xs
xsm
sm
md
lg

กทม. พร้อมรับมือหน้าฝน เผย พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมลดลงเกินครึ่ง เร่งพัฒนาคลองเล็ก-คลองใหญ่ให้น้ำใส

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เมื่อเข้าสู่เดือนพฤษภาคม กลิ่นอายหน้าฝนก็เริ่มขึ้นในประเทศไทย และพื้นที่ที่ถือได้ว่าถูกจับตามองมากที่สุดคือ "กรุงเทพมหานคร" เมืองหลวงของประเทศไทย โดยที่ผ่านมากรุงเทพมหานครมีพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมถึง 50 พื้นที่ จนเกิดการระบายที่ไม่เสถียรมากนักในเวลาที่ผ่านมา ทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนถึงระบบระบายน้ำที่ไม่มีความพร้อม ซึ่งในปีนี้กรุงเทพมหานครให้คำตอบว่า พร้อมรับสถานการณ์น้ำฝนในปีนี้มากกว่าเดิม รวมถึงการบำบัดน้ำเสียให้ดีขึ้น

วันนี้ (17 พ.ค.) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นายอรรถเศรษฐ์ เพชรมีศรี ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้สัมภาษณ์ถึงแผนรับมือสถานการณ์หน้าฝน จัดการระบบเรื่องของการระบายน้ำ รวมถึงการจัดการบำบัดน้ำเสีย ว่า "ในทุกหน้าฝนสำนักระบายน้ำกรุงเทพมหานคร มีแผนเฝ้าระวังจุดประเภทที่เรียก ว่าน้ำรอการระบายหรือพวกจุดอ่อนน้ำท่วม ในปีที่ผ่านมา หลังเกิดวิกฤตน้ำท่วมปี 54 น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครจึ้งได้ทำอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ ก็คือ อุโมงค์ระบายน้ำคลองบางซื่อ คลองบางซื่อก็คือคลองที่ตัดกับคลองลาดพร้าว ซึ่งจะช่วยให้ตัดยอดน้ำทางตอนบนของกรุงเทพมหานครเพื่อไม่ให้น้ำเข้าเมือง โดย ปัจจุบันอุโมงค์คลองบางซื่อได้เปิดใช้งานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กำลังการส่ง 60 ลบ.ม ./วินาที ซึ่งหลังจากนั้นเราได้ทำการเปิดใช้อุโมงค์บางซื่อแล้ว จุดอ่อนน้ำท่วมต่างๆ ของกรุงเทพมหานครได้ลดน้อยลง เพราะว่าตัวอุโมงค์บางซื่อเป็นหัวใจหลักในการครอบคลุมพื้นที่ 96 ตารางกิโลเมตร โดยเดิมทีกรุงเทพมหานครมีพื้นที่ที่เป็นจุดอ่อนหรือจุด เสี่ยงของน้ำท่วม 50 พื้นที่ ปัจจุบันเรามีจุดเฝ้าระวังอยู่เพียง 17 พื้นที่ และใน 17 พื้นที่นั้น เป็นพื้นที่ที่อยู่แนวก่อสร้างรถไฟฟ้า การก่อสร้างรถไฟฟ้าทำให้ไปเกิดการขวางทางน้ำ สำนักระบาย และกรุงเทพมหานคร จึงพยายามที่จะติดตั้งเครื่องสูบน้ำในจุดอ่อน เพื่อสูบลงคลอง ซึ่งทางกรุงเทพมหานครได้มีการขุดลอกคูคลองก่อนถึงเข้าหน้าฝน เก็บวัชพืชต่างๆ เพื่อให้คลองสามารถรับน้ำได้มากขึ้น แล้วหลังจากนั้นทำความสะอาดท่อระบายน้ำควบคู่กันไป โดยกรุงเทพมหานครทำความสะอาดท่อระบายน้ำไม่ต่ำกว่า 6,000- 7,000 กิโลเมตร ซึ่งท่อระบายน้ำที่กรุงเทพมหานครดูแลมีมากกว่า 20,000 กิโลเมตร และจะมีรอบการทำความสะอาดทั้ง 50 เขต ซึ่งสำนักระบายน้ำก็จะทำด้วย 7,000 กิโลเมตรต่อปี สลับสับเปลี่ยนกันไป เพราะฉะนั้นความพร้อมในการรับสถานการณ์น้ำฝนกรุงเทพมหานครค่อนข้างพร้อม"

