บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม หรือ Graduate School of Management and Innovation (GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สร้างความแตกต่างจาก Business School ทั่วไปที่ส่วนใหญ่มุ่งเน้นการผลิตนักบริหารทั่วไป อาทิ การตลาด การเงินและบัญชี เป็นต้น ขณะที่ GMI วางตัวเองไว้เป็นผู้ผลิตนักบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้สภาพแวดล้อมของการแข่งขันที่รวดเร็วและการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจธุรกิจเข้มแข็งและแข่งขันได้ วัดกันที่ "นวัตกรรม" ใครทำได้ดีกว่า เหนือกว่า คนนั้นย่อมได้เปรียบ ซึ่งแต่ละหลักสูตรที่ GMI พัฒนาขึ้นมาจะอยู่ภายใต้กรอบคิดที่ว่า "Science & Technology" + "Management" เป็นคุณสมบัติเด่นที่ GMI สร้างขึ้น จากการวางแผน และกำหนดยุทธศาสตร์ไว้อย่างชัดเจนตั้งแต่จุดเริ่มต้น ปัจจุบัน และต่อเนื่องถึงอนาคต ผ่านกระบวนการทั้ง 3 ด้าน คือ ความรู้ ทักษะ และทัศนคติ หลักสูตรของ GMI ประกอบด้วย 4 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน หลักสูตรการจัดการ (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) หลักสูตรการจัดการ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต)

ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ รักษาการประธานหลักสูตรการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ กล่าวว่า การความเป็นผู้ประกอบการไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ หากแต่เกิดจากความตั้งใจในการสรรค์สร้างสิ่งใหม่ที่มีคุณค่า (Value creation) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เป็นตลาดหรือกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจำเป็นต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจ (Passion) และเข้าใจการจัดสรรทรัพยากรและเวลาที่มีอยู่อย่างเหมาะสม เพื่อให้แนวคิดหรือนวัตกรรมที่คิดขึ้นกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการ โดยมุ่งเน้นความสำเร็จจากการประกอบการ ซึ่งเป็นทั้งผลตอบแทนในรูปของเงิน เช่น รายได้ หรือผลตอบแทนที่ไม่ใช่เงิน เช่น ความเป็นอิสระ เป็นต้น ผู้ประกอบการยังจำเป็นที่จะต้องเข้าใจความเสี่ยง (Risk) ที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากความไม่แน่นอนของสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องตัดสินใจด้วยข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ เพื่อนำพาธุรกิจไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ให้ได้
หลักสูตรการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ มุ่งเน้นการพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความเป็นมืออาชีพ ด้วยการบูรณาการศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ากับการจัดการ โดยให้ความสำคัญในการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารธุรกิจที่ทันสมัยพร้อมทั้งยกระดับความเข้มแข็งและความสามารถในการแข่งขันแก่ผู้ประกอบการเดิม ภายใต้การประสานงานอันดีระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม
โดยเนื้อหาหลักของหลักสูตรประกอบด้วยองค์ความรู้ที่จำเป็นในการเป็นผู้ประกอบการ ได้แก่ การเงินสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ กลยุทธ์การจัดการตลาด การจัดการเชิงกลยุทธ์และการควบคุมธุรกิจ ภาวะผู้นำในผู้ประกอบการและการจัดการทรัพยากรบุคคล การวิเคราะห์ธุรกิจเชิงลึกเพื่อการตัดสินใจ การจัดการซัพพลายเชน การบริหารจัดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การสร้างธุรกิจใหม่ของผู้ประกอบการ สัณฐานความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม นอกเหนือจากการเรียนรู้ในห้องเรียนแล้ว นักศึกษายังจะได้มีโอกาสพัฒนาทักษะที่จำเป็น อาทิ การสื่อสาร รวมทั้งการเขียนแผนธุรกิจ ซึ่งมีการส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมในการแข่งขันแผนธุรกิจเพื่อสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ร่วมแข่งขันจากสถาบันการศึกษาชั้นนำทั่วโลก

