โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์

จากข่าวการทลายเครื่องสำอางและอาหารเสริมเครือข่าย “เมจิกสกิน” นำมาสู่การตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพจำนวนมาก โดยเฉพาะประเด็นการโฆษณา ซึ่งในส่วนของ “อาหารเสริม” มี พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 กำหนดชัดเจนว่า จะต้องขออนุญาตโฆษณาต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อน จึงจะโฆษณาได้ และการโฆษณาต้องไม่โอ้อวดเกินจริงหรือหลอกลวง
แต่สถานการณ์จริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านี้แม้จะขอขึ้นทะเบียน อย.ถูกต้อง แต่ตอนโฆษณากลับไม่ได้มีการขออนุญาต และโฆษณาโอ้อวดเกินจริง ยกตัวอย่าง กรณีผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “บีเคิร์ฟ” ของดาราสาวอย่าง เบลล่า ราณี แคมเปน และมะปราง วิรากานต์ เสณีตันติกุล ที่ยื่นจดทะเบียนถูกต้อง แต่กลับมีการโฆษณาโอ้อวดเกินจริงและไม่ได้ขออนุญาต ซึ่งทางมะปรางก็ออกมาบอกว่าเป็นเพราะการโฆษณาเองของตัวแทนจำหน่าย

นอกจากการโฆษณา “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร” ที่ต้องใช้ “กึ๋น” อย่างหนักในการพิจารณาว่าสินค้านั้นดีจริงหรือไม่ โฆษณาเวอร์เกินไปหรือไม่ ก็ยังมีโฆษณาในกลุ่ม “อาหาร” โดยเฉพาะ “เครื่องดื่ม” อีกหลายตัว ที่ทำการตลาดมอมเมาจนเราแทบตกเป็นทาสไปแล้ว

สินค้าที่ว่าคือกลุ่มของ “น้ำอัดลม” และ “ชาเขียว” ที่หลายปีมานี้ใช้กลยุทธ์การตลาดแบบชิงโชค ซื้อมากยิ่งมีสิทธิมาก โดยมีการดึงเอาศิลปินดาราขวัญใจประชาชนมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ พร้อมโปรโมตการชิงโชค เช่น ได้ไปเที่ยวร่วมกับศิลปินถึงต่างประเทศ การแจกรถยนต์ ทองคำ โทรศัพท์มือ เงินรางวัลต่างๆ จนเหล่าแฟนคลับหรือคนชื่นชอบการวัดดวงต้องรีบไขว่คว้าโอกาสนั้นไว้ ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่น่าห่วงอย่างมาก
ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย และผู้จัดการโครงการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สะท้อนความเห็นว่า น้ำอัดลมและชาเขียวพวกนี้มีน้ำตาลปริมาณมากอยู่แล้ว ดังน้น ยิ่งโหมทำการตลาดชิงโชค ก็ยิ่งเป้นการกระตุ้นส่งเสริมให้คนหันมาซื้อบริโภคเพิ่มมากขึ้น

“น้ำชาเขียวรสชาติดั้งเดิม 1 ขวด ขนาด 500 มิลลิลิตร ก็มีน้ำตาลอยู่ถึง 20-26% แล้ว หากคำนวณว่าเป็นน้ำตาลปริมาณเท่าไร ก็จะอยู่ที่ประมาณ 100 กรัมหรือประมาณ 20 ช้อนชา ซึ่งดื่มแค่ขวดเดียวก็ได้น้ำตาลเกินกว่าที่ร่างกายต้องการรับในแต่ละวันแล้ว ซึ่งตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก เราควรได้รับน้ำตาลอยู่ที่ 6 ช้อนชาต่อวันเท่านั้น เรียกว่าเกินไป 3 เท่ากว่าเลยทีเดียว และยิ่งกระตุ้นให้มีการดื่มมากยิ่งขึ้นก็ยิ่งได้รับน้ำตาลมากยิ่งขึ้นเข้าไปอีก เพราะตามธรรมชาติของมนุษย์ คงไม่มีใครที่ซื้อมาแล้วจะเททิ้งแน่นอน ก็ต้องดื่มเข้าไป ก็ยิ่งได้รับน้ำตาลเกินพิกัด” ทพญ.ปิยะดา กล่าว
