xs
xsm
sm
md
lg

องค์การเภสัชฯ แจงวัคซีนซิโนแวคยังไม่หมดอายุ ยันใช้งานจริงได้ 3 ปี อย.กำหนดฉีดใน 6 เดือน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



องค์การเภสัชกรรม แจงวัคซีนซิโนแวคทุกล็อตไม่หมดอายุ ที่ระบุวันหมดอายุยา 6 เดือน นับจากวันที่ผลิต เป็นการอนุญาตของ อย. เป็นแบบมีเงื่อนไขในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการระบาดใหญ่ของโรค ขอความร่วมมือหลีกเลี่ยงการติดสติกเกอร์ทับหรือแก้ไขข้อมูลบนกล่องบรรจุวัคซีนที่อาจทำให้เกิดความสับสน พร้อมส่งหนังสือทำความเข้าใจกับโรงพยาบาลทุกแห่ง

กรณีที่มีการแชร์ภาพกล่องวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท ซิโนแวค มีการขีดฆ่าวันหมดอายุเดิม จากปี 64 และเปลี่ยนเป็นปี 67 จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ว่า วัคซีนที่นำมาฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชน เป็นวัคซีนหมดอายุหรือไม่

วันนี้ (23 เม.ย.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) พร้อมด้วย ภญ.ศิริกุล เมธีวีรังสรรค์ รองผู้อำนวยการ อภ. แถลงข้อเท็จจริงประเด็นมีการตั้งข้อสังเกตเรื่องวันหมดอายุของวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ของบริษัท ซิโนแวค ประเทศจีน

นพ.วิฑูรย์ กล่าวว่า ประเด็นดังกล่าวเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ยืนยันวัคซีนซิโนแวคจำนวน 8 แสนโดสแรก ที่ได้นำไปฉีดให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนกลุ่มเสี่ยง ไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพ หลังมีสื่อโซเชียลวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเอกสารกำกับยาที่ติดอยู่บนกล่องบรรจุวัคซีน โดยระบุอายุยาแตกต่างกัน

สำหรับวัคซีนโควิดของซิโนแวค ได้นำเข้าประเทศไทยจำนวน 2 ล้านโดสแล้ว โดยล็อตแรก 2 แสนโดส ล็อตที่สองจำนวน 8 แสนโดส และล็อตที่สามรับไปก่อนสงกรานต์จำนวน 1 ล้านโดส และพรุ่งนี้จะเป็นล็อตที่สี่ อีก 5 แสนโดส โดยแพกเกจจิ้งของจีนเคลมอายุยาจากวันผลิตไว้ 3 ปี แต่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทย พิจารณาจากข้อมูลและเอกสารประกอบจึงให้อายุยาแค่ 6 เดือนเท่านั้น

นพ.วิฑูรย์ กล่าวว่า “โดยล็อตแรกที่เข้ามาจำนวน 2 แสนโดส จะเห็นว่า อายุยาที่ 3 ปี ปี 2021 ไปหมดอายุที่ 2024 ทางเราจึงส่งสัญญาณไปที่บริษัทว่า อย.เคลมอายุยา 6 เดือน หลังจากนั้น ล็อตที่สองจำนวน 8 แสนโดส ทางบริษัทจึงกำหนดอายุยาไว้ที่ 6 เดือน แต่ล็อตที่สาม เนื่องจากความต้องการจากตลาดโลกเยอะมาก แต่ละประเทศก็ไม่เหมือนกัน อย่างฮ่องกงให้อายุยา 1 ปี อย่างอินโดฯ และไทยให้อายุ 6 เดือน ทางซิโนแวคบอกว่า แก้ให้ไม่ไหว จึงยืนกรานขอเคลมอายุไว้ 3 ปีตามเดิม โดยทางเราไปแก้ไขด้วยการใช้สติกเกอร์ของ อภ.ปิดทับทั้ง 4 ด้าน แต่สามารถสแกนคิวอาร์โค้ดได้ ทั้งนี้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นได้รับความเห็นชอบจาก อย. แล้ว”

นพ.วิฑูรย์ กล่าวอีกว่า ขอยืนยันเป็นความตั้งใจดีของหน่วยงานราชการที่ต้องการให้ประชาชนได้รับวัคซีนที่มีคุณภาพ ไม่นำวัคซีนหมดอายุมาฉีดให้ประชาชน เรื่องนี้อาจทำให้ประชาชนเกิดความสับสน แต่เป็นเฉพาะล็อตแรกจำนวน 8 แสนโดสเท่านั้น จากนั้นจะเป็นคิวอาร์โค้ด ซึ่งจะไม่มีการขีดฆ่า หรืออะไรให้เข้าใจคลาดเคลื่อนอีก

