ผู้ว่าฯ ร่วมหารือกับ “มูลนิธิเดอะวอยซ์ เสียงจากเรา” พร้อมผู้เกี่ยวข้อง ประชุมหารือแนวทางออกดูแลสุนัขจรจัด ด้าน “อัศวิน” ระบุ งดจับสุนัขจรจัดชั่วคราว เว้นแต่เป็นสุนัขสร้างความเดือดร้อน หรือมีลักษณะเป็นพิษสุนัขบ้า ประชาชนสามารถแจ้งได้ทันที
วันนี้ (28 พ.ย.) ที่ศาลาว่าการ กทม. (เสาชิงช้า) ณ ห้องเอราวัณ ชั้น 2 พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประชุมหารือแนวทางการดูแลสุนัขจรจัด ร่วมกับ เก๋ ชลลดา เมฆราตรี ในฐานะผู้ก่อตั้งและประธาน “มูลนิธิเดอะวอยซ์ เสียงจากเรา” และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยหลังจากการหารือว่า วันนี้ทางกรุงเทพมหานคร ได้รับเกียรติจากมูลนิธิ The Voice ซึ่งเป็นมูลนิธิหรือชมรมคนรักสัตว์เกี่ยวกับเรื่องสุนัข สืบเนื่องมาจากทางกรุงเทพมหานคร เห็นว่าทางพี่น้องประชาชน ได้ร้องเรียนมาเรื่องสุนัขกัดคนบ้่าง เกรงว่า จะเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ทางกรุงเทพมหานครจึงให้ทางสำนักงาเขต ส่งเจ้าหน้าที่มาเขตละ 6 คน มารับการอบรมในการที่จะจับสุนัขต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นสุนัขจรจัดโดยประมาณ 150,000 ตัว พอหลังจากเริ่มจับไป ขณะนี้จับไปหลายร้อยตัวพอสมควร และก็มีเจ้าของไปรับกลับบ้าง หรือ ผู้ที่รักสุนัขต่างๆ ไปรับกลับมาบ้าง ที่เหลือก็ยังถูกกักไว้ที่ศูนย์กักสุนัขที่ประเวศ แต่ว่ามันมีพวกชมรมคนรักสัตว์ต่างๆ คัดค้าน ในการจับสุนัข ในการจับที่ไม่้ถูกต้องตามวิธีหรือจับดะ สุ่มเสียงต่างๆ คือ เขาเข้าใจว่าเราเจอตรงไหนก็จับแต่ โดยข้อเท็จจริง ไม่ได้ีเป็นแบบนั้น
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง กล่าวต่อว่า เราชิญตัวแทนจากทางมูลนิธิ The Voice มาหารือกันหาทางออก ว่าจะทำอย่างไร ตั้งคณะทำงานหาทางออก หลายภาคส่วน ผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ มาเป็นคณะทำงาน ทำอย่างไร ศูนย์กักันที่เขตประเวศมันสะอาดพอไหม เลี้ยงดูสุนัขดีไหม ที่ทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเรามีทั้งหมด 16 โดม จะเก็บสุนัขได้ประมาณ 8,000 ตัว ทำไว้ได้ดีพอหรือไม่แล้วก็จะดูคณะทำงาน จะช่วยกันเขียนข้อกำหนดขึ้นมา การจับจะจับอย่างไร เช่น ได้รับแจ้งมาว่า เป็นกลุ่มเสบี่ยงต่อการรเป็นโรคพิษสุนัขบ้า หรือบางคนไม่ชอบก็เลยแจ้งให้จับไป ตรงนี้เราจะทำอนย่างไร ผมก็ยังยืนยันว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ทางกรุงเทพมหานคร จะหยุดการจับสุนัขไว้ชั่วคราว เว้นเสียแต่ที่จะจับมีกรณีเดียว ถ้ามีพี่น้องประชาชน แจ้งว่า ตรงนี้ คือน่าจะเป็นติดเชื้อพิษสุขนัขบ้า เกรงว่าจะไปกัดคนอื่น หรือว่าสุนัขที่ดุร้าย เจอใครผ่่านไปผ่านมาก็กัด เราก็จะไปจับในส่วนนั้น แต่ในส่วนที่สุนัขจรจัดที่อยู่ทั่วไป เราก็จะไม่จับ จนกว่าคณะทำงานของเรา มีคณะกรุงเทพมหานคร ร่วมกับมูลนิธิ The Voice ตั้งกฎเกณฑ์ข้อบังคับมาก่อนว่า การจับทำอย่างไร จับแล้วจะไปไว้อย่างไร ความสะอาดเพียงพอไหม
ด้านนางสาวชลลดา เมฆราตรี กล่าวว่า นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่ทางกรุงเทพมหานคร ได้เปิดโอกาสให้เครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อเป็นกระบอกเสียงให้กับสุนัขและแมวจรจัด โดยเครือข่ายจะร่วมตามติดและพิสูจน์แนวทางลการดำเนินการของทางกรุงเทพมหานคร
"กรณีที่หยุดจับสุนัขชั่วคราวต้องเป็นสุนัขที่ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชุมชน ส่วนสุนัขที่ดุร้าย สุนัขที่เป็นอันตรายหรือเสี่ยงติดโรคติดต่ี่อ ทางเครือข่ายมีความยินดีให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการจับทันที โดยตลอด ระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา กลุ่มคนรักสัตว์มีความกังวลใจต่อประเด็นดังกล่าว ขอให้คลายความกังวลได้ระดับหนึ่ง"นางสาวชลลดากล่าว
นางสาวชลดา เมฆราตรี กล่าวว่า ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณพี่น้องสื่อมวลชน รวมถึงพี่น้องคนรักสัตว์ที่เสนอตัวแนวคิดมาให้เรามาเป็นตัวแทน ไม่ว่าจะเป็น SOS , Soi Dog Foundation ที่ช่วยเหลือให้ข้อมูลเราในส่วนต่างๆ ที่ได้รับจดหมายเปิดผลึกที่วันนี้เรานำมาให้แล้ว