โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
ปัญหา “สาธารณสุขชายแดน” อาจเหมือนเรื่องไกลตัว แต่ที่จริงใกล้ตัวกว่าที่คิด เพราะเมื่อมีโรคติดต่อแพร่ระบาดเข้ามาทางพรมแดน หากไม่มีการเฝ้าระวังป้องกันควบคุม แม้แต่คนเมืองก็อาจติดโรคอย่างง่ายดาย
ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีพรมแดนทางบกยาวถึง 4,863 กิโลเมตร ติดต่อกับ 4 ประเทศเพื่อนบ้าน รวม 31 จังหวัด แบ่งเป็นพรมแดนไทย-พม่า 10 จังหวัด ไทย-ลาว 12 จังหวัด ไทย-กัมพูชา 7 จังหวัด และไทย-มาเลเซีย 4 จังหวัด โดยมี 2 จังหวัดที่ติดพรมแดน 2 ประเทศ คือ เชียงราย ติดพม่าและลาว และ อุบลราชธานี ติดลาวและกัมพูชา ขณะที่จุดผ่านแดนมีถึงกว่า 90 ช่องทาง เป็นจุดผ่านแดนถาวรประมาณ 34 แห่ง จุดผ่อนปรน 56 แห่ง
จะเห็นได้ว่านอกจากจุดผ่านแดนแล้ว ยังมีพรมแดนตามธรรมชาติระยะทางหลายพันกิโลเมตรในการเข้าออก ซึ่งหากไม่มีการเฝ้าระวังคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามา หากเป็นผู้ป่วยโรคติดต่อ ก็มีโอกาสแพร่เชื้อในประเทศไทยสูง ส่งผลให้คนไทยป่วยและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอย่างมาก ซึ่งที่ผ่านมามักเผชิญปัญหาเรียกเก็บค่าใช้จ่ายไม่ได้ เพราะต้องดูแลตามหลักมนุษยธรรม
จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า ตั้งแต่ ม.ค. - มิ.ย. 2561 มีผู้ป่วยต่างด้าวเข้ารักษาพยาบาลจำนวน 2,171,351 ราย เป็นผู้ป่วยใน 80,034 ราย และผู้ป่วยนอก 2,091,317 ราย มีค่าใช้จ่ายกว่า 2.2 พันล้านบาท ในจำนวนนี้ไม่สามารถเรียกเก็บได้ 1.1 พันล้านบาท สำหรับโรคติดต่อที่มักเป็นปัญหาตามแนวชายแดน คือ โรคไข้เลือดออก โรคมาลาเรีย และวัณโรค ซึ่งหากไม่ดูแลรักษาอย่างดี อาจถึงขั้นเสียชีวิต และสามารถแพร่เชื้อเป็นวงกว้างได้อีก
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโรงพยาบาลพื้นที่ชายแดน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ว่า การดูแลสุขภาพประชาชนมีความซับซ้อน ยิ่งเป็นโรงพยาบาลพื้นที่ชายแดนยิ่งซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เพราะต้องดูแลทั้งประชาชนในพื้นที่และประชากรเพื่อนบ้านที่ข้ามแดน ทั้งนี้ โรคที่มาพร้อมกับประชากรข้ามแดนเป็นเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะช่องทางไม่ได้มีแค่ช่องทางถาวร แต่ยังมีพรมแดนตามธรรมชาติจำนวนมากที่เข้ามาได้ตลอด สิ่งที่ควรดำเนินการ คือ ต้องมีการวางระบบ เพิ่มความเข้มแข็งของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และบูรณาการทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะในระดับอำเภอ
ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่ รพ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี พบว่า มีระบบบริหารจัดการปัญหาสาธารณสุขชายแดนที่โดดเด่น โดยอาศัยโมเดลหรือกลไกของ “อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.)” ในการช่วยป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่อาจแพร่ระบาดโดยประชากรข้ามแดน
