xs
xsm
sm
md
lg

"ผ้าก๊อซ" ถูกลืมทิ้งในร่างผู้ป่วยสูงสุด เป็นผ่าตัดช่องท้องมากสุด แนะ 5 วิธีป้องกัน

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


อนุฯ คุณภาพ สปสช.เผย "ผ้าก๊อซ-เข็ม-เครื่องมือ" ถูกลืมในร่างผู้ป่วยหลังผ่าตัดสูงสุด โดยเฉพาะผ่าช่องท้อง นรีเวช ทางเดินปัสสาวะ ชี้อาจมีหรือไม่มีอาการแสดง แต่ทำให้ต้องผ่าตัดซ้ำ 70% คนไข้ป่วย 80% ตาย 35% แนะ 5 แนวทางลดอุบัติการณ์

รศ.นพ.วัชรพงศ์ พุทธิสวัสดิ์ ประธานอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ระดับเขตพื้นที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 7 ขอนแก่น บรรยายพิเศษ เรื่องการลดอุบัติการณ์การมีสิ่งแปลกปลอมตกค้างในร่างกายผู้ป่วยหลังทำหัตถการ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ปัญหาการตกค้างของสิ่งแปลกปลอมหลังการผ่าตัด มีอัตราการเกิดระหว่าง 0.3 ถึง 1.0 ต่อการผ่าตัดช่องท้อง 1,000 ครั้ง ทำให้เกิดการทำหัตถการซ้ำ 70% เกิดการเจ็บป่วยของคนไข้ 80% และเกิดการเสียชีวิตของคนไข้ 35% นอกจากนี้ ยังทำให้ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์เพิ่มขึ้น การฟ้องร้องมีแนวโน้มมากขึ้น ทั้งนี้ สิ่งของที่ตกค้างหลังการผ่าตัดที่พบมากที่สุด ผ้าก๊อซซับเลือด เข็มเย็บผ่าตัด และเครื่องมือผ่าตัด พบบ่อยในการผ่าตัดทางช่องท้อง 52% ผ่าตัดทางนรีเวช 22% และผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะและหลอดเลือด 10% โดยการผ่าตัดช่องท้องที่พบปัญหาบ่อยที่สุด คือ การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง และการผ่าตัดมดลูกผ่านทางหน้าท้อง

รศ.นพ.วัชรพงศ์ กล่าวว่า การตกค้างของสิ่งแปลกปลอมหลังผ่าตัด อาจไม่มีอาการ แต่พบได้จากการตรวจพบโดยบังเอิญ หากมีอาการ ที่พบในระยะเริ่มแรก จะมีอาการปวดท้อง ติดเชื้อในกระแสโลหิต ฝีในช่องท้อง ส่วนอาการที่พบได้ภายหลังเป็นเวลานาน คือ แผลไม่หาย มีเนื้องอกเทียม ลำไส้อุดตัน ซึ่งเมื่อตรวจพบผู้ป่วยอาจจะต้องถูกผ่าตัดซ้ำ หรือเข้ารักษาในโรงพยาบาลบ่อย เพื่อรักษาภาวะแทรกซ้อนจากปัญหาสิ่งแปลกปลอมหลังการผ่าตัด  ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดปัญหาสิ่งแปลกปลอมหลังการผ่าตัดมีหลายสาเหตุ เช่น การผ่าตัดฉุกเฉิน, ผู้ป่วย อ้วน, การผ่าตัดที่มีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนที่ไม่คาคคิด, การผ่าตัดที่ใช้ชุดแพทย์ผ่าตัดหลายชุด, การผ่าตัดที่มีการเสียเลือดจำนวนมาก ต้องให้เลือดระว่างการผ่าตัด, มีความผิดพลาดในการนับผ้าก๊อซซับเลือด เข็มเย็บผ่าตัดและเครื่องมือผ่าตัด, การผ่าตัดที่ทำหลัง 17.00 น.

“การตกค้างของสิ่งแปลกปลอมหลังการผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ บางรายอาจจะเสียชีวิต และยังส่งผลกระทบต่อชื่อเสียง ความเป็นมืออาชีพของแพทย์ สร้างความเสียหายของชื่อเสียงของโรงพยาบาลและระบบสุขภาพ อาจจะมีผลกระทบร้ายแรงจากการถูกฟ้องร้องทางกฎหมาย ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในในห้องผ่าตัดจะต้องมีมาตรฐานป้องกันปัญหานี้อย่างเคร่งครัด” รศ.นพ.วัชรพงศ์ กล่าวและว่า มาตราการป้องกัน คือ 1.ตรวจนับผ้าก๊อซซับเลือด เข็มเย็บผ่าตัด และเครื่องมือผ่าตัด ก่อน ระหว่าง และหลังการผ่าตัด 2.ระหว่างการผ่าตัด คู่มือแนวทางการปฏิบัติเหล่านี้ต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด แต่จะทำให้เวลาการทำงานมากขึ้นถึง 14% ของเวลาทำงานปกติ

3.ตรวจสอบอย่างละเอียดโดยศัลยแพทย์ในบริเวณที่ทำผ่าตัด ก่อนที่จะปิดแผลผ่าตัดรวมทั้งการบันทึกขั้นตอนการผ่าตัดอย่างละเอียดรวมทั้งจำนวนสายท่อระบายและจำนวนผ้าก๊อซซับเลือดที่อาจใช้ห้ามเลือดหลังผ่าตัดในกรณีที่จำเป็น เพื่อให้ศัลยแพทย์เมื่อเข้าไปเอาผ้าก๊อซซับเลือดรู้ว่ามีผ้าก๊อซซับเลือดที่ต้องเอาออกกี่ผืน  4.ความแตกต่างของการตรวจนับควรทำให้เกิดการแจ้งเตือนอย่างอัตโนมัติถึงโอกาสการเกิดปัญหาสิ่งแปลกปลอมหลังการผ่าตัด เมื่อมีความแตกต่างในการตรวจนับต้องตรวจนับซ้ำ และศัลยแพทย์ต้องตรวจตราดูบริเวณที่ทำผ่าตัดใหม่ทั้งหมด  5.หากความแตกต่างยังคงอยู่ควรทำการถ่ายภาพรังสีที่เหมาะสม (การถ่ายภาพรังสี/เอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์) เพื่อค้นหาสิ่งแปลกปลอมหลังการผ่าตัดที่ตกค้างอยู


กำลังโหลดความคิดเห็น