"โดยเรามีศูนย์ป้องกันน้ำท่วม ซึ่ง ในศูนย์ป้องกันน้ำท่วมประกอบไปด้วย เรดาร์พยากรณ์อากาศเป็นของเราเอง มี 2 ตัว 2 จุดในการพยากรณ์อากาศคือ หนองแขมและหนองจอก ซึ่งเรดาร์ตัวนี้เป็นตัวที่ค่อน ข้างทันสมัย สามารถบอกล่วงหน้าได้ว่ากลุ่มฝนกลุ่มเมฆเข้าสู่กรุงเทพมหานครช่วง ไหน เวลาไหน มันจึงทำให้เราเตรียมการพร่องน้ำในท่อระบายน้ำ ศูนย์นี้จึงเป็น หัวใจของการพัฒนาจัดการน้ำในกรุงเทพมหานคร พร้อมกับตัวสำนักระบายน้ำเรามี ระบบสื่อสารที่ให้ดำเนินการปิดอุปกรณ์เช่น ปั๊มน้ำ ได้ถูกต้องตามเวลา มันเป็นเรื่องการบริหารจัดการ กรุงเทพมหานครเชื่อมั่นได้ว่าจุดที่น้ำรอการระบายจะลดน้อยกว่า ปีที่ผ่านมา และหลายๆ โครงการที่เราทำ และทำเสร็จแล้ว อย่างวอเตอร์แบงก์วอเตอร์แบงก์วงเวียนบางเขนที่เคยมีปัญญาตลอดเวลา เราได้ทำการเสร็จแล้วและน้ำจะไม่ท่วมขังอีก รวมถึงวงเวียนหลักสี่ ซึ่งเราได้เพิ่มประสิทธิภาพปั๊มในการสูบออกลง สู่แม่น้ำเจ้าพระยา และบำรุงรักษา โดยกำลังการสูบที่สูบลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา กำลัง 2,000 ลบ.ม./วินาที โดยเราพยายามทำให้การสูบปลายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยามีประสิทธิภาพสูงสุด โดยจะทำงานควบคู่กัน ปริมาณน้ำจะเข้าไปได้ต้องสะอาด คนไม่ทิ้งขยะ ซึ่งเราก็รณรงค์ไม่ให้คนทิ้งขยะ เพื่อไม่ให้ขยะไปติดตะแกรงหน้าโรงสูบได้ เมื่อมีขยะไปติดหน้าโรงสูบ มันจะทำให้มีปัญหาการสูบน้ำ ที่ผ่านมาปริมาณขยะเยอะมาก โดยปริมาณขยะในคลองสายหลักไม่ว่าจะเป็นคลองเปรมประชากร คลอง ลาดพร้าว คลองพระยาสุเรนทร์ คลองพระโขนง ปริมาณขยะต่อวันไม่ต่ำกว่า 20-30 ตัน สิ่งที่เรากลัวที่สุดคือขยะชิ้นใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นที่นอน ไม่ว่าโซฟา จะไปติดที่หน้าโรงสูบหมดที่ทำให้เกิดปัญหาการระบายน้ำ"นายอรรถเศรษฐ์กล่าว

