xs
xsm
sm
md
lg

ศบค.แจงคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เหตุใช้ กม.โรคติดต่อฉบับเดียว จัดการ “โควิด” เบ็ดเสร็จทุกเรื่องไม่ได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


แฟ้มภาพ
โฆษก ศบค.แจงอีกครั้ง สาเหตุต้องคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อให้ควบคุมโรคโควิดได้เบ็ดเสร็จ ใช้อำนาจ พ.ร.บ.โรคติดต่อแค่ฉบับเดียวไม่ได้ ต้องบูรณาการกฎหมายอื่นกว่า 40 ฉบับ การทำงานข้ามกระทรวง ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

วันนี้ (26 พ.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวถึงกรณีประเทศไทยควบคุมผู้ป่วยโควิด-19 ให้มีระดับต่ำได้แล้ว เหตุใดยังไม่ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั้งที่มี พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อให้ประชาชนกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ ว่า ก่อนใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เราใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ อย่างเดียวในการทำงาน แต่ต้องมีการทำงานข้ามกระทรวง เช่น เรื่องการควบคุมที่ด่าน การควบคุมไม่ให้คนเข้ามา การคมนาคม การนำคนไทยกลับจากต่างประเทศ เป็นต้น การสั่งการจากกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งคงทำได้ยาก หรือไม่ได้ดี แต่หลังมีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็สามารถนำกฎหมายโรคติดต่อและกฎหมายอื่นๆ อีกกว่า 40 ฉบับเข้ามาบูรณาการทำงาน จนประสบความสำเร็จ

“โรคนี้เพิ่งเกิดขึ้น การควบคุมคือการจัดการกับบุคคลให้ได้ดี จึงต้องรวบอำนาจเพื่อมาจัดการเบ็ดเสร็จ เพื่อควบคุมโรคให้ได้ โดยใช้กลไกภาครัฐ จากเดิมต่างคนต่างทำในแต่ละกระทรวง ณ วันนี้ต้องมาทำตรงนี้กันก่อน ความสำเร็จด้านหนึ่งที่เกี่ยวข้อง คือ การจัดการด้านกฎหมาย ให้อำนาจหน้าที่กับบุคลากรรัฐเข้าไปควบคุมจัดการ คือ ความสำเร็จด้านหนึ่ง ต้องขอขอบคุณส่วนต่างๆ ที่เข้ามาช่วยงานโรคระบาดโรคนี้ ทำให้ประสบความสำเร็จขนาดนี้” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น