สถานการณ์การบริโภคน้ำตาลของคนไทยถือว่าน่าเป็นห่วงอย่างมาก ทพญ.ปิยะดา บอกว่า ขณะนี้คนไทยบริโภคน้ำตาลเฉลี่ยที่ประมาณ 26 ช้อนชาต่อวันเกินกว่าที่แนะนำไปถึง 4 เท่า และพบว่า 2 ใน 3 ของการได้รับน้ำตาลนั้นมาจากเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำอัดลม ชาเขียว กาแฟชง น้ำหวานต่างๆ ที่เราชอบบริโภค เนื่องจากคนไทยติดหวาน ไม่ใช่แค่ติดความเย็นจากเครื่องดื่มเพื่อมาดับกระหายเท่านั้น ที่ผ่านมามีความพยายามในการให้คนไทยลดการบริโภคน้ำตาลลง จนถึงขั้นมีมาตรการทางกฎหมายอย่าง “ภาษีความหวาน” หรือ ภาษีน้ำตาล ตาม พ.ร.บ. สรรพสามิต พ.ศ. 2560 ซึ่งแม้จะทำให้ผู้ประกอบการหันมาผลิตเครื่องดื่มสูตรน้ำตาลน้อยลง หรือสูตรไม่มีน้ำตาล แต่การโหมโฆษณา โดยเฉพาะโฆษณาชิงโชคที่กระตุ้นการซื้อบริโภค ก็ทำให้เกิดการบริโภคเกินกว่าที่ควรได้รับอยู่ดี ก็เท่ากับได้น้ำตาลเกินกว่าที่ต้องการ
“เครื่องดื่มที่เหมาะสมเสนอว่า ควรมีน้ำตาลน้อยกว่า 6% ในปริมาณเครื่องดื่ม 200-250 มิลลิลิตร ก็จะได้น้ำตาลไม่เกิน 3 ช้อนชา นับเป็น 1 หน่วยบริโภค ดังนั้น ใน 1 วันก็รับได้ไม่เกิน 2 หน่วยบริโภค แต่ต้องอย่าลืมว่าในชีวิตประจำวันเราได้รับน้ำตาลจากการบริโภคอาหารอย่างอื่นอีก การโหมโฆษณาชิงโชคชวนซื้อบริโภคจึงยิ่งน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะในสูตรน้ำตาลน้อย เพราะคนจะรู้สึกว่ามีน้ำตาลน้อย กินมากขึ้นหน่อยก็ไม่เป้นไร ดีต่อสุขภาพ ก็ยิ่งกินเข้าไปมาก น้ำตาลก็เกินในที่สุด ซึ่งมองว่าควรมีการควบคุมการชิงโชคตรงนี้” ทพญ.ปิยะดา กล่าว

หากเอ่ยถึงการควบคุมการชิงโชคของเครื่องดื่มต้องย้อนไปตั้งแต่สมัยปี 2546 ที่ อย.เคยเปิดศึกกับเครื่องดื่มชูกำลัง ในการควบคุมการชิงโชค แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจาก อย.ไม่มีฐานอำนาจในการควบคุม เพราะการขออนุญาตการชิงโชคนั้นเป็นอำนาจตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 ของกระทรวงมหาดไทย อย.มีเพียงประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การโฆษณาเครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีน พ.ศ. 2555 ที่ควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มกาเฟอีน ไม่ให้มีการโฆษณาชักจูงโน้มน้าวเท่านั้น และมีการตีความทางกฎหมายกันว่า การชิงโชคไม่น่าจะเข้าข่ายการโฆษณาชักจูงโน้มน้าวตามประกาศ อย. และไม่มีฐานอำนาจจัดการเช่นกัน ดังนั้น การควบคุมการชิงโชคของน้ำอัดลมและชาเขียวโดย อย.จึงไม่มีทางเป็นไปได้
นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการ อย. ระบุว่า อย.ไม่มีกฎหมายในการควบคุมตรงนี้ หากจะควบคุมการชิงโชคของน้ำอัดลมหรือชาเขียว มองว่าน่าจะเป็นอำนาจของกระทรวงมหาดไทยตาม พ.ร.บ. การพนัน พ.ศ. 2478 และ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มากกว่า

