โดย...ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พาราควอต คือ สารเคมีกำจัดวัชพืช ที่ไม่ควรมีการอนุญาตให้นำมาใช้ในประเทศไทย โดยมีเหตุผลสำคัญ ดังนี้
1)มีพิษร้ายแรงสูงมาก การกินเพียง 1 ช้อนชา ก็ทำให้เสียชีวิตได้
2)ไม่มียาแก้พิษ การรักษาใดๆก็ไม่ได้ผล
3)มีการใช้อย่างแพร่หลาย กว้างขวาง เกิดผลกระทบในวงกว้าง
4)ซึ่งส่วนหนึ่ง เป็นเพราะราคาไม่แพง
ผลกระทบด้านการฆ่าตัวตาย
ผลกระทบที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ การนำมากิน ทำร้ายตนเอง เพื่อประชดคนใกล้ชิด ทำให้ต้องมาเสียชีวิตโดยไม่สมควร ทั้งๆที่ไม่ได้ตั้งใจฆ่าตัวตาย ดังกรณีศึกษา ต่อไปนี้

การกินสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เป็นวิธีหนึ่ง ที่คนไทยนิยมใช้ทำร้ายตนเองเป็นอันดับต้นๆ เพราะสังคมไทยมีคนประกอบอาชีพเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก การทำการเกษตรโดยใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นที่นิยมแพร่หลาย ตามบ้านเรือนจึงมีภาชนะบรรจุสารเคมีฯวางอยู่ทั่วไป ทำให้เข้าถึงง่าย เมื่อเกิดเหตุกระทบทางจิตใจขึ้นมาในครอบครัว จึงเกิดการตัดสินใจแบบหุนหันพลันแล่น คว้าเอาสารเคมีฯในครัวเรือนมาทำร้ายตนเอง เมื่อกินสารเคมีฯที่มีพิษร้ายแรงสูง เช่น พาราควอต จึงเสียชีวิตโดยไม่สมควร
คนไทยทำร้ายตนเองปีละ 23,000 – 25,000 คน และในจำนวนนี้ ร้อยละ 20 – 25 จะใช้วิธีกินสารเคมีกำจัดศัตรูพืช นั้นคือจะมีคนกินสารเคมีฯ เพื่อฆ่าตัวตายจำนวนประมาณ 5,000 – 5,600 คนต่อปี ผู้ทำร้ายตนเองจะเสียชีวิตปีละ 3,900 – 4,200 ราย คนที่ทำร้ายตนเองส่วนใหญ่ ร้อยละ 63 หรือสองในสาม ไม่ได้คิดฆ่าตัวตาย เป็นเพียงความคิดชั่ววูบ เพื่อหลบหนีปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่เท่านั้น [1]
ใครที่คิดว่า เพราะเขาอยากตายเอง ก็ต้องปล่อยไปนั้น ท่านคิดผิด ผิดไปจากข้อเท็จจริง !
การฆ่าตัวตายสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าที่สูงมาก จากการศึกษาของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ประเทศสูญเสียทรัพยากรมนุษย์จากการฆ่าตัวตาย คิดเป็นความสูญเสียเชิงเศรษฐศาสตร์ประมาณปีละ 16,000 ล้านบาท [2] หนึ่งในคนไทยที่ฆ่าตัวตาย โดยการกินพาราควอท มีอาชีพเป็นแพทย์หญิงในจังหวัดแห่งหนึ่งในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นับเป็นความสูญเสียของประเทศชาติอย่างมาก
คนที่ฆ่าตัวตายส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน อายุยังน้อย มีอายุเฉลี่ย 44.8 ปี ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20 – 50 ปี [3] เป็นกำลังแรงงานที่สำคัญของครอบครัวและประเทศชาติ ทำงานเลี้ยงครอบครัว และมีศักยภาพที่จะเสียภาษีทั้งทางตรงทางอ้อมในอนาคต
กว่าที่คนไทยคนหนึ่งจะเติบโตขึ้นมาจนเป็นผู้ใหญ่นั้น ทั้งครอบครัวและรัฐบาลได้ลงทุนไปกับคนคนนี้มากมาย ทั้งค่าใช้จ่ายด้านระบบบริการสุขภาพตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ค่าเลี้ยงดู การลงทุนด้านระบบการศึกษา และอื่นๆ ที่ให้กับคนๆนี้ เมื่อเขาเสียชีวิตไป ย่อมหมายถึงความความสูญเปล่าของการลงทุนที่ผ่านมาอันมากมายมหาศาล
อนิจจา ! ที่สังคมไทย มองชีวิตคนๆ หนึ่ง แบบไร้ค่า ปล่อยให้คนไทยเสียชีวิตโดยไม่สมควรเช่นนี้มาอย่างยาวนาน
