มคงที่ ประเทศเพื่อนบ้านพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง ลาวขยายระยะเวลาล็อกดาวน์ถึง 3 ส.ค. 64
ส่วนในประเทศไทย การระบาดของโรคมีแนวโน้มคงที่ ไม่ลดลง กระจายทั้งประเทศ ยังพบมากใน กทม.ปริมณฑล โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กทม.และปริมณฑล พบการระบาดใหม่ในแคมป์คนงานหลายแห่ง
ภาคกลาง และตะวันออก พบการระบาดใหม่ในโรงงาน สถานประกอบการ ตลาด และชุมชน ภาคเหนือ และภาคอีสาน ยังพบผู้ติดเชื้อจากเดินทางกลับภูมิลำเนาต่อเนื่อง และพบผู้ติดเชื้อในครอบครัว ภาคใต้ พบการระบาดในพื้นที่ โรงงาน และสถานประกอบการ ผู้ป่วยอาการหนัก ใช้ท่อช่วยหายใจ และผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง เริ่มพบมากขึ้นในต่างจังหวัด
จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ที่อาการหนักและที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ (ETT) ตั้งแต่วันที่ 6 - 19 ก.ค. 64 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกพื้นที่ กทม. ปริมณฑลยังมากสุด
สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศวันนี้ ยังคงพบผู้ติดเชื้อลักลอบเข้าประเทศผ่านช่องทางธรรมชาติ เมียนมา 1 ราย มาเลเซีย 1 ราย
10 อันดับ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศ วันที่ 20 ก.ค. 2564 คือ 1. กรุงเทพมหานคร 2,764 ราย 2. สมุทรสาคร 798 ราย 3. สมุทรปราการ 673 ราย 4. ชลบุรี 537 ราย 5. ปทุมธานี 476 ราย 6. นนทุบรี 386 ราย 7. oครปฐม 371 ราย 8. ปัตตานี 263 ราย 9. พระนครศรีอยุธยา 198 ราย 10. ฉะเชิงเทรา 185 ราย
ส่วนการพบคลัสเตอร์ใหม่ วันนี้พบ 1 จังหวัด คือ สมุทรปราการ โรงงานผลิตเชือก อ.พระสมุทรเจดีย์ ทั้งนี้ หลายจังหวัดยังคงพบผู้ติดเชื้อเพิ่มเติมในคลัสเตอร์เดิมอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ยอดรวมผู้ติดเชื้อโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน เริ่มตั้งแต่ 1 เม.ย. 64 เป็นต้นมา พบผู้ติดเชื้อแล้ว 397,612 ราย หายป่วยสะสม 268,782 ราย เสียชีวิตสะสม 3,408 ราย
สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม 2564 เวลา 10.00 น. ยอดผู้ติดเชื้อรวม 191,712,967 ราย อาการรุนแรง 80,954 ราย รักษาหายแล้ว 174,566,334 ราย เสียชีวิต 4,112,792 ราย
อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 35,018,600 ราย
2. อินเดีย จำนวน 31,173,019 ราย
3. บราซิล จำนวน 19,391,845 ราย
4. รัสเซีย จำนวน 5,982,766 ราย
5. ฝรั่งเศส จำนวน 5,871,881 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 52 จำนวน 426,475 ราย