ส่วนสถานการณ์การโฆษณาชิงโชคเพื่อชวนให้ซื้อบริโภคน้ำอัดลมและชาเขียว โดยมีศิลปินและรางวัลต่างๆ มาล่อใจ เป็นสถานการณ์ที่วิกฤตต่อสุขภาพคนไทยแล้วหรือยังนั้น นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย ระบุว่า พร้อมที่จะทำข้อมูลเชิงวิชการว่าส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทยมากน้อยเพียงใด หากมีผลกระทบอย่างมากก็อาจเสนอให้มีการควบคุมการชิงโชคหรือการโฆษณา แบบที่เคยมีข้อเสนอในเรื่องของการคุมภาษีน้ำตาลจนออกเป็นกฎหมายมาแล้วเมื่อปี 2560

สำหรับ อย.เองนั้น นพ.พูลลาภ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ก็คงต้องพิจารณาข้อมูลสถานการณ์และความจำเป็นก่อนว่าส่งผลกระทบมากเพียงพอที่จะควบคุมหรือไม่ ซึ่งต้องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอาหาร เพื่อออกเป็นกฎหมายควบคุม ซึ่งอย่างที่บอกว่าปัจจุบันมีเพียงการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาเฟอีนเท่านั้น เนื่องจากมีเครื่องดื่มผสมกาเฟอีนออกมามากขึ้น มีการผสมกาเฟอีนที่มากไปกว่าปกติ และโฆษณาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการดื่ม จึงมีการควบคุมให้เครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีนซึ่งจำหน่ายมีส่วนผสมปริมาณไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อหน่วยบรรจุ และคุมเรื่องของการโฆษณา ดื่มได้ไม่เกินวันละเท่าไร ต้องมีการออกคำเตือนให้ชัดเจน เพราะส่งผลกระทบต่อสุขภาพชัดเจน แต่ชาเขียว น้ำอัดลม มีกาเฟอีนโดยธรรมชาติ ไม่ได้เป็นการเติมเข้าไป จึงไม่เข้าข่ายตามประกาศควบคุมนี้ ต้องมาพิจารณาแยกต่างหาก
อาจกล่าวได้ว่า คนไทยขณะนี้อยู่ในยุคที่ห้อมล้อมไปด้วยโฆษณาทั้งเกินจริง หลอกลวง และมอมเมา ไม่เพียงแค่สื่อกระแสหลักอย่างวิทยุ โทรทัศน์เท่านั้น ยังรวมไปถึงสื่ออินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียต่างๆ ซึ่ง พญ.ลัดดา ดำริการเลิศ เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) สะท้อนว่า ผู้สุงอายุจำนวนมากตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาทางโซเชียลมีเดีย เพราะรู้ไม่เท่าทัน ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกหลอกลวงจากโฆษณาสินค้าทางสุขภาพมากที่สุด หลอกลวงให้ซื้อสินค้าต่างๆ โดยอ้างว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้ สุดท้ายก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพและเสียเงินเสียทอง และที่เห็นมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ การส่งข้อมูลข่าวสารโดยที่ยังไม่ได้พิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าเป็นจริงหรือไม่อย่างไร