นพ.ฉัทฐกร ธัญเกียรติ ผอ.รพ.สวนผึ้ง เล่าว่า โรงพยาบาลรับผิดชอบสุขภาพและรักษาประชากรในพื้นที่จำนวน 60,341 คน แยกเป็นสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 27,225 คน สิทธิประกันสังคม 4,363 คน สวัสดิการข้าราชการ 1,933 คน รอพิสูจน์สัญชาติ 16,299 คน ประชากรในศูนย์อพยพ 6,700 คน แรงงานต่างด้าว 832 คน บุคคลไร้สิทธิ 2,989 คน ซึ่งในกลุ่มหลังสุดมีอัตรามารับบริการสูงถึง 24,000 ครั้งต่อปี มีค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลที่เรียกเก็บไม่ได้ราวปีละ 2.4 ล้านบาท ส่วน รพ.สต.ใน อ.สวนผึ้งที่เรียกเก็บไม่ได้ราว 6.8 แสนบาท
“อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี มีการเดินทางข้ามพรมแดนธรรมชาติหลายช่องทาง ทำให้ประชากรของ 2 ประเทศมีการเข้าออกจำนวนมาก ซึ่งเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคชายแดนมากกว่าพื้นที่อื่น โดยโรคที่มีความเสี่ยงคือ วัณโรคและมาลาเรีย แต่สิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาคือการสร้างรั้วที่เข้มแข็ง โดยให้ความรู้ประชาชนมีความรู้เรื่องการป้องกันโรค และอาศัยกลไกของ อสต.ในการช่วยประสานและทำความเข้าใจกับคนต่างด้าว เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพและเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคระบาด” นพ.ฉัทฐกร กล่าว
สำหรับที่มาของ อสต.นั้น นางวารี สายันหะ สาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ระบุว่า อ.สวนผึ้ง มีเขตติดต่อกับประเทศพม่า มีช่องทางเข้าออกจำนวนมาก ทำให้มีความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรค เพราะไม่ทราบว่ามีใครเข้าออกบ้าง และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่สามารถสื่อภาษาให้คนต่างด้าวเข้าใจเรื่องการเฝ้าระวังป้องกันโรคได้ ในปี 2559 จึงอบรม อสต.เพื่อช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเฝ้าระวังโรคตามแนวชายแดน มีทั้งหมด 30 คน ใน 6 หมู่บ้านชายแดนของ ต.สวนผึ้ง และ ต.ตะนาวศรี
“สิ่งที่มอบหมายให้ อสต.ดำเนินการคือ สำรวจข้อมูลคนที่เข้าออกผ่านพรมแดนธรรมชาติ เข้ามาแล้วไปอยู่บ้านใคร และจัดทำเป็นทะเบียน พร้อมเฝ้าระวังโรค สร้างระบบเครือข่ายให้เชื่อมโยงกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใน รพ.สต. หากพบเห็นสิ่งผิดปกติ และสิ่งที่เด่นที่สุดคือ ความสามารถในการเจาะเลือดทางปลายนิ้วเพื่อตรวจหาเชื้อมาลาเรีย ซึ่งเมื่อรู้ผลก็จะจ่ายยาบำบัดรักษาทันที และติดตามการรักษาให้ครบระยะเวลา 28 วัน โยมีการจัดตั้งคลินิกมาลาเรียในหมู่บ้านชายแดน 11 แห่ง ใน ต.ตะนาวศรี 5 หมู่บ้าน 5 แห่ง และ ต.สวนผึ้ง 5 หมู่บ้าน 6 แห่ง โดย อสต.จะสื่อสารกับต่างด้าวว่า มีไข้มาหรือไม่ หากมีไข้ก็จะให้ความรู้และแนะนำเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย หากเจอก็สามารถจ่ายยาได้ หากไม่พบเชื้อก็จะให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว ให้ยาลดไข้ เป็นต้น” นางวารี กล่าว
