คนไทยดื่มนม 18 ลิตรต่อคนต่อปี ตั้งเป้าให้ได้ 25 ลิตรต่อคนต่อปีในปีหน้า ผลสำรวจพบดื่มนมประจำแค่ 44% วัย 3-12 ปี ดื่มมากสุด 88% พออายุเพิ่มขึ้นกลับดื่มนมน้อยลงครึ่งหนึ่ง ส่วนคนไม่ดื่มนมเพราะคิดว่าได้รับสารอาหารครบถ้วนแล้ว ไม่อยากท้องเสีย นักโภชนาการ ชี้ นมมีสารอาหารครบ 5 หมู่ ควรดื่มให้ได้ 500 ซีซีต่อวัน ไม่ทำให้เกิดมะเร็งและโรคหัวใจตามที่กังวล สคล.ห่วงคนไทยดื่มเหล้ามากกว่าดื่มนม แนะเพิ่มสถานที่ทำกิจกรรมพ่วงร้านขายนม
วันนี้ (29 พ.ค.) ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในงานแถลงข่าวเปิดตัวเครือข่าย "นมดีทุกวัย ดื่มได้ทุกวัน" 8 หน่วยงาน ประกอบด้วย สสส. กรมอนามัย สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า สมาคมนิสิตเก่าสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมนิสิตเก่าอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารนมไทย และนายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ได้ลงนามความร่วมมือในการผนึกกำลังรณรงค์คนไทยให้มีสุขภาพแข็งแรง โดยดื่มนมเป็นประจำทุกวันอย่างน้อยวันละ 1-2 แก้ว
นายณัฐพล แย้มฉิม ประธานดำเนินงานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลการสำรวจพฤติกรรมการดื่มนมและความคิดเห็นต่อการดื่มนมของคนไทยในปัจจุบัน ว่า จากการศึกษาคนไทยอายุ 3 ปีขึ้นไป จำนวน 1,753 ตัวอย่าง ระหว่าง เม.ย.-พ.ค. 2562 ถึงพฤติกรรมดื่มนนมโคพร้อมดื่มทั้งที่ปรุงแต่งและไม่ปรุงแต่ง โดยไม่นับรวมนมโรงเรียน นมเปรี้ยว โยเกิร์ต นมถั่วเหลือง และนมอัดเม็ดพบว่า คนไทยดื่มนมประจำ 44.10% ดื่มนมบ้าง 42.04% และไม่ดื่มนมเลย 13.86% เมื่อจำแนกตามอายุ พบว่า อายุ 3-12 ปี ดื่มนนม 88.89% อายุ 13-20 ปี ดื่มนนม 44.17% อายุ 21-35 ปี ดื่มมนม 41.39% อายุ 36-50 ปี ดื่มนม 38.56% อายุ 51-60 ปี ดื่มนนม 35.29% และอายุมากกว่า 60 ปี ดื่มมนม 29.96% จะเห็นได้ว่ายิ่งอายุมากขึ้นยิ่งดื่มนมน้อยลงเรื่อยๆ ที่น่าตกใจคือเมื่อพ้นอายุ 12 ปี การดื่มนมลดลงถึงครึ่งหนึ่ง
นายณัฐพล กล่าวว่า สำหรับสาเหตุที่ไม่ดื่มนมเลย พบว่า 30.13% ระบุว่า ได้รับสารอาหารจากแหล่งอื่น ได้แก่ นมถั่วเหลือง กาแฟ นมเปรี้ยว ข้าว อาหาร ฯลฯ 24.50% ระบุว่า ไม่ชอบดื่มนม 21.19% ดื่มแล้วไม่สบายท้อง และ 12.58% คิดว่าไม่มีความจำเป็น การดื่มนมในแต่ละวันพบว่า ดื่มวันละ 1 ครั้งต่อวัน 70.33% แม้จะมีเปรอ์เซ็นต์สูง แต่ก็บอกไม่ได้ว่าที่ดื่ม 1 ครั้งนั้นดื่มเป็นจำนวนเท่าไร ดื่ม 2 ครั้งต่อวัน 23.51% 3 ครั้งต่อวัน 3.77% และมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน 2.38% ช่วงเวลาในดารดื่มนม คือ ตอนเช้ามากที่สุด 32.74% ก่อนนอน 19.73% ไม่แน่นอน 19.12% เย็น 14.58% กลางวัน 11.01% และระหว่างมื้ออาหาร 2.8%
