สนช.ผ่านวาระ 3 กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งก.การอุดมศึกษาฯ ทั้ง 9 ฉบับ จากนี้รอประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีบังคับใช้เป็นทางการ รอ ครม.ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมฯ เพื่อทำงานมีกรอบเวลา 3 ปี
วันนี้ (5 มี.ค.) ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม สนช.ได้พิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เหลือจำนวน 9 ฉบับ ในวาระ 2 และ 3 และมีมติเห็นชอบวาระ 3 ทั้งหมด ดังนี้ ร่างพ.ร.บ.ระเบียบบริหารกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมพ.ศ... ร่างพ.ร.บ.สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ... ร่างพ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ... ร่างพ.ร.บ.การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ... ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ(ฉบับที่...) พ.ศ.... ร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอึดมศึกษา (ฉบับที่) พ.ศ... ร่างพ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน (ฉบับที่..)พ.ศ.... ร่างพ.ร.บ.การบริหารส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่...) พ.ศ... ร่างพ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการวิจัย (ฉบับที่...) พ.ศ... ทั้งนี้ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษาฯ มีทั้งหมด 11 ฉบับ โดยก่อนหน้านั้นสนช.ได้ผ่านความเห็นชอบไปแล้ว 2 ฉบับคือ ร่างพ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ... และร่างพ.ร.บ. ว่าด้วยระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ....
ทั้งนี้ กฎหมายสำคัญซึ่งมีการอภิปรายค่อนข้างมากก่อนลงคะแนนเสียง คือ ร่างพ.ร.บ.ปรับปรุงกระทวงทบวงกรมฯ เห็นชอบ 126 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง, ร่างพ.ร.บ.ระเบียบบริหารกระทรวงการอุดมฯ เห็นชอบ 143 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง , ร่างพ.ร.บ.สภานโยบายฯ เห็นชอบ 151เสียง งดออกเสียง 5 เสียง, ร่างพ.ร.บ.การอุดมฯ เห็นชอบ 144 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง และร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ เห็นชอบ 137 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ส่วนที่เหลือเป็นกฎหมายลูกประกอบการจัดตั้งกระทรวงซึ่งไม่มีปัญหา
“ขั้นตอนจากนี้ รอการประกาศราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้กฎหมายมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ระหว่างนี้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ตั้งขึ้น สามารถทำงานได้ทันที โดยจะต้องเตรียมความพร้อมการจัดตั้งกระทรวงการอุดมฯ ทั้งเรื่องบุคลากรรวมถึงกำหนดระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ถูกกำหนดให้มีอายุการทำงาน 3 ปี”ศ.ดร.สมคิด กล่าวต่อไปว่า