นายอรรถเศรษฐ์ เพชรมีศรี กล่าวว่า "ตอนนี้กรุงเทพมหานครได้มีโครงการพัฒนาชุมชนริมคลองให้ขึ้นมาอยู่บน โครงการที่เรากำลังทำอยู่คือโครงการคลองลาดพร้าว ดำเนินการไปได้กว่า 50% ซึ่งเราคิดว่าคงต้องใช้เวลาอยู่พอสมควรที่จะทำให้ทั้ง คลองที่มีความยาวมากกว่า 30 กว่ากิโลเมตร ให้ชุมชนที่อยู่ในคลองขึ้นมาบนบกให้ หมด เพราะฉะนั้นในปีนี้กรุงเทพมหานครจะเริ่มพัฒนาคลองเปรมประชากร พร้อม ทำอุโมงค์คลองเปรมประชากรเพื่อมาช่วยตัดน้ำตอนบน เหมือนกับอุโมงค์คลอง บางซื่อ เขาเรียกว่าครอบคลุมได้มากกว่าคลองบางซื่อ เพราะมีขนาดกว่า 106 ตาราง กิโลเมตร เกือบเท่าหนึ่งของคลองบางซื่อ ซึ่งเราต้องใช้เวลาในการก่อสร้าง 5 ปี โดย จะเริ่มโครงการในปีหน้า และนี่ก็คือสิ่งที่สำนักระบายน้ำและกรุงเทพมหานครทำ งานร่วมกัน"

"เมื่อพูดถึงเรื่องคลองแล้ว ในเรื่องของการบำบัดน้ำ จะเห็นได้ว่าในช่วงงานพระราชพิธี บรมราชาภิเษก หลายคนต่างไปถ่ายรูป เช็กอินกันที่คลองหลอด ว่าทำไมสวย คลอง รอบเมือง ทั้งคลองบางลำพู คลองผดุงกรุงเกษม จะเห็นได้ว่าคลองพวกนี้สวยมาก และก็จะมีคำถามอีกว่าจะสวยแบบนี้ไปตลอดไหม ซึ่งไม่สวยเฉพาะพระราชพิธีฯ จริงๆ แล้วสวยมานานแล้ว แต่เนื่องจากคนไม่ได้สังเกต แต่กทม. ไม่ได้นิ่งดูดายเลยว่า เราอยากกลับไปเป็นเวนิสตะวันออก แต่ปัจจัยมันมี การที่ทำให้คลองใสและสวยได้ 1.คือต้องไม่ทิ้งน้ำเสีย โดยในพื้นที่จัดงานเรามีโรงบำบัดน้ำเสียเรียกว่า โรงบำบัดน้ำ เสียรัตนโกสินทร์ แต่มันก็มีจุดที่น้ำเสียรั่วไหลเข้ามา 40 กว่าจุด ซึ่งคลองไม่ได้ใสได้ ในช่วงงานพระราชพิธีฯ มันต้องทำมาก่อนล่วงหน้าแล้ว ค่อยๆ ทำมา มันถึงจะใส มันถึงจะสวย" นายอรรถเศรษฐ์กล่าว

นายอรรถเศรษฐ์ เพชรมีศรี กล่าวว่า "อีกเรื่องคือเรื่องการบำบัดน้ำเสีย ค่าบำบัดน้ำเสีย ผลกระทบก็กลายเป็นว่าไปผลัก ภาระให้ประชาชน จริงๆ แล้วไม่ใช่ หลักความเป็นจริงแล้ว คนใช้ต้องเป็นคนจ่าย น้ำ เสียเกิดจากน้ำดี น้ำดีที่มาจากประปา คิดง่ายๆ ว่า การประปาจ่ายน้ำประปาต่อวัน ประมาณ 5 ล้านลบ.ม./วัน ใช้จริง 30% บน 5 ล้าน นอกนั้นจะเป็นน้ำทิ้งน้ำเสียหมด เพราะฉะนั้นมันต้องเหลือน้ำบำบัดอยู่เกือบ 4 ล้าน ใน 4 ล้าน กรุงเทพมหานครมี โรงบำบัดน้ำเสียอยู่ 8 โรงใหญ่ มีกำลังบำบัด 1.12 ล้านลบ.ม./วัน เราเทียบเลยว่า 8 โรงได้ 1 ล้าน ขาดอีก 3 ล้านลบ.ม. เราก็สร้างโรงบำบัดน้ำเสียอีกประมาณ 20 โรง เพราะฉะนั้น 20 โรง เงินในการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียมันสูงมาก เราจึงจำเป็นต้อง เก็บค่าบำบัดเพื่อนำเงินมาพัฒนาคูเมือง หลายคนบอกทำยังไงก็ได้ให้แสนแสบใส และเรามีโรงบำบัดไม่พอ จึงจะทำยังไงให้คลองแสนแสบใส โดยการที่เราจะทำให้มันยั่งยืน ต้องมีการสร้างโรงบำบัดและมีท่อรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่ เพื่อไม่ให้คนทิ้งน้ำเสียลงคลอง จากนั้นแล้วเอาน้ำมาบำบัด แล้วจึงปล่อยลงคลอง ไม่ใช่เอาน้ำเสียทิ้งลงไป แล้วไม่ผ่านการบำบัด มันต้องนำน้ำมาบำบัดก่อน ถึงจะนำไปใช้ได้อีก คือเป็นการ ตอบโจทย์ว่ากรุงเทพมหานครทำให้เห็น"

