xs
xsm
sm
md
lg

ชมภาพถ่าย “ดวงตา” รพ.วัดไร่ขิง คว้าชนะเลิศภาพทางการแพทย์ระดับโลก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เปิดภาพถ่ายทางจักษุวิทยาของ รพ.เมตตาประชารักษ์ หลังคว้ารางวัลชนะเลิศประกวดผลงานภาพถ่ายทางจักษุวิทยาที่ใหญ่ที่สุดในโลก

นพ.ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ รองอธิบดีทางการแพทย์ กล่าวว่า โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) มีความเชี่ยวชาญเานจักษุวิทยา และมีการวิจัยพัฒนาผลงานวิชาการและนวัตกรรมทางการแพทย์ด้านจักษุวิทยามาตลอด โดยมีเป้าหมายสนับสนุนและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ด้านจักษุวิทยาในระดับเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะด้านเทคโนโลยีการถ่ายภาพจักษุ ซึ่งเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งทางการแพทย์ที่ชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าและศักยภาพด้านการแพทย์ รพ.เมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) จึงได้ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมการถ่ายภาพด้านจักษุวิทยาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งศึกษาดูงานที่ The Yale  Eye Center in  New Haven มลรัฐคอนเนกทิคัต ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ต่อยอดนำองค์ความรู้ มาถ่ายทอดโดยเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรเครื่องมือพิเศษทางจักษุ (Ophthalmic technicians) ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ปัจจุบัน มีบุคลากรที่ผ่านการอบรมกว่า 10 รุ่น

นพ.ปานเนตร กล่าวว่า ล่าสุด นายนิพันธ์ ยอดมณี นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านจักษุวิทยา รพ.เมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) ได้รับรางวัลที่ 1 First Place Monochromatic Photography The Worm in Vitreous, New Orleans, Louisiana USA และรางวัลที่  3 Third Place Composite Retinal Detachment, New Orleans , Louisiana USA จากการส่งผลงานภาพถ่ายจักษุเข้าประกวดในงานประชุมจักษุแพทย์ ณ เมืองนิวออร์ลีนมลรัฐหลุยส์เซียน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยรางวัลดังกล่าวเป็นการประกวดภาพถ่ายทางการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากสมาคม Ophthalmic photographer society ซึ่งเป็นสมาคมที่รวบรวมผู้ใช้เครื่องมือจักษุวิทยาที่ใหญ่ที่สุดและมากที่สุดในโลก

พญ.สายจินต์ อิสีประดิฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กล่าวว่า รางวัลที่ได้รับเป็นการบ่งบอกมาตรฐานด้านจักษุวิทยาว่าประเทศไทยมีศักยภาพ ครบวงจร ทั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปลอดภัย ระบบบริการผู้ป่วยที่รวดเร็ว และสิ่งสำคัญนอกเหนือทางการรักษาแล้ว คือ การสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยเป็นอันดับต้นๆ ของโลกด้านจักษุวิทยา พร้อมทั้งเป็นตัวอย่างให้แก่คนรุ่นหลัง ได้มีแรงผลักดันในการทำงานสามารถวางแผนการดำเนินงานเครื่องมือ รู้จักใช้สิ่งที่มีอยู่ปรับเข้ากับโรค ใช้ประโยชน์เครื่องมือที่มีให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดต่อประชาชน ได้รับการตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือพิเศษทางจักษุอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการวินิจฉัยโรคอย่างแม่นยำถูกต้องที่สุด


กำลังโหลดความคิดเห็น