นายณัฐพล กล่าวว่า เหตุผลที่ทำให้ดื่มนม คือ เพื่อสุขภาพ 27.99% ต้องการสารอาหารที่ครบถ้วน 14.16% ดื่มแลวรู้สึกอิ่มท้อง 11.21% และรับประทานแทนมื้ออาหาร 8.85% ปัจจัยที่ทำให้ดื่มนมได้มากขึ้น พบว่า มีนมไว้ติดบ้านสูงสุด 30.61% มีกิจจกรมส่งเสริมการขาย 24,57% สารอาหารในนมที่มีมากขึ้น 23.71% และมีสินค้าใหม่ๆ ให้ลอง 16.57% โดยข้อสงสัยหรือกังวลเกี่ยวกับนม มาจากความสงสัยด้วยตนเองสูงสุด 32.56% ตามด้วยเฟซบุ๊ก 13.95% ข้อสงสัยมีหลากหลาย เช่น ดื่มนมมากไปทำให้อ้วนหรือไม่ ดื่มนมทำให้น้ำหนักลดหรือไม่ ทำให้สูงขึ้นหรือไม่ นมชนิดไหนทำให้สูงขึ้น สะท้อนว่าเด็กไทยอยากสูง ดื่มแล้วทำให้ฟันผุหรือไม่ โรคหัวใจดื่มได้หรือไม่ ทำให้เกิดโรคมะเร็งหรือไม่ เป็นต้น สำหรับข้อเสนอแนะ คือ ไม่โฆษณาเกินจริงให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ 24.94% เพิ่มการประชาสัมพันธ์ทางการตลาดให้น่าสนใจ 15.8% ภาครัฐสนับสนุนอย่างจริงจัง 8.79% และประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงมาตรฐานการผลิต 8.79%
นายวิเชียร ผลวัฒนสุข ประธานเครือข่ายนมดีทุกวัยดื่มได้ทุกวัน กล่าวว่า การส่งเสริมให้คนไทยดื่มนมมากขึ้น จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย จึงเป้นที่มาของความร่วมมือนี้ โดยจากนี้เครือข่ายฯ จะนำผลสำรวจดังกล่าวมาหารือ เพื่อจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการในการส่งเสริมให้คนไทยมีการดื่มนมที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันคนไทยดื่มนมเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 18 ลิตรต่อคนต่อปี โดยจะต้องเพิ่มให้ได้ตามเป้าหมายคือ 25 ลิตรต่อคนต่อปีในปี 2562 ขณะที่องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ดื่มเฉลี่ยคนละ 35 ลิตรต่อคนต่อปี อย่างสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทยก็จะมาช่วยสื่อสารทำความเข้าใจให้คนเห็นความสำคัญของการดื่มนม นำเอาวิทยาศาสตร์มาสื่อสารให้คนตระหนักและเข้าใจ
นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า สสส.จะช่วยส่งเสริมการรณรงค์ให้คนไทยดื่มนมมากขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งขณะนี้คนไทยยังดื่มนมน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั้งที่นมมีคุณประโยชน์อย่างมาก มีแคลเซียมและวิตามิน จึงควรให้ได้ดื่มนมทุกวัยดื่มได้ทุกวัน เช่น วันแรกเกิด 0-6 เดือนห้ดื่มนมแม่อย่างเดียว เมื่อโตขึ้นจากนี้ก็กินอาหารตามวัยแล้วเสริมด้วยนมวัววันละ 1-2 แก้ว ส่นคนอายุมากขึ้นก็ต้องดื่มเพื่อเสริมความแข็งแรงของกระดูก โดยอาจเลือกดื่มนมพร่องมันเนย อย่างไรก็ตาม ควรระมัดระวังการดื่มนมเปรี้ยวเพราะมีน้ำตาลสูง อาจทำให้อ้วนได้ ส่วนเรื่องของการส่งเสริมให้วัยเรียนดื่มนมมากขึ้น ตอนนี้มีนมโรงเรียน ซึ่งก็ต้องส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการที่เข้าถึง โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล และต้องส่งเสริมให้เด็กเห็นความสำคัญของการดื่มนม เพราะแม้นมโรงเรียนจะเข้าถึงก็ยังมีปัญหาเด็กไม่ยอมดื่มนม ซึ่ง สสส.ก็จะช่วยรณรงค์ส่งเสริมด้วย
ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า คนไทยดื่มเครื่องดิ่มแอลกอฮอล์มากกว่าดื่มนม แม้จะไม่มีตัวเลขที่เทียบปริมาณการดื่มอย่างชัดๆ เพราะแอลกอฮอล์มีการดื่มหลายแบบ แต่หากเทียบกับมูลค่าทางการตลาดแล้วจะพบว่า นมไทยมีมูลค่าทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 5-6 หมื่นล้านบาท ส่วนตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงถึง 3 แสนล้านบาท ไม่เพียงเท่านั้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังเป้นที่มาของการเกิดอุบัติเหตุ ตายก่อนวัย ทำให้สูฐเสียปีละ 1.5 แสนล้านบาท หากส่งเสริมให้คนดื่มนนมแทนดื่มเหล้า โดยเปิดพื้นที่แบบโคเวิร์กกิงสเปซ ให้เด็กได้มีพื้นที่มาทำกิจกรรม อ่านหนังสือทำงาน มีไฟฟ้าให้ใช้ และมีอาหารเครื่องดื่มที่เป็นประโยชน์ให้เด็ก โดยเฉพาะบริเวณโดยรอบสถานศึกษา เชื่อว่าจะส่งเสริมให้เกิดการดื่มนมเพิ่มมากขึ้นได้
น.ส.จิรประภา บุญปาน นักกำหนดอาหารวิชาชีพ โรงเรียนบางกอกพัฒนา กล่าวว่า ที่คนทุกเพศทุกวัยควรดื่มนนม เนื่องจากร่างกายคนเราต้องการแคลเซียม เด็กต้องการใช้สร้างกระดูก คนสูงอายุต้องการช่วยให้กระดูกบางช้าลง โดยนมถือว่ามีสารอาหารครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ในตัวเอง โดยเด็ก 2 ขวบปีแรกก็สามารถเริ่มดื่มนมได้เลย แต่ปริมาณที่ต้องการแคลเซียม คือ อยุ 4-8 ปี ต้องการ 800 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนอายุ 9-71 ปีต้องการ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยนม 1 แก้ว คือ 250 มิลลิลิตร จะมีแคลเซียมประมาณ 300 มิลลิกรัม จึงควรดื่มนนมวันละ 1-2 แก้ว รวมแล้วให้ได้ 500 มิลลิลิตรต่อวัน โดยจะแบ่งกันดื่มหลายครั้งหรือดื่มครั้งเดียวให้ครบก็ได้ แล้วรับแคลเซียมจากอาหารอย่างอื่น เช่น ปลาตัวเล็กตัวน้อย ผักใบเขียว เต้าหู้ ถั่วเหลืองต่างๆ ซึ่งต้องกินควบคู่ ไม่ใช่กินอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ได้รับแคลเซียม เพราะอย่างผักใบเขียวต้องกินถึง 4 ทัพพี เพื่อให้ได้แคลเซียมเท่ากับนม 1 แก้ว หรือกะปิต้องกินถึง 4 ช้อน เป็นต้น
น.ส.จิรประภา กล่าวว่า ส่วนข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับการดื่มนม จากการค้นคว้าการศึกษาระดับโลกพบว่า นมช่วยลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ มีข้อมูลชัดเจน แต่ยังไม่มีความชัดเจนที่ว่าก่อมห้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ นอกจากนี้ การดื่มนมไม่ได้ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจตีบตัน ไม่ว่าจะเป็นนมโลว์แฟต หรือนมไขมันเต็มส่วนก็ตาม นอกจากนี้ นมยังเสริมสร้างแคลเซียมได้ดีกว่าอาหารเสริมแคลเซียม เพราะนมมีสารอาหารหลากหลายที่ช่วยให้การดูดซึมเอาไปใช้งานได้ดีกว่า เพราะนมมีทั้งโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และวิตามินบี 12 ที่ทำงานพร้อมกันและนำไปใช้ได้ แต่แคลเซียมเม็ดต้องไปหาสารอาหารเหล่านี้ในการช่วยดูดซึมอีก