พญ.ลัดดา กล่าวอีกว่า จริงๆ แล้วไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ แต่เป็นคนทุกเพศทุกวัยที่สามารถตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาเหล่านี้ได้ ซึ่งอยากขอให้ทุกคนมีสติ และใช้วิจารณญาณในการพิจารณาว่าข้อมูลที่ได้รับมาเป็นจริงหรือไม่ หรือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ เหล่านี้จริงหรือไม่ที่สามารถช่วยโรคนั้นนี้ได้ ต้องสงสัยไว้ก่อน และไปหาข้อมูลเพิ่มเติมว่าจริงหรือไม่ หรือแม้แต่เห็นโฆษณาชักจูงใจ ก็ต้องพิจารณาให้ดีว่า สิ่งนั้นเป็นประโยชน์ต่อเราจริงหรือไม่ จำเป็นกับเราจริงหรือไม่
นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการ อย. เคยแนะนำไว้ว่า ก่อนจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ ต้องพิจารณาให้ดีก่อนว่าสินค้าเหล่านี้ขึ้นทะเบียนถูกต้องหรือไม่ และแม้จะขึ้นทะเบียนถูกต้อง แต่ก็มีบางส่วนที่อาจลักลอบผสมสารอันตรายได้ ดังนั้น ต้องพิจารณาจากการโฆษณาของสินค้าเหล่านั้นด้วยว่าโอ้อวดเกินจริงหรือไม่ ต้องมีสติและใช้วิจารณญาณอย่างมาก อย่าเพิ่งหลงเชื่อเพราะเห็นเป็นแค่ดารามารีวิวหรือโฆษณาแนะนำ ยิ่งหากโฆษณาเกินจริงหรือโอเวอร์ก็ยิ่งแสดงว่าเชื่อถือไม่ได้
ก่อนจะเลือกซื้อสินค้าใด จริงๆ แล้ว ตัวเราเองที่ต้องมีสติและพิจารณาให้ดี ไม่หลงใหลไปกับคำโฆษณาเกินจริง หรือแค่มีคนดังมารีวิวแนะนำ หรือเพียงเพราะมีของรางวัลมาแลกแจกแถมหรือชิงโชค เพราะอาจตกเป็นเหยื่อของการตลาด หรือเสียเงิน เสียสุขภาพโดยใช่เหตุได้ เพราะสุดท้ายคนที่ตัดสินใจซื้อก็คือตัวของเราเอง ก็ต้องรับของการตัดสินใจนั้นเอง
จากข่าวการทลายเครื่องสำอางและอาหารเสริมเครือข่าย “เมจิกสกิน” นำมาสู่การตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพจำนวนมาก โดยเฉพาะประเด็นการโฆษณา ซึ่งในส่วนของ “อาหารเสริม” มี พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 กำหนดชัดเจนว่า จะต้องขออนุญาตโฆษณาต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อน จึงจะโฆษณาได้ และการโฆษณาต้องไม่โอ้อวดเกินจริงหรือหลอกลวง
แต่สถานการณ์จริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านี้แม้จะขอขึ้นทะเบียน อย.ถูกต้อง แต่ตอนโฆษณากลับไม่ได้มีการขออนุญาต และโฆษณาโอ้อวดเกินจริง ยกตัวอย่าง กรณีผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “บีเคิร์ฟ” ของดาราสาวอย่าง เบลล่า ราณี แคมเปน และมะปราง วิรากานต์ เสณีตันติกุล ที่ยื่นจดทะเบียนถูกต้อง แต่กลับมีการโฆษณาโอ้อวดเกินจริงและไม่ได้ขออนุญาต ซึ่งทางมะปรางก็ออกมาบอกว่าเป็นเพราะการโฆษณาเองของตัวแทนจำหน่าย
นอกจากการโฆษณา “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร” ที่ต้องใช้ “กึ๋น” อย่างหนักในการพิจารณาว่าสินค้านั้นดีจริงหรือไม่ โฆษณาเวอร์เกินไปหรือไม่ ก็ยังมีโฆษณาในกลุ่ม “อาหาร” โดยเฉพาะ “เครื่องดื่ม” อีกหลายตัว ที่ทำการตลาดมอมเมาจนเราแทบตกเป็นทาสไปแล้ว