นางวารี กล่าวว่า โรคมาลาเรียถือเป็นปัญหาสาธารณสุขชายแดนอย่างมากหรือเป็นโรคประจำถิ่นในพื้นที่ โดยเมื่อ 30 ปีก่อน อัตราการป่วยอยู่ที่ 30,000 คนต่อประชากรแสนคน แต่หลังจากดำเนินการเฝ้าระวังด้วยกลไกต่างๆ โดยเฉพาะ อสต.พบว่า อัตราป่วยโรคมาลาเรียในพื้นที่ลดลงอย่างมากเหลือเพียง 100 คนต่อประชากรแสนคน
ขณะที่ นายวิชิต วงค์ทอง อายุ 38 ปี อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวสวนผึ้ง กล่าวว่า ตนเป็นชาวกะเหรี่ยง ทำให้สามารถพูดได้ 2 ภาษาคือ ไทยและกะเหรี่ยง โดยที่ผ่านมาเป็น อสม.อยู่แล้ว จึงตัดสินใจเข้ามาเป็น อสต.เพื่อช่วยในเรื่องการสื่อสารด้านสุขภาพ ซึ่งเมื่อพวกเขาเข้าใจก็พร้อมที่จะปฏิบัติตาม ความเป็นอยู่ของเขาก็ดีขึ้น ความสะอาดรอบบ้านต่างๆ ก็ดีขึ้น ในการแนะนำจะแนะนำเรื่องการเป็นอยู่ เรื่องโรคต่างๆ เช่น ไข้เลือดออก จะแปลให้เขาฟังว่าควบคุมอย่างไร ต้องกำจัดภาชนะข้างบ้านให้เรียบร้อย กำจัดลูกน้ำยุงลาย เป็นต้น ซึ่งจากการที่เราพูดภาษาเขาได้ ทำให้ได้รับการตอบรับที่ดี พูดให้เขาฟังว่าเรามาเพื่ออะไร แม้บางครั้งจะมีปัญหาไม่เข้าใจ ไม่ทำตาม เราก็ต้องพูดให้เขาเข้าใจและพูดบ่อยๆ เพราะมีโอกาสเจอกันบ่อยในชีวิตประจำวัน เพราะอยู่ในพื้นที่เดียวกัน อย่างไข้เลือดออกก็จะบอกว่า เป็นแล้วร้ายแรง รักษาไม่ทันถึงแก่ชีวิตได้ หรืออย่างเรื่องการกินยารักษามาลาเรียหากพบว่าติดเชื้อ ก็จะให้กินยาต่อหน้าเป็นเวลา 3 วัน ซึ่งเป็นช่วงสำคัญในการกำจัดเชื้อมาลาเรีย และติดตามให้กินยาให้ครบ เพราะหากไม่กินยาอย่างต่อเนื่อง จะเกิดปัญหาเชื้อดื้อยาและแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ และจะบังคับให้อยู่ในไทยจนกว่าจะหาย
“ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในพื้นที่กับต่างด้าวหรือชาวเขานั้น ในพื้นที่จะมีการใช้ภาษากะเหรี่ยง กะหร่าง มอญ และพม่า ส่วนการเฝ้าระวังชาวต่างด้าวที่เข้ามาทางพรมแดนธรรมชาตินั้น โดยหลักแล้วพวกเขาจะเข้ามาพักในหมู่บ้าน เราจึงมีการทำประชาคมหมู่บ้านว่า หากบ้านใดที่มีชาวต่างด้าวเข้ามาอาศัยอยู่ด้วยหรือเดินทางข้ามแดนมาให้แจ้งผู้ใหญ่บ้าน แล้วติดต่อ อสม. ในการเข้ามาช่วยเฝ้าระวังในเรื่องของโรคติดต่อ” นายวิชิต กล่าว
สำหรับปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาต่างด้าวและการเรียกเก็บเงินไม่ได้นั้น นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รองปลัด สธ. ระบุว่า ในการแก้ปัญหานั้นมีหลายประเด็น ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีการจัดทำบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ส่วนกลุ่มพิสูจน์สัญชาติก็มีการตั้งกองทุนดูแลค่ารักษา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีการหารือในการจัดตั้งกองทุนสุขภาพชายแดน เป็นกองทุนเฉพาะเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ 31 จังหวัดชายแดน โดยจะจัดสรรงบประมาณไปให้แต่ละเขตสุขภาพในการบริหารจัดการให้เกิดการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพชายแดน ซึ่งงบประมาณอาจได้จากการขายบัตรประกันสุขภาพและรัฐสนับสนุนด้วย โดยมีการนำเสนอ พล.อ.ฉัตรชัยในเบื้องต้นไปแล้ว
