xs
xsm
sm
md
lg

ชงเข้า สภา กทม. เตรียมเสนอให้อาคารสูงร่วมติดตั้งเครื่องพ่นละอองน้ำตามมาตรฐาน เร่งหาพื้นที่ทำสวนใหญ่ในเมือง

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ภาพช่วงเกิดวิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5. (แฟ้มภาพ)
กทม. ประสานมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมวัดค่าฝุ่นละอองอีกแรง พร้อมเตรียมติดตั้งเครื่องวัดค่าฝุ่นละอองเพิ่มจากเดิม เล็งยื่นรายงานให้อาคารสูงร่วมติดตั้งเครื่องพ่นน้ำตามมาตรฐาน เสนอเข้าสภาฯ เพื่อพิจารณา ทั้งนี้ กทม. เตรียมหาพื้นที่ใหญ่ทำสวนขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มธรรมชาติในเมืองและลด PM 2.5

เมื่อหมดหน้าฝนสิ่งที่จะกลับอีกครั้งคือ "ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5" และถ้านับเวลาอีกประมาณ 4-5 เดือน ความกดอากาศต่ำจะแพร่ลงสู๋ประเทศไทย ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก หลังจากปีที่ผ่านมากรุงเทพมหานครถือวิกฤตเรื่องนี้เป็นอย่างมาก โดยปีนี้กรุงเทพมหานครทำงานเชิงรุกเตรียมพร้อมกำจัดฝุ่นละอองแต่เนิ่นๆ ติดสเปรย์พ่นละอองน้ำตามอาคารสูง ปลูกต้นไม้ที่สามารถจับฝุ่นให้เป็นก้อนเมื่อโดนน้ำ และล่วงตกจากอากาศได้ ซึ่งกรุงเทพมหานครกำลังแก้ปัญหาให้ดีที่สุด

โดย เมื่อวันที่ 18 พ.ค. ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นายอรรถเศรษฐ์ เพชรมีศรี ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้สัมภาษณ์ถึงการรับสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต ว่า "เราได้รวบรวมเรื่องของฝุ่นละออง PM 2.5 เพื่อรายงานท่านผู้ว่าฯ โดยจะนำเข้าบอร์ดวันที่ 27 ซึ่งสถานการณ์ PM 2.5 เรารีบเอาเข้า และก็รีบทำเลย ทำตรงนี้แต่เนิ่นๆ PM 2.5 การบำบัดน้ำเสีย กับคลองมันเหมือนกัน แต่ที่ผ่านมาคนมักจะมองเราว่าเราไม่เคยเห็นเราทำงานเชิงรุก คราวนี้คนจะเห็นแล้วว่าเราทำงานเชิงรุก เราเริ่มทำก่อน พอเราทำงานเชิงรุก ในปีที่ผ่านมาเรามีปัญหา PM 2.5 ค่อนข้างเยอะ ซึ่งเราได้จับมือกับคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครื่องมือวัดของเราอยู่ภาคพื้นดิน 40 กว่าจุด แต่เราวัด PM 2.5 ได้ 23 จุด 23 เขต เพราะฉะนั้นในปีนี้อันดับแรกเลยที่เราจะรับ คือเราจะติดตั้งเครื่องวัด PM 2.5 เพิ่มเติม จากเดิมที่ต้องติดให้ได้ 44 จุด เราใช้ได้ 23 จุด เราก็ต้องติดเพิ่มไปอีก แล้วก็สั่งรถโมบายเพื่อจะวัดคุณภาพอากาศเพิ่มขึ้นมา โดยเราเห็นแล้วว่าปีที่ผ่านมาเครื่องมือเราไม่เพียงพอ พยากรณ์อะไรไม่ได้ กรุงเทพมหานครจึงไปจับมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพราะเขามีเครื่องมือวัดที่อยู่สูงกว่าเราเป็น 100 เมตร เราก็เอาค่าที่อยู่พื้นดินกับค่าที่อยู่ 100 เมตร เอามาวิจัยร่วมกัน ศึกษาร่วมกันกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำให้เราไปพบความจริงว่า PM 2.5 มันเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็ก เราจึงไปทดลองกับรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยการใช้สเปรย์น้ำเป็นละอองฝอยให้มีขนาดเดียวกับ PM 2.5 ถ้าใหญ่ไปจะไม่ได้ผล ก็เลยได้ผลว่าทฤษฎีนี้มาถูกทางแล้ว เมื่อเราปล่อยสเปรย์น้ำไปแล้ว ค่า PM 2.5 ลดลงมา 40% จากการที่เราเก็บสถิติเราลดลงในปีที่ผ่านมา ให้เป็นสปริงเกอร์ สเปรย์น้ำ ตามโรงเรียน อาคารสูงต่างๆ"

"โดยเราจะออกเป็นมาตรการติดตั้งสเปรย์ละอองน้ำทุกอาคารให้เป็นในแบบเดียวกันและมีมาตรฐาน ซึ่งเราจะเอาเข้าบอร์ดในอาทิตย์หน้า เพราะอีก 4-5 เดือน PM 2.5 ต้องมาแน่ๆ โดยการพ่นสเปรย์น้ำไปก็ต้องหยุดด้วย เพราะต้องให้ฝุ่นเกิดการเกาะตัว และตกมาจากอากาศ หลังจากนั้นก็นำเครื่องวัดของเราไปวัดผล และเมื่อเราผ่านคณะกรรมการในที่ประชุมของกรุงเทพมหานคร เราจะทำการประกาศให้กับสื่อฯ รูปแบบสื่อให้กับอาคาร และจะมีการประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชน รวมถึงการบอกให้ประชาชนรับรู้สถานการณ์ฝุ่นละอองมากขึ้น เพื่อให้ร่วมกันรณรงค์ลดฝุ่นละออง PM 2.5 โดยการเกิดฝุ่นละออง PM 2.5 เกิดจากการเผาผลาญของเครื่องยนต์ดีเซล ที่เกิดการเผาผลาญไม่หมด ซึ่งเราก็อาจจะเน้นไม่ให้รถยนต์ควันดำเข้ากรุงเทพมหานคร แต่ถ้าพวกรถเมล์ควันดำ เราก็สามารถที่จะไม่ให้เขายกเลิกให้บริการได้ เราจึงต้องให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเป็นคนจัดการดูแลในเรื่องของรถเมล์ "นายอรรถเศรษฐ์กล่าว

ทั้งนี้ ชนิดของต้นไม้ก็มีความสำคัญในการกำจัดฝุ่นละออง PM 2.5 ทางกรุงเทพมหานครจึงต้องปลูกต้นไม้ที่สามารถทำให้ฝุ่นละอองเกาะ เมื่อโดนน้ำแล้วจับตัวเป็นก้อนและตกลงมา ซึ่งการฉีดน้ำยังคงฉีดทุกวัน ตามกำหนดช่วงเวลาการฉีดพ่นน้ำ โดยขณะนี้กรุงเทพมหานครกำลังหาพื้นที่ทำสวนขนาดใหญ่ มีต้นไม้ขนาดใหญ่ เพื่อให้มีแหล่งธรรมชาติในพื้นที่กรุงเทพมหานครมากยิ่งขึ้น หรือการใช้คาร์บอนเครดิตเข้ามาช่วยประเทศอีกทาง

เจ้าหน้าที่ดับเพลิงกรุงเทพมหานครใช้หัวดับเพลิงพ่นน้ำลดฝุ่นละอองบนตึกใบหยก (แฟ้มภาพ)
ภาพช่วงเกิดวิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5. (แฟ้มภาพ)
(แฟ้มภาพ)


กำลังโหลดความคิดเห็น