โดย...ผศ.ดร.ลักคณา วรศิลป์ชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ค่านิยมของคนไทย เชื่อว่า คนเก่ง คือ คนที่ประกอบอาชีพ แพทย์ วิศวกร ทำให้เด็กเรียนสายวิทย์ในระดับมัธยมศึกษา ได้รับการยอมรับ และยกย่อง มากกว่า เด็กเรียนสายศิลป์ นโยบายด้านการศึกษาตั้งแต่ระดับประเทศ และนโยบายระดับโรงเรียน มุ่งเน้นการพัฒนาเด็กสายวิทย์เป็นหลัก การเปรียบเทียบความสามารถทางวิชาการและความมีชื่อเสียง ของโรงเรียน ก็วัดกันที่เด็กสายวิทย์
ปัจจุบันเด็กสายศิลป์ ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยในแต่ละโรงเรียน ถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับความสำคัญไม่ได้รับการพัฒนาและเตรียมทักษะความพร้อมสำหรับการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย เพราะสังคมเชื่อว่า เด็กสายศิลป์ ไม่เก่ง ไม่ใช่ความหวัง จึงทอดทิ้ง
สิ่งที่น่าเสียดาย คือ เด็กไทยส่วนใหญ่ ในระดับมัธยมศึกษา ไม่ค่อยได้มีโอกาสเลือก หรือ ค้นพบตนเองก่อนตัดสินใจเลือกแผนการเรียน ไม่รู้ว่าจริงๆ ตนเองชอบหรือ ถนัดที่จะเรียนสายวิทย์หรือไม่ เพราะ เด็กในวัยมัธยม จะต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่และทำตามค่านิยม ความเชื่อเดิมๆ ที่ว่า เรียนสายวิทย์ไปได้ไกลกว่า มีทางเลือกมากกว่า เก่งกว่า ทำให้เด็กไทยส่วนใหญ่ ถูกคนรอบข้าง ตัดสินใจแทน โดยให้เด็กเรียนสายวิทย์เอาไว้ก่อน

ปัญหาคือ เมื่อมาถึงระดับมหาวิทยาลัย เด็กสายวิทย์ เป็นจำนวนมาก ไม่ได้เรียนต่อมหาวิทยาลัยทางด้านวิทย์เพราะค้นพบตนเองตอนเรียนในระดับมัธยมศึกษาแล้วว่า ไม่ใช่สิ่งที่ตนชอบและถนัด สิ่งที่น่าเสียดายสำหรับประเทศชาติ คือ เราเสียเวลาให้เด็กหลงทางเรียนในสิ่งที่ตนไม่ชอบและไม่ใช่ความถนัด
เด็กสายศิลป์ โดยส่วนใหญ่ ก็จะถูกมองแบบรวมๆ ว่า ให้ไปเน้นภาษา ในหลายโรงเรียน ก็จะเน้นให้มีภาษาที่หลากหลาย เช่น ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ซึ่งจริงๆ แล้ว ไม่เพียงพอ ในการสร้างฐานความสามารถ ก่อนเลือกเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย

เราต้องขยายกรอบเป้าหมายของการพัฒนาแผนการเรียนสายศิลป์ให้กว้างขึ้น เพราะเด็กสายศิลป์มีอนาคตและอาชีพที่เหมาะกับเด็กสายศิลป์มากมาย ไม่ใช่เฉพาะสายงานที่ใช้ภาษาเท่านั้น อาทิเช่น สถาปนิกออกแบบตกแต่งภายใน ดีไซเนอร์ นักออกแบบผลิตภัณฑ์ กราฟิกดีไซเนอร์ นักเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เชฟและนักออกแบบอาหาร
ตัวอย่างอาชีพดังกล่าว เป็นอาชีพที่มีความต้องการในอนาคตเป็นอาชีพที่หุ่นยนต์และเทคโนโลยีเข้ามาทำแทนได้ยากและเป็นอาชีพที่สอดคล้องกับทิศทางไทยแลนด์ 4.0 ที่จะช่วยสร้างนวัตกรรมและมุลค่าให้กับเศรษฐกิจของประเทศจากรากฐานของอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยถนัดและเชี่ยวชาญ

