สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ จัดกิจกรรมแถลงข่าว NRCT TALK เปิดบ้านงานวิจัยและนวัตกรรม By NRCT (In-House) : 1 ในนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 ครั้งที่ 4 เชิดชูเกียรตินักวิจัยไทยที่มีผลงานโดดเด่น สร้างคุณูปการให้วิชาการและประเทศชาติ “รองศาสตราจารย์ ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ” “นักวิจัยสาขาปรัชญา” ผู้ที่ได้รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 จากจำนวน 7 ท่าน ใน 5 สาขา
วันนี้ (7 เม.ย.) ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดบ้านงานวิจัยและนวัตกรรม By NRCT (in-House) : 1 ในนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปีงบประมาณ 2564 ครั้งที่ 4 เพื่อเชิดชูเกียรตินักวิจัยไทยที่มีผลงานโดดเด่น สร้างคุณูปการให้กับวงวิชาการและประเทศชาติ รวมทั้งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการสร้างแรงจูงใจของนักประดิษฐ์ และนักวิจัยในอันที่จะพัฒนานวัตกรรมทางความคิด และภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์ สร้างความก้าวหน้าในศาสตร์แขนงต่างๆ โดย วช. ได้มอบรางวัลให้กับ รองศาสตราจารย์ ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ แห่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญาประจำปี 2564 ซึ่งเป็นนักวิจัยที่ได้อุทิศตนเพื่อศึกษาวิจัยด้านนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ เช่น นโยบายและการบริหารจัดการที่ดิน ทั้งภาพรวมในระดับประเทศและระดับเมือง นโยบายการขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะการขนส่งนอกระบบทางการ อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัย ให้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ ศึกษาวิจัยโครงการปริทัศน์สถานภาพความรู้เศรษฐกิจที่ดินของประเทศไทย เมื่อปีงบประมาณ 2555 และโครงการนโยบายการพัฒนาโครงข่ายและการเชื่อมต่อในบริเวณสถานีรถไฟฟ้าเพื่อรองรับแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนในบริบทไทย เมื่อปีงบประมาณ 2557 รวมถึงยังได้จัดทำหนังสือผลงานวิชาการ เรื่อง “เศรษฐกิจที่ดินของประเทศไทย : ปริทัศน์สภานภาพความรู้” เมื่อปี 2558
รองศาสตราจารย์ ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำงานวิจัยเกิดจากการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยตั้งคำถามว่าทำอย่างไรที่จะทำให้การดำรงชีวิตของคนเมืองดีขึ้น เช่น การเดินทาง “วิจัยพร้อมกับการใช้ชีวิตประจำวัน” ซึ่งงานวิจัยของตนเองสะท้อนความเป็นสหสาขาของงานวิจัยด้านการผังเมือง งานวิจัยจึงมีการผสมผสานกรอบแนวคิดจากหลายศาสตร์และเครื่องมือวิจัยรูปแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน รวมทั้งได้นำผลการวิจัยไปขับเคลื่อนต่อเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย งานวิจัยที่ผ่านมาจึงไม่จำกัดอยู่เพียงงานที่มุ่งสร้างองค์ความรู้เชิงทฤษฎี แต่รวมไปถึงการศึกษาเชิงบริการวิชาการและการขับเคลื่อนทางสังคม เพื่อสนับสนุนและผลักดันการวางแผนนโยบาย และการออกมาตรการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และนานาชาติ เกิดประโยชน์ในวงการวิจัยและวงการการวางแผนนโยบาย
รองศาสตราจารย์ ดร.อภิวัฒน์ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า งานวิจัยที่ผมคิดว่าผมภูมิใจมากนะครับก็เป็นงานเกี่ยวกับการขนส่งหรือว่าขนส่งนอกระบบจริงๆ ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับรถตู้โดยสารที่ทำกับอาจารย์ที่จุฬาฯ งานวิจัยนี้พยายามที่จะดูว่ากระบวนการบริหารจัดการการขนส่งนอกระบบเนี่ยหรือแบบไม่เป็นทางการ จะทำยังไงเพื่อที่จะเกิดประโยชน์มากขึ้นสำหรับสังคมก็มีความสนใจตรงที่ว่าหลังจากที่ได้ทำงานวิจัยแล้วเนี่ยก็สามารถไปผลักดันนะครับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายได้บ้างเพราะว่าท้ายที่สุดเนี่ยผมคิดว่าการขนส่งระบบสาธารณะเป็นพื้นฐานเฉพาะความเป็นอยู่ของคนแต่ว่าเป็นความเป็นธรรมที่จะเกิดขึ้นกับคนในสังคม
