xs
xsm
sm
md
lg

เช็กที่นี่ประกาศ กทม.ฉบับเต็ม ฉบับที่ 17 สั่งผ่อนปรน 13 สถานที่ มีผลวันนี้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงนามประกาศเรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ฉบับที่ 17 สั่ง 13 กิจการเปิดได้ มีผลวันนี้ พร้อมย้ำมาตรการป้องกัน โควิด-19

เมื่อวันที่ 21 ม.ค.เวลา 23.55 น. พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) ลงนาม ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 17) มีเนื้อหาระบุว่า ตามที่ได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 9) ลงวัน 5 มกราคม 2564 โดยขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 และประกาศใช้ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 25 ธันวาคม2563 และ (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 3 มกราคม 2564 ซึ่งได้มีประกาศ กรุงเทพมหานครเรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2563 ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 1 มกราคม 2564 และประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 4 มกราคม 2564 แล้วนั้น

เพื่อเป็นการผ่อนคลายให้บางสถานที่สมารถดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างได้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนได้ทำกิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต ตลอดจนด้านการออกกำลังกายหรือการดูแลรักษาสุขภาพอันเป็นการช่วยป้องกันโรคได้ทางหนึ่ง ภายใต้มาตรการป้องกันควบคุมโรคเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาด อาศัยอำนจตามความในมาตรา 35 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกอบกับข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2563 และ (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 3 มกราคม 2564 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2564 จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

1. ให้สถานที่ที่มีประกาศให้ปิดตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 1 มกราคม 2564 ดังต่อไปนี้ สามารถดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างได้

1.1 สถานที่เล่นตู้เกม

1.2 ร้านเกม และร้านอินเทอร์เน็ต

1.3 สถานดูแลผู้สูงอายุ

1.4 โรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้ (ยิม)

1.5 สนามแข่งขันทุกประเภท (ไม่รวมถึงสนามชนไก่ สนามซ้อมชนไก่ สนามมวย สนามม้า สนามชนโคสนามปลากัด หรือสนามแข่งขันอื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน)

1.6 สถานที่ให้บริการห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยงรวมถึงสถานที่อื่นใดที่มีลักษณะ ทำนองเดียวกัน

1.7 สนามพระเครื่อง ศูนย์พระเครื่อง

1.8 สถานเสริมความงาม สถานที่สักหรือเจาะผิวหนังหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย

1.9 สถานที่ออกกำลังกายฟิตเนส

1.10 สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา และสถานประกอบการนวดแผนไทย นวดฝ่าเท้า

1.11 สนามฝึกซ้อมมวย โรงยิม หรือค่ายมวย

1.12 สถานที่เล่นโบว์ลิ่ง สเก็ต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการละเล่นอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน

1.13 สถาบันสีลาศ หรือสอนลีลาศ 2.สถานที่ตามข้อ 1 ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาด ของโรคแนบท้ายประกาศนี้โดยเคร่งครัด

3.สถานที่อื่นที่ไม่มีประกาศให้ปิด หรือไม่ได้กำหนดมาตรการเฉพาะสถานที่ ให้ผู้เกี่ยวข้องจัดให้มีมาตรการป้องกันโรคดังต่อไปนี้

3.1 บริการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย หรือการคัดกรองอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ

3.2 ให้สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า

3.3 อำนวยความสะดวกในการเว้นระยะห่งระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตรและจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมิให้แออัด

3.4 จัดให้มีที่ล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์เจลหรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค

3.5 จัดให้มีการเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของสถานที่ที่เกี่ยวข้องก่อนการทำกิจกรรม รวมทั้งระหว่างและภายหลังการทำกิจกรรมด้วย

3.6 ให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่และเพิ่มมาต รการใช้แอปพลิเคชันที่ทางราชการกำหนด

4. หากพบการฝ่าฝืนไม่ฏิบัติตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 15) ลงวันที่ 1 มกราคม 2564 หรือประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 16) ลงวันที่ 4 มกราคม 2564 หรือประกาศกรุงเทพมหานครฉบับนี้ ให้ปิดสถานที่ที่ฝ่าฝืนเป็นเวลา 14 วัน โดยให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อแจ้งเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ให้ปิดสถานที่ดังกล่าว ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจมีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นข้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชน หรือกระทบต่อประโชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2564 เป็นต้นไป


































กำลังโหลดความคิดเห็น