ผศ.ดร.สรวิชญ์ เยาวสุวรรณไชย ประธานหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เห็นว่าหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเหมาะสำหรับท่านที่ทำงานเกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์โดยตรง (การขนส่งและกระจายสินค้า การบริหารคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง การจัดซื้อ การนำเข้าและส่งออกสินค้า) รวมถึงท่านที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม หรือทำงานในธุรกิจ Trading รวมถึงท่านที่ทำงานในส่วนของภาครัฐหรือองค์กรต่างๆ เพราะความรู้ทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนนอกจากจะทำให้ท่านมีทักษะในการจัดการโลจิสติกส์ในแต่ละส่วนย่อย (เช่น ขนส่ง คลังสินค้า จัดซื้อ)แล้ว ยังจะทำให้ท่านสามารถแก้ปัญหาและปรับปรุงการทำงานในภาพรวมได้อย่างเป็นระบบ เพราะท่านจะมีความเข้าใจถึงการเชื่อมโยงและความสัมพันธ์กันของแต่ละแผนกแต่ละฝ่ายในบริษัทหรือองค์กร จนถึงทำให้ท่านสามารถสร้างกลยุทธ์หรือแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างบริษัทหรือองค์กรที่เป็นลูกค้าของท่าน หรือเป็น Supplier ของท่านได้ และในที่สุดคือครอบคลุมถึงทุกส่วนในห่วงโซ่อุปทานที่บริษัทท่านดำเนินธุรกิจหรือประกอบการอยู่ ผลการศึกษาหลายชิ้นระบุตรงกันว่า บริษัทหรือองค์กรที่มีการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนที่ดี จะสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างต่อเนื่องและอยู่รอดในธุรกิจได้ยาวนานกว่าบริษัทที่มีการจัดการที่ไม่ดี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีถือเป็นสถาบันแรกๆ ของประเทศที่เปิดสอนความรู้ด้านการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศว่า หลักสูตรมีความเข้มข้น เมื่อเรียนจบแล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง นักศึกษายังได้รับประโยชน์จากเครือข่ายของศิษย์เก่าที่ทำงานกระจายไปในทุกอุตสาหกรรมและส่วนต่าง ๆ ของประเทศ

ดร.วินัย หอมสมบัติ ประธานหลักสูตรการจัดการ (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) มองว่า “ความสำเร็จ” คือ สิ่งที่ทุกคนและทุกองค์กรต่างต้องการ แต่หากความสำเร็จนั้นหาได้มีสูตรสำเร็จให้บรรลุเป้าหมายและมักไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่ายดายสำหรับทุกองค์กร สิ่งที่สำคัญกว่าและจำเป็นต้องเรียนรู้ คือ ที่มาหรือกลยุทธ์ที่ช่วยให้องค์กรสามารถก้าวขึ้นมาอยู่แถวหน้าได้ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจนหลายๆ ท่านต่างกังวลว่าจะสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร หลายๆ คำถามจึงอาจเกิดขึ้นมาได้ครับ เช่น
• โลกดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทต่อธุรกิจอย่างไร?
• จะผลักดันให้องค์กรปรับตัวให้ทันต่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างไร?
• ความเป็นเมือง (Urbanization) ที่มากขึ้นผ่านโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะปรับตัวอย่างไร?
• ได้รับมอบหมายให้จัดการโครงการดี ๆ จะทำให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพได้อย่างไร?
• และอีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญสำหรับทุกองค์กร คือ จะปรับตัวอย่างไรให้พร้อมรับมือกับรูปแบบการใช้ชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ใหม่ ๆ ของพนักงานได้?
ทุกคำถามจะถูกร่วมกันหาคำตอบไปด้วยกันครับ ที่บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผ่านโครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ที่เน้นสาขาการจัดการเฉพาะทาง ได้แก่ การจัดการธุรกิจดิจิทัล การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม การจัดการอสังหาริมทรัพย์ การบริหารโครงการ และการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกออกแบบผ่านกิจกรรมทั้งในห้องเรียนและการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษาจากภาคธุรกิจจริง ที่จะช่วยพัฒนาให้ท่านมีทักษะ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ เพื่อให้ทุกท่านค้นพบคำตอบที่ดีที่สุดและเฉพาะสำหรับท่าน เพราะที่นี่ บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม เราพร้อมรังสรรค์ท่านด้วยการเรียนการสอนเชิงนวัตกรรม การวิจัยที่เกี่ยวเนื่อง และการบริการแก่สังคมที่ยั่งยืน เพื่อสร้างการเป็นผู้นำมืออาชีพสำหรับท่าน

ดร.บุญเกียรติ เอี้ยววงษ์เจริญ ประธานหลักสูตรการจัดการ (วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต) กล่าวว่าหลักสูตรการจัดการ (วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต) ประกอบด้วย 5 สาขาวิชาได้แก่ การบริหารโครงการ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม การจัดการธุรกิจดิจิทัล การจัดการอสังหาริมทรัพย์ และวิศวกรรมการเงินและการจัดการ โดยหลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทำงานวิจัยในสาขาวิชาดังกล่าว นักศึกษาสามารถเลือกหัวข้อในการวิจัยตามสาขาเพื่อสร้างความเข้าใจในองค์ความรู้ในสาขาให้ลึกซึ้งมากขึ้น ซึ่งทำให้สร้างความเชี่ยวชาญที่จำเพาะ และพัฒนาทักษะในการทำวิจัยที่สามารถนำไปต่อยอดในการทำงานต่อไปในอนาคต
เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่แล้ววันนี้ - 30 เมษายน 2561
บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อาคารเรียนรวม 5 ชั้น 8 เลขที่ 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพ 10140
โทร : (+66)2 470-9799, (+66)81 444-1109
แฟกซ์ : (+66)2 470-9798
อีเมล์ : gmi@kmutt.ac.th
หรือดูรายละเอียดได้ที่ http://www.gmi.kmutt.ac.th/master_program, https://www.facebook.com/gmikmutt

ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ รักษาการประธานหลักสูตรการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ กล่าวว่า การความเป็นผู้ประกอบการไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ หากแต่เกิดจากความตั้งใจในการสรรค์สร้างสิ่งใหม่ที่มีคุณค่า (Value creation) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เป็นตลาดหรือกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจำเป็นต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจ (Passion) และเข้าใจการจัดสรรทรัพยากรและเวลาที่มีอยู่อย่างเหมาะสม เพื่อให้แนวคิดหรือนวัตกรรมที่คิดขึ้นกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการ โดยมุ่งเน้นความสำเร็จจากการประกอบการ ซึ่งเป็นทั้งผลตอบแทนในรูปของเงิน เช่น รายได้ หรือผลตอบแทนที่ไม่ใช่เงิน เช่น ความเป็นอิสระ เป็นต้น ผู้ประกอบการยังจำเป็นที่จะต้องเข้าใจความเสี่ยง (Risk) ที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากความไม่แน่นอนของสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องตัดสินใจด้วยข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ เพื่อนำพาธุรกิจไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ให้ได้
หลักสูตรการจัดการสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ มุ่งเน้นการพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความเป็นมืออาชีพ ด้วยการบูรณาการศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ากับการจัดการ โดยให้ความสำคัญในการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารธุรกิจที่ทันสมัยพร้อมทั้งยกระดับความเข้มแข็งและความสามารถในการแข่งขันแก่ผู้ประกอบการเดิม ภายใต้การประสานงานอันดีระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม
โดยเนื้อหาหลักของหลักสูตรประกอบด้วยองค์ความรู้ที่จำเป็นในการเป็นผู้ประกอบการ ได้แก่ การเงินสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ กลยุทธ์การจัดการตลาด การจัดการเชิงกลยุทธ์และการควบคุมธุรกิจ ภาวะผู้นำในผู้ประกอบการและการจัดการทรัพยากรบุคคล การวิเคราะห์ธุรกิจเชิงลึกเพื่อการตัดสินใจ การจัดการซัพพลายเชน การบริหารจัดการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การสร้างธุรกิจใหม่ของผู้ประกอบการ สัณฐานความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม นอกเหนือจากการเรียนรู้ในห้องเรียนแล้ว นักศึกษายังจะได้มีโอกาสพัฒนาทักษะที่จำเป็น อาทิ การสื่อสาร รวมทั้งการเขียนแผนธุรกิจ ซึ่งมีการส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมในการแข่งขันแผนธุรกิจเพื่อสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ร่วมแข่งขันจากสถาบันการศึกษาชั้นนำทั่วโลก
ผศ.ดร.สรวิชญ์ เยาวสุวรรณไชย ประธานหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เห็นว่าหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเหมาะสำหรับท่านที่ทำงานเกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์โดยตรง (การขนส่งและกระจายสินค้า การบริหารคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง การจัดซื้อ การนำเข้าและส่งออกสินค้า) รวมถึงท่านที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม หรือทำงานในธุรกิจ Trading รวมถึงท่านที่ทำงานในส่วนของภาครัฐหรือองค์กรต่างๆ เพราะความรู้ทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนนอกจากจะทำให้ท่านมีทักษะในการจัดการโลจิสติกส์ในแต่ละส่วนย่อย (เช่น ขนส่ง คลังสินค้า จัดซื้อ)แล้ว ยังจะทำให้ท่านสามารถแก้ปัญหาและปรับปรุงการทำงานในภาพรวมได้อย่างเป็นระบบ เพราะท่านจะมีความเข้าใจถึงการเชื่อมโยงและความสัมพันธ์กันของแต่ละแผนกแต่ละฝ่ายในบริษัทหรือองค์กร จนถึงทำให้ท่านสามารถสร้างกลยุทธ์หรือแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างบริษัทหรือองค์กรที่เป็นลูกค้าของท่าน