xs
xsm
sm
md
lg

อย.ย้ำ โฆษณาสรรพคุณอาหารต้องขออนุญาตก่อน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



อย. ย้ำ การโฆษณาแสดงสรรพคุณของอาหารทางสื่อต่างๆ รวมถึงการไลฟ์สดต้องได้รับอนุญาตจาก อย. ก่อน ขั้นตอนการขออนุญาตสะดวก รวดเร็ว ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ การันตีไม่เกิน 8 วันทำการ แนะเจ้าของผลิตภัณฑ์ ผู้เกี่ยวข้องกับการโฆษณาศึกษาข้อกฎหมายอย่างถี่ถ้วน เพราะการฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมาย สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่ อย. หรือ สสจ. ทั่วประเทศ หรือผ่านระบบให้คำปรึกษาทางออนไลน์ พร้อมแนะผู้บริโภคสังเกตเลข “ฆอ.” ในชิ้นงานโฆษณา หากไม่มี อย่าเชื่อสรรพคุณ ให้ร้องเรียนที่ สายด่วน อย. 1556 หรือ Oryor Smart Application

วันนี้ (31 ม.ค.) เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากสถิติการรับเรื่องร้องเรียนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในแต่ละปีพบว่า กว่าร้อยละ 60 เป็นการร้องเรียนโฆษณาผลิตภัณฑ์ยา อาหาร เครื่องมือแพทย์ และสมุนไพรโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือแสดงสรรพคุณโอ้อวดเกินจริง ซึ่งผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้จะต้องได้รับอนุญาตโฆษณาจาก อย. ก่อน จึงจะสามารถโฆษณาได้ โดยในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีดารา นักร้อง พรีเซ็นเตอร์ ยูทูปเบอร์ รีวิวสินค้าและโฆษณาสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายผิดกฎหมายและไม่ได้รับอนุญาตทางสื่อต่างๆ ทั้งทางโทรทัศน์ วิทยุ สื่อโซเชียลมีเดีย (เฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม และ ยูทูป) ถูกดำเนินคดีกว่า 230 คน ผลิตภัณฑ์ที่พบการโฆษณาผิดกฎหมายมากที่สุด คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและกาแฟ

รองเลขาธิการ กล่าวต่อไปว่า การโฆษณาอาหารด้วยข้อความ เสียง ภาพ ที่สื่อถึงคุณประโยชน์ คุณภาพ และสรรพคุณของอาหารทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ สื่ออินเตอร์เน็ต แผ่นพับ ใบปลิว ป้าย พาหนะ จะต้องได้รับอนุญาตจาก อย. ก่อนทำการโฆษณาทุกกรณี โดยยื่นคำขอผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Submission) ใช้ระยะเวลาพิจารณาไม่เกิน 8 วันทำการ ทั้งนี้ เจ้าของผลิตภัณฑ์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาควรศึกษาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการโฆษณาอาหารจากประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาว่าด้วยหลักเกณฑ์การโฆษณาอาหารอย่างถี่ถ้วน เพราะการฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห้ามโฆษณาอาหารในลักษณะที่เป็นเท็จ เกินความจริง หรือสื่อให้เข้าใจว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค ความเจ็บป่วย หรืออาการของโรคได้ เพราะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากไม่แน่ใจสามารถติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่ อย. หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ หรือผ่านระบบให้คำปรึกษาทางออนไลน์ (Consultation e-Services)

รองเลขาธิการ กล่าวเพิ่มเติมในตอนท้ายว่า สำหรับผู้บริโภคสามารถตรวจสอบว่าโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารนั้นได้รับอนุญาตจาก อย. หรือไม่ เบื้องต้นให้สังเกตข้อความ “ฆอ. …./….” ซึ่งจะปรากฏอยู่ในชิ้นงานโฆษณา และสามารถนำเลข ฆอ. ไปตรวจสอบในฐานข้อมูลการขออนุญาตของ อย. http://mauris.fda.moph.go.th/AdvertriseSearch หากไม่มีเลข ฆอ. หรือชื่อผลิตภัณฑ์ที่ทำการโฆษณาไม่ตรงกับฐานข้อมูล ให้เชื่อไว้ก่อนเลยว่าเป็นโฆษณาที่ไม่ได้อนุญาตจาก อย. และไม่ควรเชื่อเนื้อหาโฆษณานั้น หากพบโฆษณาที่น่าสงสัย อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน


กำลังโหลดความคิดเห็น