ในปัจจุบันประเทศไทยขาดแคลนแรงงานฝีมือสายอาชีพเป็นจำนวนมาก ข้อมูลสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ระบุว่า ปัจจุบันมีความต้องการแรงงานคุณภาพสายอาชีพมากถึง 500,000 คน ต่อปี [1] โดยช่วง 5 ปีต่อจากนี้ ต้องเร่งสร้างแรงงานฝีมือสายอาชีวะให้ได้ถึง 1.99 ล้านคนตามเป้าหมาย ไทยแลนด์ 4.0 ของภาครัฐที่ต้องการให้แรงงานกลุ่มนี้เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
แต่สิ่งที่ย้อนแย้งคือ ขณะที่ความต้องการในตลาดสูง แต่มีนักเรียนที่เลือกเรียนสายอาชีพในสัดส่วนที่ยังน้อย จากข้อมูลรายงาน “ผู้สำเร็จการศึกษาและประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2561” ของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2561 จำนวน 634,205 คน ว่าผู้จบในระดับ ปริญญาตรี ยังคงมีสัดส่วนสูงสุดจำนวน 400,650 คน (63.17%) ขณะที่ ผู้จบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีจำนวนเพียง 95,600 คน (15.07%), ม.3 จำนวน 69,591 คน (10.98%), ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 47,856 คน (7.55%), ม. 6 จำนวน 20,508 คน (3.23%) [2]
"จบอาชีวะจะไปทำอะไรกิน?" คือคำถามคุ้นหูที่สะท้อนถึงทัศนคติของสังคมไทยที่มีต่อการศึกษาสายอาชีพ ที่มองว่าการเรียนสายอาชีพนั้นยากที่จะสร้างอนาคตที่ดีได้ ซึ่งทัศนคติดังกล่าวคืออุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาแรงงานฝีมือในประเทศ
หนึ่งในความพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวเห็นได้จากนโยบายภาครัฐ กระทรวงแรงงาน ที่กำหนดค่าแรงฝีมือแรงงานอาชีพไว้สูงถึง 300-700 บาทต่อวันตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน 20 สาขา ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ ยานยนต์ อัญมณี และกลุ่มลอจิสติกส์ เป็นต้น [3]
ซึ่งการที่เด็กอาชีวะจะพัฒนาฝีมือแรงงานจนนำไปสู่ผลตอบแทนที่สามารถลี้ยงชีพได้ รวมถึงการสร้างอนาคตที่มั่นคงได้นั้น กุญแจสำคัญย่อมอยู่ที่ครูผู้ปลูกฝังผ่านการสอนที่เน้นปฏิบัติ และ ทันสมัย นำไปใช้ได้จริงทั้งวิชาเรียน และวิชาชีวิต
"ครู...เห็นอนาคตของทุกคนเสมอ"
โครงการอาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ โดยมูลนิธิเอสซีจี เล็งเห็นถึงความสำคัญของ "ครูอาชีวะ" ซึ่งสะท้อนผ่านหนังสั้นเรื่องล่าสุดที่มีเนื้อหาพูดถึงครูคนหนึ่ง ในห้องเรียนอาชีวะห้องหนึ่ง กับมุมมองของครูคนนั้นที่มีต่อบรรดานักเรียนของเขา
หนังสื่อให้เห็นว่า ในสายตาของผู้ชมอย่างเรา เด็กบางคนมาเรียนสาย เด็กบางคนทะลึ่ง ทะเล้น กวน เด็กบางคนยังต้องฝึกฝนอีกมาก แต่ขณะเดียวกัน ในสายตาของครูอาชีวะที่มีอุดมการณ์และมีคุณภาพนั้น สามารถเล็งเห็นอนาคตและศักยภาพของเด็ก ๆ เหล่านี้ว่าสามารถโตไปเป็นนายช่าง ผู้บริหาร หรือเจ้าของกิจการที่สามารถขับเคลื่อนประเทศต่อไปได้ ผ่านการสอนและการปลูกฝังที่ทุ่มเทของครู
"ไม่ว่าใครจะมองว่าเด็กอาชีวะเป็นอย่างไร แต่ครูก็ยัง..เชื่อมั่นและเห็นคุณค่า..ในตัวพวกเขา"
เพราะ
"อนาคตที่มองหา เริ่มจากครูที่มองเห็น"
สำหรับโครงการ อาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ โดย มูลนิธิเอสซีจี นั้นได้ดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และคุณภาพของภาคอาชีวศึกษา ตลอดมา นับตั้งแต่ปี 2556 โดยการดำเนินงานที่ผ่านมาล้วนมุ่งเน้นแก้ไขให้สังคมมีทัศนคติที่ดีต่อภาคอาชีวศึกษา พร้อมกับตอกย้ำและสร้างแรงบันดาลใจและความภาคภูมิใจให้นักเรียนอาชีวะรวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองเห็นว่าพวกเขาคือกลุ่มคนที่มีคุณภาพ มีความสำคัญและเป็นที่ต้องการอย่างยิ่งในตลาดแรงงานปัจจุบัน
หนังสั้นเรื่อง “Believe” มีกำหนดเผยแพร่ออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม ศกนี้ เป็นต้นไป ผ่านทาง YouTube Channel : scgfoundation และที่ Facebook page อาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ
ข้อมูลอ้างอิง :
[1] https://www.smartsme.co.th/content/73636
[2] “ผู้สำเร็จการศึกษาและประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2561” ของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2561 จำนวน 634,205 คน ; https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/lmia_th/434d960853f2b73eeef90f5e6c5fe9cf.pdf