สินค้าที่ว่าคือกลุ่มของ “น้ำอัดลม” และ “ชาเขียว” ที่หลายปีมานี้ใช้กลยุทธ์การตลาดแบบชิงโชค ซื้อมากยิ่งมีสิทธิมาก โดยมีการดึงเอาศิลปินดาราขวัญใจประชาชนมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ พร้อมโปรโมตการชิงโชค เช่น ได้ไปเที่ยวร่วมกับศิลปินถึงต่างประเทศ การแจกรถยนต์ ทองคำ โทรศัพท์มือ เงินรางวัลต่างๆ จนเหล่าแฟนคลับหรือคนชื่นชอบการวัดดวงต้องรีบไขว่คว้าโอกาสนั้นไว้ ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่น่าห่วงอย่างมาก
ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย และผู้จัดการโครงการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สะท้อนความเห็นว่า น้ำอัดลมและชาเขียวพวกนี้มีน้ำตาลปริมาณมากอยู่แล้ว ดังน้น ยิ่งโหมทำการตลาดชิงโชค ก็ยิ่งเป้นการกระตุ้นส่งเสริมให้คนหันมาซื้อบริโภคเพิ่มมากขึ้น
“น้ำชาเขียวรสชาติดั้งเดิม 1 ขวด ขนาด 500 มิลลิลิตร ก็มีน้ำตาลอยู่ถึง 20-26% แล้ว หากคำนวณว่าเป็นน้ำตาลปริมาณเท่าไร ก็จะอยู่ที่ประมาณ 100 กรัมหรือประมาณ 20 ช้อนชา ซึ่งดื่มแค่ขวดเดียวก็ได้น้ำตาลเกินกว่าที่ร่างกายต้องการรับในแต่ละวันแล้ว ซึ่งตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก เราควรได้รับน้ำตาลอยู่ที่ 6 ช้อนชาต่อวันเท่านั้น เรียกว่าเกินไป 3 เท่ากว่าเลยทีเดียว และยิ่งกระตุ้นให้มีการดื่มมากยิ่งขึ้นก็ยิ่งได้รับน้ำตาลมากยิ่งขึ้นเข้าไปอีก เพราะตามธรรมชาติของมนุษย์ คงไม่มีใครที่ซื้อมาแล้วจะเททิ้งแน่นอน ก็ต้องดื่มเข้าไป ก็ยิ่งได้รับน้ำตาลเกินพิกัด” ทพญ.ปิยะดา กล่าว
สถานการณ์การบริโภคน้ำตาลของคนไทยถือว่าน่าเป็นห่วงอย่างมาก ทพญ.ปิยะดา บอกว่า ขณะนี้คนไทยบริโภคน้ำตาลเฉลี่ยที่ประมาณ 26 ช้อนชาต่อวันเกินกว่าที่แนะนำไปถึง 4 เท่า และพบว่า 2 ใน 3 ของการได้รับน้ำตาลนั้นมาจากเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำอัดลม ชาเขียว กาแฟชง น้ำหวานต่างๆ ที่เราชอบบริโภค เนื่องจากคนไทยติดหวาน ไม่ใช่แค่ติดความเย็นจากเครื่องดื่มเพื่อมาดับกระหายเท่านั้น ที่ผ่านมามีความพยายามในการให้คนไทยลดการบริโภคน้ำตาลลง จนถึงขั้นมีมาตรการทางกฎหมายอย่าง “ภาษีความหวาน” หรือ ภาษีน้ำตาล ตาม พ.ร.บ. สรรพสามิต พ.ศ. 2560 ซึ่งแม้จะทำให้ผู้ประกอบการหันมาผลิตเครื่องดื่มสูตรน้ำตาลน้อยลง หรือสูตรไม่มีน้ำตาล แต่การโหมโฆษณา โดยเฉพาะโฆษณาชิงโชคที่กระตุ้นการซื้อบริโภค ก็ทำให้เกิดการบริโภคเกินกว่าที่ควรได้รับอยู่ดี ก็เท่ากับได้น้ำตาลเกินกว่าที่ต้องการ
“เครื่องดื่มที่เหมาะสมเสนอว่า ควรมีน้ำตาลน้อยกว่า 6% ในปริมาณเครื่องดื่ม 200-250 มิลลิลิตร ก็จะได้น้ำตาลไม่เกิน 3 ช้อนชา นับเป็น 1 หน่วยบริโภค ดังนั้น ใน 1 วันก็รับได้ไม่เกิน 2 หน่วยบริโภค แต่ต้องอย่าลืมว่าในชีวิตประจำวันเราได้รับน้ำตาลจากการบริโภคอาหารอย่างอื่นอีก การโหมโฆษณาชิงโชคชวนซื้อบริโภคจึงยิ่งน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะในสูตรน้ำตาลน้อย เพราะคนจะรู้สึกว่ามีน้ำตาลน้อย กินมากขึ้นหน่อยก็ไม่เป้นไร ดีต่อสุขภาพ ก็ยิ่งกินเข้าไปมาก น้ำตาลก็เกินในที่สุด ซึ่งมองว่าควรมีการควบคุมการชิงโชคตรงนี้” ทพญ.ปิยะดา กล่าว
