การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่สำคัญมากในชีวิต ยิ่งในยุคโควิดแล้ว การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทั้งในด้านการทำงานการเรียน ความคิดและพฤติกรรม ของคนและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างที่หากเราไม่ฝึกตั้งรับไว้บ้าง การเปลี่ยนแปลงที่ทำได้ไม่ยากเย็น อาจกลายการเปลี่ยนแปลงอันใหญ่หลวงแบบที่เราตั้งรับไม่ทัน
หากวันนี้เราต้องเปลี่ยนตัวเองจริง ๆ วิธีการรับมือคืออย่ามองเป็นเรื่องใหญ่โต เช่น หากเราเป็นคนนอนดึก ตื่นสายมาตลอดในวัย 25 หากวันนี้ 35 แล้วอยากจะเปลี่ยนแปลงชีวิต ขอเพียงแค่เรารำลึกไว้อย่างหนึ่งว่า เรากำลังเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ได้กำลังเปลี่ยนตัวตนของเรา แทนที่เราจะคิดว่า
"คอยดูต่อไปนี้ผมจะเป็นคนตื่นเช้า" มันดูเป็นเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ เกินทำได้สำหรับบางคน ลองปรับมุมมองและคิดว่า
"พรุ่งนี้ผมจะติ่น ตี 5 มาอาบน้ำ ออกกำลัง"
การเปลี่ยนตัวตนเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและน่ากลัว แต่การเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับแนวทางที่ควรเป็นนั่นแหละพึงทำ การเปลี่ยนแปลง คือการปรับ ประยุกต์ความคิดพื้นฐานบางอย่างให้ดีขึ้น ให้เหมาะกับเรา สามารถแบ่งง่ายๆเป็นสองแบบคือ
1. การปรับตัวเพื่อตั้งรับในขณะที่ยังไม่มีวิกฤต แต่อาจมีสัญญาณเตือนเล็ก ๆ มาให้เห็นว่าต้องเปลี่ยนแล้ว
2. การปรับตัวที่จำเป็นต้องทำ เพราะมีวิกฤตเกิดขึ้นกับตัวเอง
การเปลี่ยนแปลงแบบที่สอง เป็นการเปลี่ยนแปลงที่แปลืองและเหนื่อยมาก ดังตัวอย่างตามหลักของทฤษฎีของ เฮนริช ว่าด้วยเรื่อง "300: 29:1" ซึ่งอธิบายได้ว่าปัญหาในชีวิตของเรา 300 ครั้งมาจากสาเหตุเดียวกัน หากไม่ได้รับการแก้ไข จะทำให้เกิดปัญหาที่ใหญ่ขึ้นจนเป็นอันตรายหวุดหวิด 29 ครั้ง และหากยังไม่ได้รับการแก้ไขอีก จะนำไปสู่ปัญหาวิกฤตที่แก้ไขไม่ได้เพียง 1 ครั้ง ดังตัวอย่างที่เฮนริชได้เล่าให้ฟังว่า
ชายผู้หนึ่ง หลังดื่มกาแฟทุกเช้า ก็จะสตาร์ทรถโดยได้ยินเสียงเครื่องยนต์สั่นตรงท้ายรถเสมอ แต่อย่างไรซะรถก็ยังใช้ได้ เพียงแต่ต้องถอยเกียเดินหลัง ก่อนออกรถ ชายคนนี้ทำแบบนี้ทุกเช้าจนเคยชิน โดยไม่เคยคิดที่จะซ่อมรถ
จนวันหนึ่งขณะที่เขาขับรถ เขาได้ยินเศษเหล็กของเครื่องยนต์แตก และทำให้เกิดแรงกระแทก จนจักรยานของลูกสาวที่อยู่กระบะท้ายรถพัง
จากเหตุการณ์ครั้งนี้เค้าได้แต่รู้สึกผิดที่ทำจักรยานลูกสาวพัง แต่ไม่ได้คิดถึงการซ่อมรถอีก จนวันหนึ่งขณะที่เขาออกรถ ลูกสาวที่ยืนอยู่ท้ายรถ ถูกรถที่เขาสตาร์ทเครื่องพุ่งชนกระแทกด้านหลังอย่างแรง และจากวันนั้นเขาก็ไม่ได้มีโอกาสเจอหน้าลูกสาวอีกเลย
พวกเราหลายคนยังยึดติดกับการใช้ชีวิตเดิม ที่ประสบปัญหาเดิม ๆ ทุกวันจนกลายเป็นความเคยชิน เด็กที่ทะเลาะเถียงพ่อแม่อยู่ทุกวี่วัน สาเหตุคือขาดคนเข้าใจความรู้สึก แต่พ่อแม่ก็ยังมองว่าเป็นธรรมชาติของลูกที่ไม่เหมือนคือ ก้าวร้าว เรียนไม่เก่ง
ปัญหาของเด็กเกเร หรือเด็กเรียนอ่อนส่วนใหญ่ มาจากปัญหาของพ่อแม่ที่ไม่ทันสังเกต เช่น การที่ลูกตื่นสายเป็นปี ๆ กลายเป็นคนจัดการชีวิตตัวเองไม่ได้ และที่สุดจึงสอบไม่ผ่าน กลายเป็นปัญหาที่แก้ยากคือลูกติดนิสัยไม่ขยัน เอาแต่ใจตัวเอง ปรับตัวเข้ากับสังคมใบใหญ่ไม่ได้เลย
วิกฤตในชีวิตของเรามาในรูปสัญญาณเตือนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภัยธรรมชาติ ที่ออกอาการในรูปแบบของมลพิษ ไอเสียเครื่องจักร ผู้คนล้มป่วยมากมาย หรือแม้แต่ฝุ่น PMS 2.5 สิ่งต่างๆเหล่านี้ยิ่งวันยิ่งทวีสัญญาณได้แรงขึ้น
มันคือสัญญาณที่กำลังเตือนอันตรายอะไรที่ซ่อนอยู่
เราควรมีนโยบายที่เข้มงวดเรื่องการควบคุมควันจากรถ หรือเน้นการขุดคลอง ปลูกต้นไม้เพื่อรักษาธรรมชาติหรือไม่ หากผู้มีหน้าที่ดูแล หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรีบแก้ไขอย่างจริงจัง และให้ความสำคัญกับสัญญาณอันตรายต่าง ๆ เหล่านี้ วิกฤตเพียงครั้งเดียวก็จะมาไม่ถึงเราอย่างแน่นอน
ครูฮ้วง
-----------------
ครูฮ้วง-เสาวลักษณ์ ลี้รุ่งเรืองพร เจ้าของสถาบัน Campus Genius Center ผู้สอนหลักสูตรติวเข้มเพื่อการสอบ SAT ด้วยแนวคิดแบบ Critical Thinking ที่ช่วยให้นักเรียนสามารถยื่นคะแนนเข้าเรียน และประสบความสำเร็จในการเรียนคณะอินเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