ปัญหา “สาธารณสุขชายแดน” อาจเหมือนเรื่องไกลตัว แต่ที่จริงใกล้ตัวกว่าที่คิด เพราะเมื่อมีโรคติดต่อแพร่ระบาดเข้ามาทางพรมแดน หากไม่มีการเฝ้าระวังป้องกันควบคุม แม้แต่คนเมืองก็อาจติดโรคอย่างง่ายดาย
ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีพรมแดนทางบกยาวถึง 4,863 กิโลเมตร ติดต่อกับ 4 ประเทศเพื่อนบ้าน รวม 31 จังหวัด แบ่งเป็นพรมแดนไทย-พม่า 10 จังหวัด ไทย-ลาว 12 จังหวัด ไทย-กัมพูชา 7 จังหวัด และไทย-มาเลเซีย 4 จังหวัด โดยมี 2 จังหวัดที่ติดพรมแดน 2 ประเทศ คือ เชียงราย ติดพม่าและลาว และ อุบลราชธานี ติดลาวและกัมพูชา ขณะที่จุดผ่านแดนมีถึงกว่า 90 ช่องทาง เป็นจุดผ่านแดนถาวรประมาณ 34 แห่ง จุดผ่อนปรน 56 แห่ง
จะเห็นได้ว่านอกจากจุดผ่านแดนแล้ว ยังมีพรมแดนตามธรรมชาติระยะทางหลายพันกิโลเมตรในการเข้าออก ซึ่งหากไม่มีการเฝ้าระวังคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามา หากเป็นผู้ป่วยโรคติดต่อ ก็มีโอกาสแพร่เชื้อในประเทศไทยสูง ส่งผลให้คนไทยป่วยและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอย่างมาก ซึ่งที่ผ่านมามักเผชิญปัญหาเรียกเก็บค่าใช้จ่ายไม่ได้ เพราะต้องดูแลตามหลักมนุษยธรรม
จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า ตั้งแต่ ม.ค. - มิ.ย. 2561 มีผู้ป่วยต่างด้าวเข้ารักษาพยาบาลจำนวน 2,171,351 ราย เป็นผู้ป่วยใน 80,034 ราย และผู้ป่วยนอก 2,091,317 ราย มีค่าใช้จ่ายกว่า 2.2 พันล้านบาท ในจำนวนนี้ไม่สามารถเรียกเก็บได้ 1.1 พันล้านบาท สำหรับโรคติดต่อที่มักเป็นปัญหาตามแนวชายแดน คือ โรคไข้เลือดออก โรคมาลาเรีย และวัณโรค ซึ่งหากไม่ดูแลรักษาอย่างดี อาจถึงขั้นเสียชีวิต และสามารถแพร่เชื้อเป็นวงกว้างได้อีก
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโรงพยาบาลพื้นที่ชายแดน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ว่า การดูแลสุขภาพประชาชนมีความซับซ้อน ยิ่งเป็นโรงพยาบาลพื้นที่ชายแดนยิ่งซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เพราะต้องดูแลทั้งประชาชนในพื้นที่และประชากรเพื่อนบ้านที่ข้ามแดน ทั้งนี้ โรคที่มาพร้อมกับประชากรข้ามแดนเป็นเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะช่องทางไม่ได้มีแค่ช่องทางถาวร แต่ยังมีพรมแดนตามธรรมชาติจำนวนมากที่เข้ามาได้ตลอด สิ่งที่ควรดำเนินการ คือ ต้องมีการวางระบบ เพิ่มความเข้มแข็งของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และบูรณาการทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะในระดับอำเภอ
ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่ รพ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี พบว่า มีระบบบริหารจัดการปัญหาสาธารณสุขชายแดนที่โดดเด่น โดยอาศัยโมเดลหรือกลไกของ “อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.)” ในการช่วยป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่อาจแพร่ระบาดโดยประชากรข้ามแดน