"โดยจะเห็นว่าโรงบำบัดน้ำเสียรัตนโกสินทร์ซึ่งมีการบริหารจัดการโดยการเอาน้ำดีจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาเติมคลอง 3 คลองนี้สวยขึ้นมาได้ มันจึงเป็นจุดพิสูจน์แล้วว่าคลองแสนแสบจะกลับมาสวยใหม่ไม่ได้ แต่มันมีปัจจัยคือต้องใช้เงิน เมื่อได้เงินมาก็ต้องเอาไปทำโรงบำบัดน้ำเสีย เพราะฉะนั้นจะได้เงินมาต้องเรียกเก็บจากผู้ใช้ แต่ไม่ใช่ว่ากรุงเทพมหานครจะไปเก็บ กับครัวเรือน เราเริ่มเก็บจากผู้ประกอบการรายใหญ่ เช่น โรงแรมที่ต้องใช้น้ำเยอะ ซึ่ง เราจะคิดจากกลุ่มนี้ก่อนครัวเรือน โดยตอนนี้ขั้นตอนการเก็บค่าบำบัดเข้าสู่สภากทม. เรื่องของการแก้กฎระเบียบบางตัว ที่ต้องเก็บผู้ประกอบการรายใหญ่ เพราะเขาส่วนได้ส่วนเสีย เขาเป็นกิจการ เขามีรายได้ ซึ่งการเก็บค่าบำบัดไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับเขา และนี่คือการหลักการคิดของกรุงเทพมหานคร และพยายามพิสูจน์ให้เห็นว่าการที่คลองที่จะไม่กลับมาใส มันไม่ใช่ แต่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามันกลับมาใสได้ เพียงแค่ 3 คลองที่เราทำไป เป็นคลองขนาดเล็ก แต่คลองแสนแสบมีขนาดที่ใหญ่ มีความซับซ้อน ในการทำใสยากขึ้นกว่า 3 คลองขนาดเล็ก แต่คลองที่เราทำให้ใส ก็ต้องถูกถามว่าจะใสเหมือนเดิมไหม อยู่ได้อีกนานไหม โดยการทำความสะอาดเก็บขยะในคลอง เรามีเจ้าหน้าที่ทำอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว เพียงแต่เราไม่ได้แจงถึงค่าใช้จ่ายที่ทำให้คลองใส เพราะค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ซึ่งตอนนี้คลองทั้ง 3 คลองนี้ยังมีการดูแลอยู่ และไม่มีทางดำอีกแล้ว เฉพาะในช่วงการทำงานของท่านผู้ว่าฯ อัศวิน นโยบายของท่านคือ น้ำไม่มีวันกลับมาดำอีก" นายอรรถเศรษฐ์กล่าว
นายอรรถเศรษฐ์ เพชรมีศรี ที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร



กำลังโหลดความคิดเห็น