ภญ.ศิริกุล เมธีวีรังสรรค์ รองผู้อำนวยการ อภ. กล่าวว่า บริษัทมีอายุยา 3 ปีนับจากวันผลิต แต่สำหรับไทยอายุการเก็บรักษา 6 เดือน เพราะว่าตอนที่ขึ้นทะเบียนยาเอาข้อมูลความลงตัวของยามายื่นกำหนดไว้ที่ 6 เดือน แถบสี วันที่หมดอายุบนกล่องกับวันที่หมดอายุตามทะเบียนมันตรงกัน 4 ของคอลัมน์จะตรงกันก็คือว่ารุ่นที่เข้ามาจำนวน 80 ล้านโดส จะตรงมีเวลาที่จะปรับเปลี่ยนส่วนรุ่นข้างล่างที่ต่างกัน ก็คือว่าวันที่หมดอายุยาเป็นกล่องมันจะเป็น 3 ปี นับจากวันผลิตส่วนวันที่หมดอายุยาตามทะเบียนก็เป็นไปตามนี้ 6 เดือนเหตุการณ์ก็คือว่าอย่างที่บอกในการผลิตในภาวะที่เร่งด่วนทุกประเทศมีความต้องการสูงในไลน์การผลิต การควบคุมคุณภาพยังเป็นไปตามมาตรฐานที่เรามีการควบคุมดูแลหมด ในเรื่องการแปะฉลากวันหมดอายุบนกล่องที่เราบอกเพราะบางเรื่องด่วนเราแปะไม่ทันเราเลยใช้ที่ QR code สแกน QR code เมื่อเราใช้โทรศัพท์สแกนมันจะมีข้อมูลอยู่ทั้งเรื่องเอกสารกำกับยาในนั้นเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษในนั้นจะบอกอายุยา ไว้ว่า 6 เดือน

“ถ้าลองสแกนดูมีเรื่องรวมทั้งเรื่องประชาชนผู้รับวัคซีนกรอกข้อมูลผ่านมา พร้อมด้วย รวมทั้งบอกอายุการเก็บรักษาต่างๆ ข้อมูลต่างๆ อยู่ที่บาร์โค้ดที่ที่เราได้ติดไว้ที่หลัง ในโซเชียล เน็ตเวิร์ก อะไรที่หน้าตาแปลกมาจากนี้ ก็ไม่ได้ใช้ว่ามาจากเรา แต่คราวนี้จะเป็นหน้าตาแบบนี้ อันนี้คือรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่องค์การจะได้แก้ไขฉลากเราก็จะพิมพ์ฉลาก ที่ตรงกับการขึ้นทะเบียนมาแปะรอบก่อน ตามที่อยู่นี้ อันนี้มันเป็นแพ็คจากประเทศจีน เราจะแพ้ให้ครบให้เหมือนทุกสีได้ ส่วนอันนี้ด้านที่เป็นอายุยาเนี่ยเฉพาะคิวอาร์โค้ดเพราะว่ามันไม่ทันเวลาแปะ ตอนนั้นเราก็คิดว่าเราไปไม่ทันแล้วเรายังเกรงว่าเอาไปแปะ เดี๋ยวคนเข้าใจผิดคิดว่าไปเปลี่ยนอายุยาอะไรอีกแล้วก็คิดว่าการที่เขานำ QR code มาแปะ น่าจะทำให้ได้ข้อมูลครบถ้วนกว่า ที่บอกว่าอันนี้คือที่เราประเมินแล้วว่าเรื่องแบบนี้ไม่ได้มีผลต่อคุณภาพยานะ ทั้งหมดจะหมดอายุ 6 เดือนนับจากวันที่ผลิต บริษัทจะกำหนดไว้ 3 ปี เราก็ตามกำหนดที่เราขึ้นทะเบียนไว้ตามนี้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ที่อาจจะมีความคลาดเคลื่อนไปบ้าง ขึ้นทะเบียนเนี่ยไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ องค์กรตัดสินใจทำอะไรเราก็จะดูว่าเราต้องมั่นใจว่าเป็นกรรมพันธุ์ที่ให้ประชาชนจะต้องเชื่อมั่นได้ว่ามีคุณภาพปลอดภัย” ภญ.ศิริกุล กล่าว

ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงษ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ได้ฉีดวัคซีนไปแล้วจำนวน 964,825 โดส ใน 77 จังหวัด แยกเป็น เข็มแรก 834,082 โดส และเข็มที่สอง 130,743 โดส ซึ่งหลังจากได้รับมอบวัคซีนจากผู้ผลิตแล้ว มั่นใจว่า จะมีศักยภาพที่จะฉีดวัคซีนให้ประชาชนได้ 70% ของประเทศ หรือราว 50 ล้านคน ภายในสิ้นปีนี้




























กำลังโหลดความคิดเห็น