xs
xsm
sm
md
lg

อ.เจษฎา ติงวัดค่าฝุ่น PM2.5 จากไอบุหรี่ไฟฟ้าผิดวิธี ทำค่าเพี้ยน แต่รับก่อฝุ่นได้เล็กน้อย มีสารพิษอื่นพ่วง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


อ.เจษฎา ชี้ ชมรมลมวิเศษทดลองวัดฝุ่น PM2.5 ในไอบุหรี่ไฟฟ้า ใช้วิธีการผิด ทำค่าที่ได้เพี้ยนจากความจริง แนะควรใช้วิธีแผ่นกรองดักฝุ่นตรวจสอบมากกว่า พร้อมเผยผลวิจัยต่างประเทศ “บุหรี่ไฟฟ้า” สร้าง PM2.5 น้อย 9.88 มคก./ลบ.ม. แต่ยังมีสารพิาอีกหลายอย่าง ทั้ง นิโคติน คาร์บอนิล โลหะหนัก ควรเลิกสูบเช่นกัน

วันนี้ (4 ก.พ.) รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ถึงกรรีชมรมลมวิเศษ ทำการทดลองวัดค่าฝุ่น PM2.5 จากไอบุหรี่ไฟฟ้าที่อัดในกล่องอะคริลิก ภายในงานแถลงข่าวของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า การทำการทดลองดังกล่าวไม่น่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เนื่องจากเครื่องวัดฝุ่นแบบพกพาจะแสดงค่าเพี้ยนไปมากเมื่อเจอไอน้ำ โดยเครื่องวัดฝุ่นเช่นนี้จะใช้หลักการการกระเจิงของแสงเลเซอร์ที่ยิงใส่ไดโอดวัดแสง แล้ววัดค่าการกระเจิงที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีฝุ่นมาขวางกัน มีความแม่นยำสูงในระดับน่าพอใจ แต่ค่าจะเพี้ยนสูงขึ้น เมื่อมีความชื้นสูง

รศ.ดร.เจษฎา ยังแนะนำว่า การนำเครื่องวัดฝุ่นไปวัดควันบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นไอน้ำ จะทำให้เครื่องโดนหลอก และแสดงค่าเยอะเกินจริง ควรใช้วิธีมาตรฐานแบบ gravimetric ที่อาศัยแผ่นกรองดักฝุ่นไปตรวจมากกว่า อย่างไรก็ตาม ไม่ได้แปลว่าควันบุหรี่ไฟฟ้าจะไม่มีฝุ่น PM2.5 เพราะมีงานวิจัยที่เคยศึกษาถึงปริมาณฝุ่น PM2.5 จากบุหรี่ไฟฟ้า (https://link.springer.com/artic…/10.1007%2Fs40572-015-0072-x) พบว่า ในบ้านที่มีการสูบบุรี่มวนเป็นเวลา 1 ชั่วโมง จะมีค่าฝุ่น PM2.5 อยู่ในระดับมัธยฐานที่ 572.52 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) คือ สูงมากกว่ามาตรฐานสุขภาพของไทยไปกว่า 11 เท่า ขณะที่บ้านที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีฝุ่น PM2.5 อยู่ในระดับเพียง 9.88 มคก./ลบ.ม. ใกล้เคียงกับบ้านที่ไม่ได้สูบบุหรี่ใดๆ เลย ซึ่งทดลอง 2 หลัง คือ 9.53 และ 9.36 มคก./ลบ.ม. แม้ว่า บุหรี่ไฟฟ้าจะปล่อยควันที่มีฝุ่น PM2.5 ออกมาน้อย แต่การสูบบุหรี่ไฟฟ้ายังให้สารพิษที่ไม่ดีต่อสุขภาพหลายอย่างออกมาด้วย ตั้งแต่นิโคติน คาร์บอนิล โลหะหนัก และสารอินทรีย์ระเหยง่ายอีหลายชนิด เลิกได้ ก็ควรเลิก




กำลังโหลดความคิดเห็น