ในด้านอนาคตประเทศไทยเรากำลังจะประสบกับความเสี่ยงหลายแบบมากความเสี่ยงนี้มันเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้คนได้รับผลกระทบมากไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยในภาพรวม ดังนั้น งานวิจัยในเชิงอนาคตศึกษาจริงๆ แล้ว ก็คือ แสดงให้เห็นว่าเรามีความเสี่ยงอะไรบ้างแต่ในขณะเดียวกันเรามีโอกาสอะไรบ้างแล้วก็แปลงความเสี่ยงแล้วก็เอาโอกาสนั้นน่ะมาเป็นทางเลือกในเชิงยุทธศาสตร์ที่จะเตรียมพร้อมรับมือไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น น้ำท่วมไปจนถึงโอกาสของทางด้านเทคโนโลยี เช่น ยานยนต์ไร้คนขับที่เราควรจะต้องเตรียมพร้อมรับมือซึ่งการมองภาพอนาคตมันก็จะทำให้เลี่ยงความเสี่ยงแล้วก็ป้องกันตนเอง ในขณะเดียวกัน ก็ใช้ประโยชน์จากโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ดียิ่งขึ้น
เมื่อถามว่า สิ่งที่มองว่าเป็นความท้าทายด้านนี้คืออะไร รองศาสตราจารย์ ดร.อภิวัฒน์ กล่าวว่า ผมคิดว่าอันแรกก็คือท่าทางที่สุดนะครับซึ่งยากที่สุดก็คือการเปลี่ยนกระบวนทัศน์เปลี่ยนความคิดของคนซึ่งก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้แต่นั่นหมายความว่าเราควรจะต้องมีกระบวนการในการที่จะพูดคุยกันมากขึ้นไม่ใช่เฉพาะในเรื่องของการเมืองแต่หมายถึงในเรื่องเทคโนโลยีเศรษฐกิจอะไรต่างๆ ในโลกปัจจุบันปัญหาหนึ่งก็คือว่าเราอยู่ในสถานการณ์ที่แต่ละคนคุยกันเฉพาะกับคนที่เรารู้จักแต่อนาคตเนี่ยโอกาสต่างๆมันมักจะมาจากขอบของความรู้ซึ่งก็คุยกับคนที่เราคิดว่าเราอาจจะไม่รู้จักหรือว่าไม่ค่อยสบายใจที่จะคุยสักเท่าไหร่ ดังนั้น ตรงนั้นเนี่ยคือความหลากหลายของความคิดที่สำหรับผมแล้วเนี่ยมันเป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะจัดการกับความเสี่ยงไม่ใช่เฉพาะเรื่องการเมืองเรื่องของความรู้เรื่องของการวิจัยเรื่องของเทคโนโลยีเรื่องของเศรษฐกิจการที่เราได้พบกับคนหลากหลายถกเถียงกันบ้างแล้วก็พยายามสร้างทางออก คิดว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น
เมื่อถามว่า การจัดการต่างอนาคตการศึกษากลับโมเดล 4.0 อาจารย์มองว่ามันไปด้วยกันสอดคล้องกันอย่างไรบ้าง รองศาสตราจารย์ ดร.อภิวัฒน์ กล่าวว่า แตกต่างอันหนึ่งของการวางแผนยุทธศาสตร์แบบเดิม ก็คือ การวางแผนแบบที่ตั้งอยู่บนฐานของอนาคตศึกษาอย่างที่ผมเรียนไปก่อนหน้านี้เราต้องดูความเสี่ยงแล้วก็ดูทางเลือกที่ผ่านมาเนี่ยเวลาเราวางแผนชาติหรือว่าวางแผนพัฒนาเมืองเรามองในลักษณะของเป้าหมายมองเป็นวิสัยทัศน์หนึ่งเดียวแล้วก็จะขับเคลื่อนองค์ความรู้ทั้งหมดเนี่ยให้เข้าไปสู่เป้าหมายนั้นแต่จริงๆ เนี่ยมันมีความเสี่ยงอยู่มากที่ทำให้เป้าหมายนั้นมันเกิดขึ้นไม่ได้ดังนั้นกระบวนการพื้นฐานเราควรที่จะเริ่มเปลี่ยนเราจะต้องเอาความเป็นไปได้ต่างๆ มาคลี่ให้เห็นก่อสร้างออกมาเป็นทางเลือกก่อนเมื่อได้ทางเลือกแล้วถึงจะมาดูว่าถ้าออกหัวเราจะทำแบบนี้ถ้าออกก้อยเราจะทำแบบนั้นอันนี้เป็นความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างกระบวนการการทำแผนยุทธศาสตร์ที่ผ่านมาในระดับชาติกับงานที่ได้มาจากการวิเคราะห์ในเชิงอนาคตศึกษาโมเดล 4.0 เนี่ยมีอยู่หลายแบบ คือ เราต้องเข้าใจก่อนว่าคำว่า 4.0 ไม่ได้เป็นเพียงแค่การปรับเปลี่ยนการบรรจบกันของเทคโนโลยีแต่หมายถึงว่าองคาพยพทั้งหมดของสังคมจะต้องไปด้วยกันเชิงเทคโนโลยีเศรษฐกิจสังคม
“ดังนั้น ความแตกต่างระหว่างการวิจัยแบบ 4.0 คือ การตั้งอยู่บนฐานของความเข้าใจว่าเราจะต้องเปลี่ยนทุกๆ อย่างไปพร้อมกันไม่ใช่เฉพาะว่าแค่เทคโนโลยีอย่างเดียวนั้นโมเดล 4.0 ที่ตั้งอยู่บนฐานของเศรษฐกิจอย่างเดียวเนี่ยมันเลยทำให้เกิดความรากลั่นระหว่างการผลักดันในเชิงเทคโนโลยีกับเศรษฐกิจกับทางด้านสังคมนั้น จากงานวิจัยเนี่ยเราแสดงให้เห็นว่าจะ 4.0 ได้เนี่ยจะต้องเปลี่ยนทุกอย่างไปพร้อมกัน” รองศาสตราจารย์ ดร.อภิวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย
ทั้งนี้ พิธีมอบเหรียญรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ พร้อมประกาศเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติคุณ และเงินรางวัลในงานวันนักประดิษฐ์ประจำปี 2564 ระหว่างวันที่ 26-30 พฤษภาคมนี้ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร