xs
xsm
sm
md
lg

อว.เปิดเวทีบรรเลงเพลงแห่งอันดามัน ถ่ายทอดเพลงพื้นบ้านแดนใต้ผ่านวง “ซิมโฟนีออร์เคสตร้า” หวังต่อยอดนวัตกรรม เผยแพร่ให้เป็นมรดกชาติ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



อว. ขยายผลต่อยอดนวัตกรรม สนับสนุน “มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข” เปิดเวทีบรรเลงบทเพลงแห่งอันดามัน ถ่ายทอดเสียงเพลงพื้นบ้านของภาคใต้ผ่านการแสดงของวงดนตรีซิมโฟนีออร์เคสตร้า ด้าน “ดร. เอนก” เผยปลื้ม “เพลงศรีนวล” ระบุความเป็นมลายูซึ่งไพเราะแตกต่างจากภาคกลาง ย้ำจะนำผลงานต่อยอดนวัตกรรมเพลงพื้นบ้านเพื่อเผยแพร่ให้เป็นมรดกชาติ พร้อมกันนี้ยังการแสดงภาพจิตรกรรมประกอบเพลงโดย ดร.สุชาติ วงษ์ทอง ด้วย


วันนี้ (24 มี.ค.) ณ ร้านเรือนไม้ จังหวัดกระบี่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วยคณะอนุกรรมาธิการศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา, วัฒนธรรมจังหวัดกระบี่ และมูลนิธิกระบี่ยั่งยืน สนับสนุนการจัดแสดง “เพลงแห่งทะเลอันดามัน ที่ร้านเรือนไม้ จังหวัดกระบี่ หน้าวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า” อำนวยการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข

ทั้งนี้ มี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดงานการแสดงดังกล่าวบรรเลงดนตรีโดยวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้า (Thai Symphony Orchestra) ควบคุมวงโดย ดร.ธีรนัย จิระสิริกุล ซึ่งได้แสดงบรรเลงเพลงลาฆูดัว เพลงศรีนวล เพลงอานะอิกัน เพลงปาหรี่หาดยาว-ปาหรี่สตูล เพลงปาหรี่ภูเก็ต เพลงเซียปาอิตู เพลงจำเปียน-ติหมังบุหรง เพลงเลฮังกังกง-ต๋อยอีแลต เพลงสร้อยกำ และมีเพลงแถมคือเพลงนกสีเหลือง ขับร้องโดย นางสาวกมลพร หุ่นเจริญ และเพลงบูบู ขับร้องโดย นายพลธรายุทธ ทิพยุทธ และระหว่างการบรรเลงเพลง ดร.สุชาติ วงษ์ทอง ได้สร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมประกอบบทเพลงกิจกรรมบรรเลงเพลงพื้นบ้านที่จังหวัดกระบี่

โดยวงไทยซิมโฟนีออร์เคสตร้านี้ เป็นผลงานการวิจัยใน “โครงการวิจัยพื้นที่ ทางวัฒนธรรมดนตรีเพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์จินตนาการใหม่โดยอาศัยร่องรอยวิถีชีวิตของชุมชนผ่านศิลปินในท้องถิ่นผู้สืบทอดวัฒนธรรมดนตรีของชุมชน” และ “โครงการขยายผลต่อยอดวัฒนธรรมเพลงพื้นบ้านเพื่อเผยแพร่ให้เป็นมรดกชาติ” ที่ วช. ได้สนับสนุน “มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข” ซึ่งดำเนินการโดย รองศาสตราจารย์.ดร.สุกรี เจริญสุข ในการวิจัยเพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม โดยการค้นหาเพลงเก่าของชุมชนในพื้นที่ต่างๆ เพื่อนำมาเรียบเรียงใหม่ พร้อมเล่นผ่านวงดนตรีซิมโฟนีออร์เคสตร้า เพื่อรักษาเพลงเก่า นำมาเสนอในรูปแบบใหม่ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการเสริมสร้างสิ่งใหม่บนรากฐานสิ่งเก่า เพื่อรักษาเสถียรภาพและอัตลักษณ์ของสังคมไทยให้สืบทอดและคงอยู่ต่อไป โดยก่อนหน้านี้ได้มีการแสดงบรรเลงเพลงพื้นบ้านภาคกลางที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจะมีการแสดงเพลงพื้นบ้านของภูมิภาคอื่นๆ ต่อไป

