ม.นวมินทราธิราช ได้จัดส่งชุดหมวกอัดอากาศความดันบวก (PAPR) จำนวน 2 ชุด และ หน้ากากซิลิโคน มาตรฐาน N99 จำนวน 20 ชุด ให้แก่โรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดต่างๆ 9 แห่ง
วันนี้ (3 เม.ย.) ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ นายกสภามหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กล่าวว่า ได้ตั้งเป้าหมายการผลิตหมวกอัดอากาศความดันบวก (PAPR) ให้ได้ครบ 200 ชุดภายใน 2 สัปดาห์แรกของเดือนเมษายนนี้ เพื่อจัดส่งให้โรงพยาบาลต่างๆ เพื่อใช้ปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องทำหัตถการทางเดินทายใจแก่ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการหนัก ในขณะที่โรงพยาบาลต่างๆ ในต่างจังหวัดแทบไม่มีอุปกรณ์ป้องกันดังกล่าวอยู่เลย ทั้งนี้ เมื่อผลิตครบ 200 ชุด จะจัดส่งให้โรงพยาบาลต่างๆ ให้ครบ 100 โรง ในช่วงก่อนสงกรานต์จะสามารถจัดทำได้อย่างแน่นอน เพราะได้ระดมนักศึกษาและบุคลากรของวิทยาลัยชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และอาจารย์ รวมทั้งนักศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาช่วยดำเนินการผลิตจนได้จำนวนมากขึ้น และในขณะนี้บริษัท PTTGC ในกลุ่ม ปตท. และพันธมิตรได้นำต้นแบบ PAPR ที่คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลผลิตขึ้น ไปขึ้นรูปและจะเร่งผลิตในระบบอุตสาหกรรมแล้ว คาดว่า ในช่วงปลายเดือนเมษายน PAPR จำนวนมากจะถูกผลิตขึ้นอย่างรวดเร็ว และจะสามารถแจกจ่ายให้แกโรงพยาบาลทั่วประเทศในระดับ 500-1,000 ชุดภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้
สำหรับการผลิตหน้ากากซิลิโคนป้องกันการติดเชื้อชนิดใช้ได้หลายครั้ง มาตรฐาน N99 นั้น ขณะนี้โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้เข้ามาร่วมดำเนินการโดยจัดหาหน้ากากซิลิโคนเพิ่มขึ้นอีก 1,000 ชิ้น มาประกอบกับอุปกรณ์ Hepa Filter ของวชิรพยาบาล ซึ่งสั่งซื้อจากต่างประเทศมาสำรองไว้และทยอยได้รับของ จนมีไส้กรอง Hepa Filter จำนวนมาก ถึง 10,000 ชิ้นแล้ว และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ได้ทำการประกอบหน้ากาก N99 ขึ้นใช้ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ กับได้ส่งมอบให้กับโรงพยาบาลอำเภอทั้ง 6 แห่งของจังหวัดปทุมธานี คือ โรงพยาบาลธัญบุรี โรงพยาบาลคลองหลวง โรงพยาบาลลำลูกกา โรงพยาบาลลาดหลุมแก้ว โรงพยาบาลสามโคก โรงพยาบาลหนองเสือ แห่งละ 20 ชุด และโรงพยาบาลปทุมธานีจำนวน 40 ชุด ในวันที่ 3 เม.ย. นี้ ณ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
นอกจากการสนับสนุนจากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาคเอกชนในการดำเนินการผลิตอุปกรณ์ป้องกันการระบาดของโควิด-19 มาตรฐานสูงใช้ในโรงพยาบาลแล้ว สายการผลิตอุปกรณ์ดังกล่าวที่ดำเนินการโดยอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรของคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล และวิทยาลัยชุมชนเมือง ยังได้รับเกียรติจากการเยี่ยมเยียนให้กำลังใจจาก ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรี อว. และ ศ.คลินิค นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในการสนับสนุนให้กำลังใจและ จัดงบประมาณช่วยเหลือการดำเนินการเร่งด่วนดังกล่าวด้วย
นอกจากการสนับสนุนจากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาคเอกชนในการดำเนินการผลิตอุปกรณ์ป้องกันการระบาดของโควิด-19 มาตรฐานสูงใช้ในโรงพยาบาลแล้ว สายการผลิตอุปกรณ์ดังกล่าวที่ดำเนินการโดยอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรของคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล และ วิทยาลัยชุมชนเมือง ยังได้รับเกียรติจากการเยี่ยมเยียนให้กำลังใจจาก ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรี อว. และ ศ.คลินิค นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในการสนับสนุนให้กำลังใจ และจัดงบประมาณช่วยเหลือการดำเนินการเร่งด่วนดังกล่าวด้วย