นพ.ฉัทฐกร ธัญเกียรติ ผอ.รพ.สวนผึ้ง เล่าว่า โรงพยาบาลรับผิดชอบสุขภาพและรักษาประชากรในพื้นที่จำนวน 60,341 คน แยกเป็นสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 27,225 คน สิทธิประกันสังคม 4,363 คน สวัสดิการข้าราชการ 1,933 คน รอพิสูจน์สัญชาติ 16,299 คน ประชากรในศูนย์อพยพ 6,700 คน แรงงานต่างด้าว 832 คน บุคคลไร้สิทธิ 2,989 คน ซึ่งในกลุ่มหลังสุดมีอัตรามารับบริการสูงถึง 24,000 ครั้งต่อปี มีค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลที่เรียกเก็บไม่ได้ราวปีละ 2.4 ล้านบาท ส่วน รพ.สต.ใน อ.สวนผึ้งที่เรียกเก็บไม่ได้ราว 6.8 แสนบาท
“อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี มีการเดินทางข้ามพรมแดนธรรมชาติหลายช่องทาง ทำให้ประชากรของ 2 ประเทศมีการเข้าออกจำนวนมาก ซึ่งเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคชายแดนมากกว่าพื้นที่อื่น โดยโรคที่มีความเสี่ยงคือ วัณโรคและมาลาเรีย แต่สิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาคือการสร้างรั้วที่เข้มแข็ง โดยให้ความรู้ประชาชนมีความรู้เรื่องการป้องกันโรค และอาศัยกลไกของ อสต.ในการช่วยประสานและทำความเข้าใจกับคนต่างด้าว เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพและเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคระบาด” นพ.ฉัทฐกร กล่าว
สำหรับที่มาของ อสต.นั้น นางวารี สายันหะ สาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ระบุว่า อ.สวนผึ้ง มีเขตติดต่อกับประเทศพม่า มีช่องทางเข้าออกจำนวนมาก ทำให้มีความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรค เพราะไม่ทราบว่ามีใครเข้าออกบ้าง และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่สามารถสื่อภาษาให้คนต่างด้าวเข้าใจเรื่องการเฝ้าระวังป้องกันโรคได้ ในปี 2559 จึงอบรม อสต.เพื่อช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเฝ้าระวังโรคตามแนวชายแดน มีทั้งหมด 30 คน ใน 6 หมู่บ้านชายแดนของ ต.สวนผึ้ง และ ต.ตะนาวศรี
“สิ่งที่มอบหมายให้ อสต.ดำเนินการคือ สำรวจข้อมูลคนที่เข้าออกผ่านพรมแดนธรรมชาติ เข้ามาแล้วไปอยู่บ้านใคร และจัดทำเป็นทะเบียน พร้อมเฝ้าระวังโรค สร้างระบบเครือข่ายให้เชื่อมโยงกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใน รพ.สต. หากพบเห็นสิ่งผิดปกติ และสิ่งที่เด่นที่สุดคือ ความสามารถในการเจาะเลือดทางปลายนิ้วเพื่อตรวจหาเชื้อมาลาเรีย ซึ่งเมื่อรู้ผลก็จะจ่ายยาบำบัดรักษาทันที และติดตามการรักษาให้ครบระยะเวลา 28 วัน โยมีการจัดตั้งคลินิกมาลาเรียในหมู่บ้านชายแดน 11 แห่ง ใน ต.ตะนาวศรี 5 หมู่บ้าน 5 แห่ง และ ต.สวนผึ้ง 5 หมู่บ้าน 6 แห่ง โดย อสต.จะสื่อสารกับต่างด้าวว่า มีไข้มาหรือไม่ หากมีไข้ก็จะให้ความรู้และแนะนำเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย หากเจอก็สามารถจ่ายยาได้ หากไม่พบเชื้อก็จะให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว ให้ยาลดไข้ เป็นต้น” นางวารี กล่าว
