อย. รุก จับมือเครือข่ายแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ และ อี-มาร์เก็ตเพลส ทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ชอปปี้ ลาซาด้า และเจดี เซ็นทรัล สกัดกั้นโฆษณาที่ผิดกฎหมายทางออนไลน์ พร้อมพัฒนาระบบ AI ตรวจจับโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพบนแพลตฟอร์ม เพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภคยิ่งขึ้น
เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ในแต่ละปีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เฝ้าระวังการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นสื่อออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ ยูทูป เว็บไซต์ และอีมาร์เก็ตเพลส เช่น ชอปปี้ ลาซาด้า เจดี เซ็นทรัล กว่า 18,000 รายการ โดยพบว่า ร้อยละ 60 เป็นการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย ทั้งการโฆษณาโดยไม่ขออนุญาต โฆษณาโอ้อวดเกินจริงในทางบำบัด บรรเทา รักษาโรค หรือเห็นผลเร็วทันใจ หรือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพลักลอบผลิตหรือนำเข้า ซึ่ง อย. ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ นอกจากดำเนินมาตรการทางปกครองในการสั่งระงับโฆษณาและเปรียบเทียบปรับตามกฎหมาย บูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เพื่อระงับเว็บไซต์ และเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องทางเฟกนิวส์ (Fake news) กองบังคับการปราบรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก. ปคบ.) หรือกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อสืบสวนหาผู้กระทำความผิด เป็นต้น ยังได้ดำเนินการเชิงรุก ทำความร่วมมือกับเครือข่ายแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ ทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม และ อี-มาร์เก็ตเพลส ชอปปี้ ลาซาด้า และ เจดี เซ็นทรัล เพื่อสกัดกั้นโฆษณาที่ผิดกฎหมายที่เผยแพร่บนแพลตฟอร์มดังกล่าวอีกด้วย
ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวแพลตฟอร์มจะกำหนดนโยบายและมาตรฐานชุมชนของแพลตฟอร์มที่จะไม่ยินยอมให้ร้านค้าออนไลน์มีการขายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมถึงการจัดช่องทางอบรมให้ความรู้กับร้านค้าออนไลน์ในการเลือกผลิตภัณฑ์มาวางขายผ่านช่องทางแพลตฟอร์ม มีช่องทางพิเศษในการประสานงานเพื่อปิดกั้นและระงับการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายผ่านทางแพลตฟอร์มและให้ความร่วมมือกับ อย. ในการจัดส่งข้อมูลผู้กระทำผิดมารับโทษตามกฎหมายร่วมกัน เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ บัญชีธนาคารที่ใช้โอนเงิน เลขบัตรประจำตัวประชาชน เบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ นอกจากนี้ อย. ยังได้ร่วมพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) ของแพลตฟอร์มเพื่อปิดกั้นการขายยา วัตถุออกฤทธิ์ ยาเสพติด และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายอื่นๆ รวมถึงการโฆษณาด้วย เนื้อหาภาพ เสียงและข้อความที่ไม่เหมาะสมและผิดกฎหมาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภคยิ่งขึ้น รองเลขาธิการ กล่าวในตอนท้าย
เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ในแต่ละปีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เฝ้าระวังการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นสื่อออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ ยูทูป เว็บไซต์ และอีมาร์เก็ตเพลส เช่น ชอปปี้ ลาซาด้า เจดี เซ็นทรัล กว่า 18,000 รายการ โดยพบว่า ร้อยละ 60 เป็นการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย ทั้งการโฆษณาโดยไม่ขออนุญาต โฆษณาโอ้อวดเกินจริงในทางบำบัด บรรเทา รักษาโรค หรือเห็นผลเร็วทันใจ หรือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพลักลอบผลิตหรือนำเข้า ซึ่ง อย. ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ นอกจากดำเนินมาตรการทางปกครองในการสั่งระงับโฆษณาและเปรียบเทียบปรับตามกฎหมาย บูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เพื่อระงับเว็บไซต์ และเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องทางเฟกนิวส์ (Fake news) กองบังคับการปราบรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก. ปคบ.) หรือกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อสืบสวนหาผู้กระทำความผิด เป็นต้น ยังได้ดำเนินการเชิงรุก ทำความร่วมมือกับเครือข่ายแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ ทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม และ อี-มาร์เก็ตเพลส ชอปปี้ ลาซาด้า และ เจดี เซ็นทรัล เพื่อสกัดกั้นโฆษณาที่ผิดกฎหมายที่เผยแพร่บนแพลตฟอร์มดังกล่าวอีกด้วย
ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวแพลตฟอร์มจะกำหนดนโยบายและมาตรฐานชุมชนของแพลตฟอร์มที่จะไม่ยินยอมให้ร้านค้าออนไลน์มีการขายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมถึงการจัดช่องทางอบรมให้ความรู้กับร้านค้าออนไลน์ในการเลือกผลิตภัณฑ์มาวางขายผ่านช่องทางแพลตฟอร์ม มีช่องทางพิเศษในการประสานงานเพื่อปิดกั้นและระงับการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายผ่านทางแพลตฟอร์มและให้ความร่วมมือกับ อย. ในการจัดส่งข้อมูลผู้กระทำผิดมารับโทษตามกฎหมายร่วมกัน เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ บัญชีธนาคารที่ใช้โอนเงิน เลขบัตรประจำตัวประชาชน เบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ นอกจากนี้ อย. ยังได้ร่วมพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) ของแพลตฟอร์มเพื่อปิดกั้นการขายยา วัตถุออกฤทธิ์ ยาเสพติด และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายอื่นๆ รวมถึงการโฆษณาด้วย เนื้อหาภาพ เสียงและข้อความที่ไม่เหมาะสมและผิดกฎหมาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภคยิ่งขึ้น รองเลขาธิการ กล่าวในตอนท้าย