หากเอ่ยถึงการควบคุมการชิงโชคของเครื่องดื่มต้องย้อนไปตั้งแต่สมัยปี 2546 ที่ อย.เคยเปิดศึกกับเครื่องดื่มชูกำลัง ในการควบคุมการชิงโชค แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจาก อย.ไม่มีฐานอำนาจในการควบคุม เพราะการขออนุญาตการชิงโชคนั้นเป็นอำนาจตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 ของกระทรวงมหาดไทย อย.มีเพียงประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การโฆษณาเครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีน พ.ศ. 2555 ที่ควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มกาเฟอีน ไม่ให้มีการโฆษณาชักจูงโน้มน้าวเท่านั้น และมีการตีความทางกฎหมายกันว่า การชิงโชคไม่น่าจะเข้าข่ายการโฆษณาชักจูงโน้มน้าวตามประกาศ อย. และไม่มีฐานอำนาจจัดการเช่นกัน ดังนั้น การควบคุมการชิงโชคของน้ำอัดลมและชาเขียวโดย อย.จึงไม่มีทางเป็นไปได้
นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการ อย. ระบุว่า อย.ไม่มีกฎหมายในการควบคุมตรงนี้ หากจะควบคุมการชิงโชคของน้ำอัดลมหรือชาเขียว มองว่าน่าจะเป็นอำนาจของกระทรวงมหาดไทยตาม พ.ร.บ. การพนัน พ.ศ. 2478 และ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มากกว่า
ส่วนสถานการณ์การโฆษณาชิงโชคเพื่อชวนให้ซื้อบริโภคน้ำอัดลมและชาเขียว โดยมีศิลปินและรางวัลต่างๆ มาล่อใจ เป็นสถานการณ์ที่วิกฤตต่อสุขภาพคนไทยแล้วหรือยังนั้น นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย ระบุว่า พร้อมที่จะทำข้อมูลเชิงวิชการว่าส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทยมากน้อยเพียงใด หากมีผลกระทบอย่างมากก็อาจเสนอให้มีการควบคุมการชิงโชคหรือการโฆษณา แบบที่เคยมีข้อเสนอในเรื่องของการคุมภาษีน้ำตาลจนออกเป็นกฎหมายมาแล้วเมื่อปี 2560
สำหรับ อย.เองนั้น นพ.พูลลาภ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ก็คงต้องพิจารณาข้อมูลสถานการณ์และความจำเป็นก่อนว่าส่งผลกระทบมากเพียงพอที่จะควบคุมหรือไม่ ซึ่งต้องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอาหาร เพื่อออกเป็นกฎหมายควบคุม ซึ่งอย่างที่บอกว่าปัจจุบันมีเพียงการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาเฟอีนเท่านั้น เนื่องจากมีเครื่องดื่มผสมกาเฟอีนออกมามากขึ้น มีการผสมกาเฟอีนที่มากไปกว่าปกติ และโฆษณาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการดื่ม จึงมีการควบคุมให้เครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีนซึ่งจำหน่ายมีส่วนผสมปริมาณไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อหน่วยบรรจุ และคุมเรื่องของการโฆษณา ดื่มได้ไม่เกินวันละเท่าไร ต้องมีการออกคำเตือนให้ชัดเจน เพราะส่งผลกระทบต่อสุขภาพชัดเจน แต่ชาเขียว น้ำอัดลม มีกาเฟอีนโดยธรรมชาติ ไม่ได้เป็นการเติมเข้าไป จึงไม่เข้าข่ายตามประกาศควบคุมนี้ ต้องมาพิจารณาแยกต่างหาก