ถึงเวลาแล้ว ที่นโยบายการศึกษาระดับชาติ นโยบายของผู้บริหารโรงเรียน และสังคมไทย ต้องเปลี่ยนวิธีคิด ตามโลกที่เปลี่ยนแปลงไป หันมาให้ความสำคัญ กับเด็กสายศิลป์สนับสนุนให้มีการพัฒนาแบบยกเครื่องในแผนการเรียนสายศิลป์ของทุกโรงเรียนอย่างจริงจัง พัฒนาเด็กไทยทุกคน
ไม่ว่าแผนการเรียนใดให้มีอนาคต ผลักดัน ทั้งเด็กสายวิทย์และสายศิลป์ พร้อมๆ กัน เพราะอนาคตของประเทศไทย อยู่ที่ความพร้อมของทุนมนุษย์ และอนาคตอยู่ที่เด็กไทยรุ่นใหม่ เราต้องทำให้เด็กไทยทุกคน ได้รับการพัฒนาอย่างถ้วนหน้า ไม่ทอดทิ้งเด็กสายใดไว้ข้างหลัง
ค่านิยมของคนไทย เชื่อว่า คนเก่ง คือ คนที่ประกอบอาชีพ แพทย์ วิศวกร ทำให้เด็กเรียนสายวิทย์ในระดับมัธยมศึกษา ได้รับการยอมรับ และยกย่อง มากกว่า เด็กเรียนสายศิลป์ นโยบายด้านการศึกษาตั้งแต่ระดับประเทศ และนโยบายระดับโรงเรียน มุ่งเน้นการพัฒนาเด็กสายวิทย์เป็นหลัก การเปรียบเทียบความสามารถทางวิชาการและความมีชื่อเสียง ของโรงเรียน ก็วัดกันที่เด็กสายวิทย์
ปัจจุบันเด็กสายศิลป์ ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยในแต่ละโรงเรียน ถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับความสำคัญไม่ได้รับการพัฒนาและเตรียมทักษะความพร้อมสำหรับการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย เพราะสังคมเชื่อว่า เด็กสายศิลป์ ไม่เก่ง ไม่ใช่ความหวัง จึงทอดทิ้ง
สิ่งที่น่าเสียดาย คือ เด็กไทยส่วนใหญ่ ในระดับมัธยมศึกษา ไม่ค่อยได้มีโอกาสเลือก หรือ ค้นพบตนเองก่อนตัดสินใจเลือกแผนการเรียน ไม่รู้ว่าจริงๆ ตนเองชอบหรือ ถนัดที่จะเรียนสายวิทย์หรือไม่ เพราะ เด็กในวัยมัธยม จะต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่และทำตามค่านิยม ความเชื่อเดิมๆ ที่ว่า เรียนสายวิทย์ไปได้ไกลกว่า มีทางเลือกมากกว่า เก่งกว่า ทำให้เด็กไทยส่วนใหญ่ ถูกคนรอบข้าง ตัดสินใจแทน โดยให้เด็กเรียนสายวิทย์เอาไว้ก่อน
ปัญหาคือ เมื่อมาถึงระดับมหาวิทยาลัย เด็กสายวิทย์ เป็นจำนวนมาก ไม่ได้เรียนต่อมหาวิทยาลัยทางด้านวิทย์เพราะค้นพบตนเองตอนเรียนในระดับมัธยมศึกษาแล้วว่า ไม่ใช่สิ่งที่ตนชอบและถนัด สิ่งที่น่าเสียดายสำหรับประเทศชาติ คือ เราเสียเวลาให้เด็กหลงทางเรียนในสิ่งที่ตนไม่ชอบและไม่ใช่ความถนัด
เด็กสายศิลป์ โดยส่วนใหญ่ ก็จะถูกมองแบบรวมๆ ว่า ให้ไปเน้นภาษา ในหลายโรงเรียน ก็จะเน้นให้มีภาษาที่หลากหลาย เช่น ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ซึ่งจริงๆ แล้ว ไม่เพียงพอ ในการสร้างฐานความสามารถ ก่อนเลือกเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย
เราต้องขยายกรอบเป้าหมายของการพัฒนาแผนการเรียนสายศิลป์ให้กว้างขึ้น เพราะเด็กสายศิลป์มีอนาคตและอาชีพที่เหมาะกับเด็กสายศิลป์มากมาย ไม่ใช่เฉพาะสายงานที่ใช้ภาษาเท่านั้น อาทิเช่น สถาปนิกออกแบบตกแต่งภายใน ดีไซเนอร์ นักออกแบบผลิตภัณฑ์ กราฟิกดีไซเนอร์ นักเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เชฟและนักออกแบบอาหาร
ตัวอย่างอาชีพดังกล่าว เป็นอาชีพที่มีความต้องการในอนาคตเป็นอาชีพที่หุ่นยนต์และเทคโนโลยีเข้ามาทำแทนได้ยากและเป็นอาชีพที่สอดคล้องกับทิศทางไทยแลนด์ 4.0 ที่จะช่วยสร้างนวัตกรรมและมุลค่าให้กับเศรษฐกิจของประเทศจากรากฐานของอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยถนัดและเชี่ยวชาญ
ถึงเวลาแล้ว ที่นโยบายการศึกษาระดับชาติ นโยบายของผู้บริหารโรงเรียน และสังคมไทย ต้องเปลี่ยนวิธีคิด ตามโลกที่เปลี่ยนแปลงไป หันมาให้ความสำคัญ กับเด็กสายศิลป์สนับสนุนให้มีการพัฒนาแบบยกเครื่องในแผนการเรียนสายศิลป์ของทุกโรงเรียนอย่างจริงจัง พัฒนาเด็กไทยทุกคน
ไม่ว่าแผนการเรียนใดให้มีอนาคต ผลักดัน ทั้งเด็กสายวิทย์และสายศิลป์ พร้อมๆ กัน เพราะอนาคตของประเทศไทย อยู่ที่ความพร้อมของทุนมนุษย์ และอนาคตอยู่ที่เด็กไทยรุ่นใหม่ เราต้องทำให้เด็กไทยทุกคน ได้รับการพัฒนาอย่างถ้วนหน้า ไม่ทอดทิ้งเด็กสายใดไว้ข้างหลัง