[3] แรงงานมีฝีมือ 20 สาขา เฮ! รัฐบังคับเพิ่มค่าจ้างสูงสุด 700 บาท 10 ส.ค.นี้-โทษนายจ้างไม่จ่าย คุก 6 เดือนปรับ 1 แสน https://mgronline.com/politics/detail/9590000077926
แต่สิ่งที่ย้อนแย้งคือ ขณะที่ความต้องการในตลาดสูง แต่มีนักเรียนที่เลือกเรียนสายอาชีพในสัดส่วนที่ยังน้อย จากข้อมูลรายงาน “ผู้สำเร็จการศึกษาและประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2561” ของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2561 จำนวน 634,205 คน ว่าผู้จบในระดับ ปริญญาตรี ยังคงมีสัดส่วนสูงสุดจำนวน 400,650 คน (63.17%) ขณะที่ ผู้จบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีจำนวนเพียง 95,600 คน (15.07%), ม.3 จำนวน 69,591 คน (10.98%), ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 47,856 คน (7.55%), ม. 6 จำนวน 20,508 คน (3.23%) [2]
"จบอาชีวะจะไปทำอะไรกิน?" คือคำถามคุ้นหูที่สะท้อนถึงทัศนคติของสังคมไทยที่มีต่อการศึกษาสายอาชีพ ที่มองว่าการเรียนสายอาชีพนั้นยากที่จะสร้างอนาคตที่ดีได้ ซึ่งทัศนคติดังกล่าวคืออุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาแรงงานฝีมือในประเทศ
หนึ่งในความพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวเห็นได้จากนโยบายภาครัฐ กระทรวงแรงงาน ที่กำหนดค่าแรงฝีมือแรงงานอาชีพไว้สูงถึง 300-700 บาทต่อวันตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน 20 สาขา ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ ยานยนต์ อัญมณี และกลุ่มลอจิสติกส์ เป็นต้น [3]
ซึ่งการที่เด็กอาชีวะจะพัฒนาฝีมือแรงงานจนนำไปสู่ผลตอบแทนที่สามารถลี้ยงชีพได้ รวมถึงการสร้างอนาคตที่มั่นคงได้นั้น กุญแจสำคัญย่อมอยู่ที่ครูผู้ปลูกฝังผ่านการสอนที่เน้นปฏิบัติ และ ทันสมัย นำไปใช้ได้จริงทั้งวิชาเรียน และวิชาชีวิต
"ครู...เห็นอนาคตของทุกคนเสมอ"
โครงการอาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ โดยมูลนิธิเอสซีจี เล็งเห็นถึงความสำคัญของ "ครูอาชีวะ" ซึ่งสะท้อนผ่านหนังสั้นเรื่องล่าสุดที่มีเนื้อหาพูดถึงครูคนหนึ่ง ในห้องเรียนอาชีวะห้องหนึ่ง กับมุมมองของครูคนนั้นที่มีต่อบรรดานักเรียนของเขา
หนังสื่อให้เห็นว่า ในสายตาของผู้ชมอย่างเรา เด็กบางคนมาเรียนสาย เด็กบางคนทะลึ่ง ทะเล้น กวน เด็กบางคนยังต้องฝึกฝนอีกมาก แต่ขณะเดียวกัน ในสายตาของครูอาชีวะที่มีอุดมการณ์และมีคุณภาพนั้น สามารถเล็งเห็นอนาคตและศักยภาพของเด็ก ๆ เหล่านี้ว่าสามารถโตไปเป็นนายช่าง ผู้บริหาร หรือเจ้าของกิจการที่สามารถขับเคลื่อนประเทศต่อไปได้ ผ่านการสอนและการปลูกฝังที่ทุ่มเทของครู
"ไม่ว่าใครจะมองว่าเด็กอาชีวะเป็นอย่างไร แต่ครูก็ยัง..เชื่อมั่นและเห็นคุณค่า..ในตัวพวกเขา"
เพราะ
"อนาคตที่มองหา เริ่มจากครูที่มองเห็น"
สำหรับโครงการ อาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ โดย มูลนิธิเอสซีจี นั้นได้ดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และคุณภาพของภาคอาชีวศึกษา ตลอดมา นับตั้งแต่ปี 2556 โดยการดำเนินงานที่ผ่านมาล้วนมุ่งเน้นแก้ไขให้สังคมมีทัศนคติที่ดีต่อภาคอาชีวศึกษา พร้อมกับตอกย้ำและสร้างแรงบันดาลใจและความภาคภูมิใจให้นักเรียนอาชีวะรวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองเห็นว่าพวกเขาคือกลุ่มคนที่มีคุณภาพ มีความสำคัญและเป็นที่ต้องการอย่างยิ่งในตลาดแรงงานปัจจุบัน
หนังสั้นเรื่อง “Believe” มีกำหนดเผยแพร่ออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม ศกนี้ เป็นต้นไป ผ่านทาง YouTube Channel : scgfoundation และที่ Facebook page อาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ
ข้อมูลอ้างอิง :
[1] https://www.smartsme.co.th/content/73636
[2] “ผู้สำเร็จการศึกษาและประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2561” ของกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ประมาณการผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานปี 2561 จำนวน 634,205 คน ; https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/lmia_th/434d960853f2b73eeef90f5e6c5fe9cf.pdf
[3] แรงงานมีฝีมือ 20 สาขา เฮ! รัฐบังคับเพิ่มค่าจ้างสูงสุด 700 บาท 10 ส.ค.นี้-โทษนายจ้างไม่จ่าย คุก 6 เดือนปรับ 1 แสน https://mgronline.com/politics/detail/9590000077926
(พื้นที่ประชาสัมพันธ์)