โอกาสนี้ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสังกัด อว. และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งจัดแสดงให้เข้าชมในจำนวนที่นั่งตามข้อกำหนดการป้องกันโควิด-19 ของ จังหวัดกระบี่ และการแสดงครั้งนี้ใช้วิธีถ่ายทำโดยบันทึกภาพและเสียงเพื่อเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์และสื่อโทรทัศน์

ในตอนท้ายหลังจบการแสดง ศาสตราจารย์พิเศษดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่าครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 เมื่อครั้งแรกคือที่หน้าวัดพระรามอยุธยาก็เป็นเพลงของอยุธยาตั้งแต่โบร่ำโบราณซึ่งก็ได้พบว่ามันมีสุ้มเสียงแบบไทยและผสมกับสุ้มเสียงของเปอร์เซีย ของฝรั่ง ของลาว ของเขมร ของมอญด้วยฟังแล้วก็น่าทึ่งเพราะมาวันนี้ได้ฟังที่กระบี่ก็ได้พบว่าที่กระบี่มีเกาะลันตาซึ่งเป็นเหมือนเมืองหลวงของดนตรีแบบร็องเง็งร็องเง็งเป็นเหมือนเพลงของคนเร่ร่อนทางทะเลในความรู้สึกของผมดนตรีเป็นแบบง่ายๆ ร่าเริงค่อนข้างเร็วถ้าดนตรีทางอยุธยาก็ช้าๆ ถ้าเป็นร็องเง็งก็จะเป็นดนตรีที่เร็วและจังหวะเป็นที่ถูกใจและสนุกในตอนท้ายก็ได้ฟังนกสีเหลืองซึ่งเป็นเพลงที่มีชื่อเสียงและเป็นเพลงที่ขับร้องกันในยุค 14ตุลาก่อนที่จะนำมาแต่งด้วยดนตรีซิมโฟนีของรศ.ดร.สุกรีฟังก็ยิ่งเพราะขึ้น

ศาสตราจารย์พิเศษดร.เอนกกล่าวอีกว่าเราจะทำอย่างนี้ไปอีกหลายๆจังหวัดหลายๆภาคคราวหน้าจะไปแสดงที่ลำปางลำปางจะมีเพลงพื้นบ้านมากที่สุดแห่งประเทศไทยรศ.ดร.สุกรีบอกว่าน่าจะมีมากที่สุดในประเทศไทยก็คือที่จังหวัดลำปางสาเหตุเป็นเพราะอะไรต้องไปฟังรศ.ดร.สุกรีอธิบายในวันนั้นแต่ละที่มีเพลพื้นบ้านแตกต่างกันไปหมดเพราะฉะนั้นเมืองไทยมีความหลากหลายทางดนตรีโบราณมากเอามาทำให้ทันสมัยขึ้นแบะเอามาทำให้สากลขึ้นก็จะเป็นเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์มากขึ้น

“ต้องขอบคุณขาวกระบี่รศ.ดร.สุกรีเจริญสุขทำงานด้วยหัวใจด้วยความรักยิ่ง”ศ.ดร.เอนกกล่าว