นางวารี กล่าวว่า โรคมาลาเรียถือเป็นปัญหาสาธารณสุขชายแดนอย่างมากหรือเป็นโรคประจำถิ่นในพื้นที่ โดยเมื่อ 30 ปีก่อน อัตราการป่วยอยู่ที่ 30,000 คนต่อประชากรแสนคน แต่หลังจากดำเนินการเฝ้าระวังด้วยกลไกต่างๆ โดยเฉพาะ อสต.พบว่า อัตราป่วยโรคมาลาเรียในพื้นที่ลดลงอย่างมากเหลือเพียง 100 คนต่อประชากรแสนคน
ขณะที่ นายวิชิต วงค์ทอง อายุ 38 ปี อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวสวนผึ้ง กล่าวว่า ตนเป็นชาวกะเหรี่ยง ทำให้สามารถพูดได้ 2 ภาษาคือ ไทยและกะเหรี่ยง โดยที่ผ่านมาเป็น อสม.อยู่แล้ว จึงตัดสินใจเข้ามาเป็น อสต.เพื่อช่วยในเรื่องการสื่อสารด้านสุขภาพ ซึ่งเมื่อพวกเขาเข้าใจก็พร้อมที่จะปฏิบัติตาม ความเป็นอยู่ของเขาก็ดีขึ้น ความสะอาดรอบบ้านต่างๆ ก็ดีขึ้น ในการแนะนำจะแนะนำเรื่องการเป็นอยู่ เรื่องโรคต่างๆ เช่น ไข้เลือดออก จะแปลให้เขาฟังว่าควบคุมอย่างไร ต้องกำจัดภาชนะข้างบ้านให้เรียบร้อย กำจัดลูกน้ำยุงลาย เป็นต้น ซึ่งจากการที่เราพูดภาษาเขาได้ ทำให้ได้รับการตอบรับที่ดี พูดให้เขาฟังว่าเรามาเพื่ออะไร แม้บางครั้งจะมีปัญหาไม่เข้าใจ ไม่ทำตาม เราก็ต้องพูดให้เขาเข้าใจและพูดบ่อยๆ เพราะมีโอกาสเจอกันบ่อยในชีวิตประจำวัน เพราะอยู่ในพื้นที่เดียวกัน อย่างไข้เลือดออกก็จะบอกว่า เป็นแล้วร้ายแรง รักษาไม่ทันถึงแก่ชีวิตได้ หรืออย่างเรื่องการกินยารักษามาลาเรียหากพบว่าติดเชื้อ ก็จะให้กินยาต่อหน้าเป็นเวลา 3 วัน ซึ่งเป็นช่วงสำคัญในการกำจัดเชื้อมาลาเรีย และติดตามให้กินยาให้ครบ เพราะหากไม่กินยาอย่างต่อเนื่อง จะเกิดปัญหาเชื้อดื้อยาและแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ และจะบังคับให้อยู่ในไทยจนกว่าจะหาย
“ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในพื้นที่กับต่างด้าวหรือชาวเขานั้น ในพื้นที่จะมีการใช้ภาษากะเหรี่ยง กะหร่าง มอญ และพม่า ส่วนการเฝ้าระวังชาวต่างด้าวที่เข้ามาทางพรมแดนธรรมชาตินั้น โดยหลักแล้วพวกเขาจะเข้ามาพักในหมู่บ้าน เราจึงมีการทำประชาคมหมู่บ้านว่า หากบ้านใดที่มีชาวต่างด้าวเข้ามาอาศัยอยู่ด้วยหรือเดินทางข้ามแดนมาให้แจ้งผู้ใหญ่บ้าน แล้วติดต่อ อสม. ในการเข้ามาช่วยเฝ้าระวังในเรื่องของโรคติดต่อ” นายวิชิต กล่าว
สำหรับปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาต่างด้าวและการเรียกเก็บเงินไม่ได้นั้น นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รองปลัด สธ. ระบุว่า ในการแก้ปัญหานั้นมีหลายประเด็น ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีการจัดทำบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ส่วนกลุ่มพิสูจน์สัญชาติก็มีการตั้งกองทุนดูแลค่ารักษา อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีการหารือในการจัดตั้งกองทุนสุขภาพชายแดน เป็นกองทุนเฉพาะเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ 31 จังหวัดชายแดน โดยจะจัดสรรงบประมาณไปให้แต่ละเขตสุขภาพในการบริหารจัดการให้เกิดการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพชายแดน ซึ่งงบประมาณอาจได้จากการขายบัตรประกันสุขภาพและรัฐสนับสนุนด้วย โดยมีการนำเสนอ พล.อ.ฉัตรชัยในเบื้องต้นไปแล้ว