xs
xsm
sm
md
lg

ใครๆ ก็เป็นอินฟลูเอนเซอร์ได้ แต่ไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะเป็นอย่างยั่งยืน! นิเทศฯ ม.กรุงเทพ พร้อมปั้นอินฟลูเอนเซอร์ตอบโจทย์ passion เด็กยุคโซเชียล

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



แม้การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะทำร้ายเศรษฐกิจและชีวิตของผู้คนทั่วโลก แต่ถ้ามองในมุมบวกก็ถือว่าโควิด-19 ได้จุดประกายให้เกิดเรื่องราวดีๆ เช่นเดียวกัน

เพราะหลายคนใช้โอกาสขณะอยู่บ้านตามมาตรการล็อกดาวน์สร้างสรรค์ผลงานขึ้นมามากมายในโลกโซเชียลเห็นตัวอย่างได้ชัดจากการเติบโตแบบก้าวกระโดดของแอพฯ TikTok ที่สะท้อนคำกล่าวในยุคดิจิทัลว่า User Generated Content และยิ่งใครผลิตเนื้อหาได้โดนใจผู้พบเห็น  ก็ยิ่งมีสิทธิ์ก้าวขึ้นไปเป็นอินฟลูเอนเซอร์(influencer) หรือผู้มีอิทธิพลทางความคิดในโลกโซเชียลที่แบรนด์ต่างๆ  อยากดึงตัวมาร่วมงาน

ทำไมยุคนี้คนธรรมดาๆ ก็กลายเป็นอินฟลูเอนเซอร์ได้?นั่นเป็นเพราะคนธรรมดาๆ นี่เองที่จะมองสินค้าในมุมมองเดียวกันกับผู้บริโภคทั่วๆ ไป ความคิดเห็นของพวกเขาจึงดู “จริง” มากกว่าดาราหรือพรีเซนเตอร์ที่อาจดูเหมือนโฆษณาชวนเชื่อ  แล้วทำไมคนยุคใหม่ถึงอยากเป็นอินฟลูเอนเซอร์?   นั่นก็เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป  จนทำให้เกิดการตลาดแบบใหม่ที่เรียกว่า Influencer Marketing หรือการใช้อินฟลูเอนเซอร์มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดแทนดาราหรือคนดัง  ใครก็ตามที่ได้เป็นอินฟลูเอนเซอร์จึงสามารถสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ


“เรามักคิดว่า  แบรนด์หมายถึงสินค้าหรือบริการเท่านั้น  แต่อันที่จริงตัวเราหรือใครๆ ก็สามารถสร้างแบรนด์บุคคลได้เช่นกัน” ผศ.เสริมยศ   ธรรมรักษ์  หัวหน้าภาควิชาการสื่อสารแบรนด์คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าว “จะเห็นว่าทุกวันนี้คนเราสามารถสร้างตัวตนในโลกออนไลน์ได้มากขึ้น   จึงเกิดเป็นอาชีพใหม่ๆ อย่างYouTuber, TikToker, Blogger, Vloggerซึ่งแสดงให้เห็นว่า  แบรนด์ไม่ใช่แค่สินค้า แต่หมายถึงใครคนใดคนหนึ่งที่สามารถสร้างตัวตนขึ้นมาเป็น Personal Brand  จนกลายเป็นอินฟลูเอนเซอร์ที่สินค้าต่างๆอยากว่าจ้าง”

ธรรมชาติ     โยธาจุล นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาการสื่อสารแบรนด์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คือตัวอย่างของผู้ที่ใช้เวลาเพียง 3-4 เดือนระหว่างมาตรการล็อกดาวน์   สร้างPersonal Brand ผ่านผลงานในแอพฯTikTok  กระทั่งเป็น TikToker ที่มีผู้ติดตามถึง 1.4 ล้านคน  ปัจจุบันเขาได้กลายเป็นอินฟลูเอนเซอร์ที่ได้รับการจ้างงานจากแบรนด์ต่างๆ  ธรรมชาติเผยว่า เขาอาศัยความชอบส่วนตัวนั่นคือการใส่เสื้อคลุมตัวใหญ่ มาสร้างเป็นเอกลักษณ์ที่ใครๆ ก็จำได้ บวกกับการใช้ชื่อจริงแทนชื่อเล่น ด้วยเหตุผลว่า ชื่อเล่นอาจมีซ้ำกันหลายคน  แต่ชื่อ “ธรรมชาติ” ตามบัตรประชาชนคงมีไม่มากนักเมื่อใครได้ยินชื่อของเขา  จึงจดจำได้ทันทีเหล่านี้เป็นกลยุทธ์ที่เขาได้เรียนรู้มาจากสาขาการสื่อสารแบรนด์นั่นเอง


“ยุคนี้ใครๆ ก็เป็นอินฟลูเอนเซอร์ได้” ผศ.เสริมยศกล่าวเสริม “และสถานการณ์โควิด-19 ที่คนเราใช้เวลาที่อยู่กับบ้านสร้างสรรค์ผลงานเผยแพร่ในแพลตฟอร์มต่างๆ ก็ยิ่งตอกย้ำความจริงข้อนี้มากขึ้น อย่างไรก็ตามการที่จะเป็นอินฟลูเอนเซอร์ที่สร้างสรรค์งานโดนใจผู้ชมจนได้รับการติดตามอย่างยั่งยืนได้นั้น  นอกจากจะต้องทำให้คนอื่นจดจำคาแรกเตอร์ของเราให้ได้แล้วยังต้องมีพรสวรรค์และหมั่นฝึกฝนจนเกิดเป็นทักษะที่เชี่ยวชาญด้วยที่สำคัญคือต้องรู้จักเปลี่ยนแพชชั่น (passion) หรือสิ่งที่เราหลงใหลอย่างแรงกล้า ให้ออกมาเป็นคอนเทนต์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจนมีคนสนใจและติดตาม

ด้วยเหตุนี้คณะนิเทศศาสตร์  มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้เปิดสอนหลักสูตรนิเทศศาสตร์ มุ่งเน้นการสร้างแบรนด์อินฟลูเอนเซอร์ขึ้น  เพื่อปั้นผู้เรียนให้เป็นอินฟลูเอนเซอร์ผู้ทรงอิทธิพล  หรือนำความรู้ไปบริหารจัดการงานด้าน Influencer Marketing  ซึ่งนอกจากการสร้างแบรนด์อินฟลูเอนเซอร์แล้ว  หลักสูตรนิเทศศาสตร์ยังประกอบไปด้วยอีก4ด้านมุ่งเน้น ได้แก่ การสื่อสารแบรนด์สร้างสรรค์การประชาสัมพันธ์ดิจิทัลการโฆษณาดิจิทัลและวารสารศาสตร์ดิจิทัล ที่ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนแบบเจาะลึกด้านใดด้านหนึ่งหรือเลือกเรียนแบบรวมศาสตร์ก็ได้(รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.bu.ac.th/th/comarts)


การจะเป็นอินฟลูเอนเซอร์ผู้ทรงอิทธิพลได้นั้น  จำเป็นต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการเรียนรู้  ดังนั้นหลักสูตรนิเทศศาสตร์
มุ่งเน้นการสร้างแบรนด์อินฟลูเอนเซอร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  จึงมุ่งมั่นที่จะทำให้ผู้เรียนรู้จักเปลี่ยนแพชชั่นของตนเป็นคอนเทนต์ดีๆ  เพื่อให้กลายเป็นอินฟลูเอนเซอร์ผู้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน


กำลังโหลดความคิดเห็น