หรือเป็น Supplier ของท่านได้ และในที่สุดคือครอบคลุมถึงทุกส่วนในห่วงโซ่อุปทานที่บริษัทท่านดำเนินธุรกิจหรือประกอบการอยู่ ผลการศึกษาหลายชิ้นระบุตรงกันว่า บริษัทหรือองค์กรที่มีการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนที่ดี จะสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างต่อเนื่องและอยู่รอดในธุรกิจได้ยาวนานกว่าบริษัทที่มีการจัดการที่ไม่ดี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีถือเป็นสถาบันแรกๆ ของประเทศที่เปิดสอนความรู้ด้านการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศว่า หลักสูตรมีความเข้มข้น เมื่อเรียนจบแล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง นักศึกษายังได้รับประโยชน์จากเครือข่ายของศิษย์เก่าที่ทำงานกระจายไปในทุกอุตสาหกรรมและส่วนต่าง ๆ ของประเทศ
ดร.วินัย หอมสมบัติ ประธานหลักสูตรการจัดการ (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) มองว่า “ความสำเร็จ” คือ สิ่งที่ทุกคนและทุกองค์กรต่างต้องการ แต่หากความสำเร็จนั้นหาได้มีสูตรสำเร็จให้บรรลุเป้าหมายและมักไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่ายดายสำหรับทุกองค์กร สิ่งที่สำคัญกว่าและจำเป็นต้องเรียนรู้ คือ ที่มาหรือกลยุทธ์ที่ช่วยให้องค์กรสามารถก้าวขึ้นมาอยู่แถวหน้าได้ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจนหลายๆ ท่านต่างกังวลว่าจะสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร หลายๆ คำถามจึงอาจเกิดขึ้นมาได้ครับ เช่น
• โลกดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทต่อธุรกิจอย่างไร?
• จะผลักดันให้องค์กรปรับตัวให้ทันต่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้อย่างไร?
• ความเป็นเมือง (Urbanization) ที่มากขึ้นผ่านโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะปรับตัวอย่างไร?
• ได้รับมอบหมายให้จัดการโครงการดี ๆ จะทำให้สำเร็จและมีประสิทธิภาพได้อย่างไร?
• และอีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญสำหรับทุกองค์กร คือ จะปรับตัวอย่างไรให้พร้อมรับมือกับรูปแบบการใช้ชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ใหม่ ๆ ของพนักงานได้?
ทุกคำถามจะถูกร่วมกันหาคำตอบไปด้วยกันครับ ที่บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผ่านโครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ที่เน้นสาขาการจัดการเฉพาะทาง ได้แก่ การจัดการธุรกิจดิจิทัล การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม การจัดการอสังหาริมทรัพย์ การบริหารโครงการ และการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งทั้งหมดนี้ถูกออกแบบผ่านกิจกรรมทั้งในห้องเรียนและการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษาจากภาคธุรกิจจริง ที่จะช่วยพัฒนาให้ท่านมีทักษะ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ เพื่อให้ทุกท่านค้นพบคำตอบที่ดีที่สุดและเฉพาะสำหรับท่าน เพราะที่นี่ บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม เราพร้อมรังสรรค์ท่านด้วยการเรียนการสอนเชิงนวัตกรรม การวิจัยที่เกี่ยวเนื่อง และการบริการแก่สังคมที่ยั่งยืน เพื่อสร้างการเป็นผู้นำมืออาชีพสำหรับท่าน
ดร.บุญเกียรติ เอี้ยววงษ์เจริญ ประธานหลักสูตรการจัดการ (วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต) กล่าวว่าหลักสูตรการจัดการ (วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต) ประกอบด้วย 5 สาขาวิชาได้แก่ การบริหารโครงการ การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม การจัดการธุรกิจดิจิทัล การจัดการอสังหาริมทรัพย์ และวิศวกรรมการเงินและการจัดการ โดยหลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทำงานวิจัยในสาขาวิชาดังกล่าว นักศึกษาสามารถเลือกหัวข้อในการวิจัยตามสาขาเพื่อสร้างความเข้าใจในองค์ความรู้ในสาขาให้ลึกซึ้งมากขึ้น ซึ่งทำให้สร้างความเชี่ยวชาญที่จำเพาะ และพัฒนาทักษะในการทำวิจัยที่สามารถนำไปต่อยอดในการทำงานต่อไปในอนาคต
เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่แล้ววันนี้ - 30 เมษายน 2561
บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อาคารเรียนรวม 5 ชั้น 8 เลขที่ 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพ 10140
โทร : (+66)2 470-9799, (+66)81 444-1109
แฟกซ์ : (+66)2 470-9798
อีเมล์ : gmi@kmutt.ac.th
หรือดูรายละเอียดได้ที่ http://www.gmi.kmutt.ac.th/master_program, https://www.facebook.com/gmikmutt