xs
xsm
sm
md
lg

ตรวจโควิดมีกี่แบบ และRT-PCR คืออะไร เทียบกับ Rapid Antigen Test ต่างกันอย่างไร?

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ท่ามกลางกระแสการตรวจโควิด 19 ที่มีหลากหลายวิธี เช่น RT-PCR หรือ ที่เข้าใจง่าย ๆ เป็นการ Swab เก็บสารคัดหลั่งทางโพรงจมูกหรือลำคอ ซึ่งเป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำใช้กันแพร่หลายในหลายประเทศ แต่บางวิธีอย่าง Rapid Antigen Test ชุดตรวจแบบเร่งด่วนที่เพิ่งได้รับการปลดล็อก ให้ใช้ได้เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา เพื่อลดปัญหาการรอตรวจหาเชื้อโควิดของประชาชนจำนวนมาก

พญ.รัตตินันท์ ตรีรัตน์ ผู้บริหารรัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ ให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการทราบความแตกต่างของการตรวจโควิด19 แต่ละวิธีเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องว่าเราควรเลือกตรวจด้วยวิธีไหน และจะได้เลือกวิธีที่เหมาะสมกับตัวเอง ดังนี้

Real-time PCR (Real Time Polymerase Chain Reaction) หรือเรียกสั้นๆ ว่า RT-PCR คือการตรวจหาเชื้อไวรัสโดยดูจากสารพันธุกรรม RNA ของไวรัสเป็นวิธีมาตรฐานสากล (Gold Standard) ใช้ตรวจตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยตรง เหมาะสำหรับการวินิจฉัยโรคในระยะเริ่มต้น และใช้ติดตามผลการรักษาได้

วิธีตรวจคือ การใช้คอตตอนบัดสำหรับทำการ swab สอดเข้าทางโพรงจมูกหรือลำคอ ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วินาที เพื่อเก็บสารคัดหลั่งมาตรวจหาเชื้อไวรัส (Nasopharyngeal swab PCR)


RT-PCR เป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ เนื่องจากมีความไว และความจำเพาะสูง ทราบผลภายใน 24 ชั่วโมง อีกทั้งผลตรวจมีความแม่นยำสูงกว่าวิธีอื่น ๆ วิธีการตรวจแบบ RT-PCR จึงเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งข้อดีของการตรวจแบบ Real-time PCR หรือ RT-PCR นอกจากเป็นการตรวจเชื้อที่แม่นยำแล้ว ยังสามารถตรวจจับเชื้อไวรัสในปริมาณน้อย ๆ ได้ รวมไปถึงตรวจจับได้ทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตายอีกด้วย แต่มีข้อจำกัดคือต้องส่งตรวจห้อง Lab ที่ได้มาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Department of Medical Sciences) ถึงจะเชื่อถือได้ และสามารถนำผลตรวจไปใช้ยืนยันการเข้าทำงาน หรือ การเดินทางต่างจังหวัด และต่างประเทศได้

ส่วนการตรวจ COVID-19 โดยวิธี Rapid Antigen Test จะมีขั้นตอนคล้ายกับวิธี RT-PCR คือการ Swab โพรงจมูกหรือลำคอ แต่วิธีนี้จะเป็นเพียงหยดด้วยน้ำยาเพื่อตรวจหาเชื้อคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น ข้อดีคือใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็วทราบผลได้ภายใน 15 – 30 นาที ข้อเสียคือการตรวจวิธีนี้ไม่สามารถตรวจหาเชื้อโรคโควิดที่มีปริมาณน้อยได้ ผลตรวจไม่แน่นอน ทำให้จะต้องตรวจซ้ำด้วย RT-PCR อีกครั้งเพื่อยืนยันผล นอกจากนี้ไม่สามารถนำผลการตรวจไปยืนยันการเข้าทำงาน หรือการเดินทางได้ ถึงอย่างไรก็ถือว่าเป็นวิธีการคัดกรองหาเชื้อโควิด-19 ในเบื้องต้นและเพื่อให้ผู้ติดเชื้อได้รู้ตัวและเข้าสู่กระบวนการกักตัว เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น




สำหรับประชาชนที่อยากปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ หรือบริการตรวจโควิด-19 สามารถสอบถามได้ที่รัตตินันท์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ หรือโทร 02 233 1424-5 หรือ ศึกษาข้อมูลเรื่องการตรวจโควิดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.rattinan.com/covid19-rt-pcr/


กำลังโหลดความคิดเห็น