อาจกล่าวได้ว่า คนไทยขณะนี้อยู่ในยุคที่ห้อมล้อมไปด้วยโฆษณาทั้งเกินจริง หลอกลวง และมอมเมา ไม่เพียงแค่สื่อกระแสหลักอย่างวิทยุ โทรทัศน์เท่านั้น ยังรวมไปถึงสื่ออินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียต่างๆ ซึ่ง พญ.ลัดดา ดำริการเลิศ เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) สะท้อนว่า ผู้สุงอายุจำนวนมากตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาทางโซเชียลมีเดีย เพราะรู้ไม่เท่าทัน ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกหลอกลวงจากโฆษณาสินค้าทางสุขภาพมากที่สุด หลอกลวงให้ซื้อสินค้าต่างๆ โดยอ้างว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้ สุดท้ายก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพและเสียเงินเสียทอง และที่เห็นมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ การส่งข้อมูลข่าวสารโดยที่ยังไม่ได้พิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าเป็นจริงหรือไม่อย่างไร
พญ.ลัดดา กล่าวอีกว่า จริงๆ แล้วไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ แต่เป็นคนทุกเพศทุกวัยที่สามารถตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาเหล่านี้ได้ ซึ่งอยากขอให้ทุกคนมีสติ และใช้วิจารณญาณในการพิจารณาว่าข้อมูลที่ได้รับมาเป็นจริงหรือไม่ หรือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ เหล่านี้จริงหรือไม่ที่สามารถช่วยโรคนั้นนี้ได้ ต้องสงสัยไว้ก่อน และไปหาข้อมูลเพิ่มเติมว่าจริงหรือไม่ หรือแม้แต่เห็นโฆษณาชักจูงใจ ก็ต้องพิจารณาให้ดีว่า สิ่งนั้นเป็นประโยชน์ต่อเราจริงหรือไม่ จำเป็นกับเราจริงหรือไม่
นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการ อย. เคยแนะนำไว้ว่า ก่อนจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ ต้องพิจารณาให้ดีก่อนว่าสินค้าเหล่านี้ขึ้นทะเบียนถูกต้องหรือไม่ และแม้จะขึ้นทะเบียนถูกต้อง แต่ก็มีบางส่วนที่อาจลักลอบผสมสารอันตรายได้ ดังนั้น ต้องพิจารณาจากการโฆษณาของสินค้าเหล่านั้นด้วยว่าโอ้อวดเกินจริงหรือไม่ ต้องมีสติและใช้วิจารณญาณอย่างมาก อย่าเพิ่งหลงเชื่อเพราะเห็นเป็นแค่ดารามารีวิวหรือโฆษณาแนะนำ ยิ่งหากโฆษณาเกินจริงหรือโอเวอร์ก็ยิ่งแสดงว่าเชื่อถือไม่ได้
ก่อนจะเลือกซื้อสินค้าใด จริงๆ แล้ว ตัวเราเองที่ต้องมีสติและพิจารณาให้ดี ไม่หลงใหลไปกับคำโฆษณาเกินจริง หรือแค่มีคนดังมารีวิวแนะนำ หรือเพียงเพราะมีของรางวัลมาแลกแจกแถมหรือชิงโชค เพราะอาจตกเป็นเหยื่อของการตลาด หรือเสียเงิน เสียสุขภาพโดยใช่เหตุได้ เพราะสุดท้ายคนที่ตัดสินใจซื้อก็คือตัวของเราเอง ก็ต้องรับของการตัดสินใจนั้นเอง