ศ.ดร.เอนกกล่าวถึงในกรณีของการสนับสนุนโรงเรียนดนตรีพิเศษโดยเฉพาะว่าเป็นที่น่าสนใจทั้งนี้ต้องปรึกษาหารือกับชาวกระบี่และภูเก็ตมีร้านอาหารดีๆมีโรงแรม 4ดาว 5ดาวซึ่งต้องการนักดนรีมากมายและคนไทยก็เก่งเรื่องดนตรีฝึกไม่นานก็เล่นได้แล้วเป็นข้อเสนอที่ดีมากทั้งนี้ได้เสนอผู้ว่าราขการจังหวัดกระบี่ว่าจัดแสดงที่หน้าหาดสักครั้งหนึ่งในตอนที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นโควิด-19หมดไปแล้วเพราะตอนนี้เริ่มมีวัคซีนก็มาตัดที่หน้าหาดสักครั้งหนึ่งก็ฝรั่งน่าจะถึงส่วนตัวผมเองมากระบี่หลายครั้งแล้วแต่ไม่เคยรู้ว่ามีดนตรีแบบนี้อยู่ไม่ใช่ออร์เคสตร้าเป็นแบบเพลงโบราณที่พอนำมาแต่วเป็นออร์เคสตร้าแล้วมันเพราะเหลือเกินและเราก็ได้เห็นดนตรีร็องเง็งแบบแท้ๆดั่งเดิมที่มีฆ้องกลองไวโอลินมันเป็นอะไรที่เกินความคาดหมายเพราะที่ผ่านมาเราเองไม่ได้สนใจสิ่งเหล่านี้เราสนใจแต่หาดทรายภูเขาซึ่งก็ดีนะแต่ว่าดนตรีจะเพิ่มมูลค่าเพิ่มคุณค่าของกระบี่กระบี่ไม่ใช่ตังหวัดที่อยู่รองไปจากภูเก็ตไม่ใช่แค่นั้นนะแต่กระบี่มองในอีกแง่หนึ่งเป็นเมืองหลวงของดนตรีร็องเง็งฉะนั้นต้องนี้ต้องทำขึ้นมา

ศ.ดร.เอนกกล่าวว่าดนตรีพื้นบ้านที่จะทำใหม่นั้นจะทำขึ้น 12จังหวัดก็เดี๋ยวจากกนตรีล้านนาภาคเหนือก็จะไปเป็นดนตรีอีสานแบะที่อื่นๆอีกและรศ.ดร.สุกรีทำดีมากมีสูจิบัตรมาตรฐานทำอะไรมาตรฐานก็แบบนี้คือทำอเไรต้องสุดไม่ทำแบบขอไปทีสำหรับคราวหน้าถ้าเป็นไปได้จะให้มีนักดนตรี 80คนแต่ทั้งนี้ผมมีความตั้งใจที่จะไปดูทุกครั้งแต่คนไทยส่วนมากยังฟังเพลงป๊อบญี่ปุทนเกาหลีทั้งๆที่จองดีของเรามีเยอะแยะอย่างที่รศ.ดร.สุกรีท่านพูดว่าเมืองไทยตามเขาเนี่ยว่าเก่งทำเองเราว่าโง่ตรงนี้เป็น Mind setที่ต้องเปลี่ยนให้ได้เปลี่ยนให้ได้อย่างไรไม่ได้อยูที่ผมคนเดียวพวกเราต้องช่วยกัน

“ดนตรีไม่มีเสียงร้องมีแต่ดนตรีมันทำให้ดนตรีเป็นสากลขึ้นเราก็ฟังได้คนทุกชาติทุกภาษาฟังดนตรีที่เป็นเสียงดนตรีจริงๆมันเข้าถึงกันได้หมดและดนตรีจะเห็นคนหลายวัยที่น่าชื่นใจนักดนตรีวงซิมโฟนีอยู่ในวัยที่ไม่มากอยู่ในวัยที่กำลังเบ่งบานเติบโตได้อีกแบะดนตรีร็องเง็งคนเล่นเป็นวัยหนุ่มสาวแต่ว่าคนร้องเป็นผู้สูงวัยสองท่ายเป็นมุสลิมทั้งคู่และผู้ชายอายุ 75ยังสามารถเต้นได้บรรยากาศที่มาอยู่รวมกันทำให้เกิดความรักเพลงที่ผมชอบที่สุดคือเพลงศรีนวลเพราะมันเหมือนกับรวมเอาดนตรีแบบพุทธแบบคนพุทธแบบดนตรีมุสลิมเอามาประสานเข้าด้วยกันเอามารวมกันได้เป็นเพลงเดียวถ้าศรีนวลของภาคกลางจะเป็นแบบแนวอริยธรรมพุทธอาจจะเเป๋นมอญหรืออะไรก็ตามแต่แต่เป็นพุทธแต่ว่าศรีนวลที่นี่มันมีสุ้มเสียงของมลายูอยู่ด้วยเพราะมากเพราะทุกเพลง”ศ.ดร.เอนกกล่าว






































กำลังโหลดความคิดเห็น