บทเรียนจากต่างประเทศพบว่า ถ้ายกเลิกการใช้พาราควอททำให้อัตราการฆ่าตัวตายลดลง
ปัญหาการฆ่าตัวตายโดยการกินพาราควอต เป็นปัญหาระดับโลก มีอัตราป่วยตาย (case fatality) ที่สูงมาก เป็นอันดับต้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับสารเคมีตัวอื่นๆ มีค่ากลางของอัตราป่วยตาย อยู่ที่ร้อยละ 54.2 และจะสูงถึงร้อยละ 100 (เสียชีวิตทุกราย) หากกินในปริมาณมาก [4] ทำให้หลายประเทศออกมาตรการมาควบคุม เพื่อปกป้องทรัพยากรบุคคลของชาติ ไม่ให้เสียชีวิตโดยไม่สมควร นับตั้งแต่การจำกัดการใช้ การควบคุมการใช้ ไปจนถึงการถอนทะเบียนไม่อนุญาตให้ใช้เลย (Ban)
ผลลัพธ์จากการยกเลิกการใช้พาราควอต ทำให้หลายประเทศประสบความสำเร็จ ในการลดอัตราการฆ่าตัวตายลงได้อย่างชัดเจน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ประเทศซามัว
เดิมทีอัตราการฆ่าตัวตายของประเทศนี้ต่ำ เมื่อเริ่มมีการนำพาราควอตมาใช้ในช่วงปี ค.ศ.1972 อัตราการฆ่าตัวตายจึงค่อยๆเพิ่มขึ้น จากอัตรา 6.7 ต่อประชากรแสน เป็น 31.3 ต่อประชากรแสน ในปี ค.ศ.1981 หลังจากใช้ความพยายามในการควบคุมอย่างจริงจัง พบว่า ในระยะเวลา 3 ปีต่อมาอัตราการฆ่าตัวตายจึงลดลง เหลือ 9.4 ต่อประชากรแสนคน (WHO, 2002) [5][6]
ประเทศเกาหลีใต้
ปัญหาการฆ่าตัวตายในประเทศเกาหลีใต้ มีความรุนแรง ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจต่อการเสียชีวิต 1 ราย คิดเป็นอันดับสาม รองจากปัญหาการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุและโรคติดเชื้อ [7] หลังจากที่รัฐบาลถอนทะเบียนพาราควอตในช่วงปี ค.ศ.2011-2012 พบว่า อีกสองปีต่อมา ทำให้อัตราการฆ่าตัวตายโดยใช้สารเคมีฯลดลงครึ่งหนึ่ง จากอัตรา 5.26 ต่อประชากรแสนคน เหลือเพียง 2.67 ต่อประชากรแสนคน นั่นคือการหยุดยั้งพาราควอทช่วยรักษาชีวิตคนไว้ได้เป็นจำนวนมากถึง 847 คน ทั้งเพศชาย เพศหญิง ทุกกลุ่มอายุ และทุกพื้นที่ [8] และยิ่งติดตามไปนานขึ้น อัตราการฆ่าตัวตาย ยิ่งลดลงไปอีก [9]
ประเทศศรีลังกา
ประเทศศรีลังกา เคยมีสถิติการฆ่าตัวตายที่สูงที่สุดในเอเชีย คิดเป็นอัตรา 25 รายต่อประชากรแสนคนในปี ค.ศ. 2002 ต่อมาเมื่อรัฐบาลออกมาตรการควบคุมเรื่องสารเคมีฯอย่างจริงจัง โดยการถอนทะเบียนพาราควอท ไดเมโธเอท และไธโอฟอน ในช่วงปี ค.ศ.2007 – 2011 ทำให้อัตราการฆ่าตัวตายในภาพรวมลดลง จาก อัตรา 18.3 รายต่อประชากรแสนคน ในปี ค.ศ.2011 เหลือเพียง อัตรา 14.3 รายต่อประชากรแสนคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถิติการฆ่าตัวตายโดยใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ลดลงจาก อัตรา 8.5 รายต่อประชากรแสนคน ในปี ค.ศ.2011 เหลือเพียง 4.2 รายต่อประชากรแสนคน ในปี ค.ศ. 2015 [10] หรือลดลงไปถึงครึ่งหนึ่ง
สรุปส่งท้าย
ปัญหาการฆ่าตัวตายจากการกินสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งพาราควอต สร้างความสูญเสียต่อชีวิตคนไทย เป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ บทเรียนจากต่างประเทศเห็นได้ชัดเจนว่าปัญหานี้แก้ได้ หากผู้รับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นคุณค่าของชีวิตคนไทย ต้องใช้ความกล้าหาญทางจริยธรรม ประกาศให้พาราควอทเป็นสารเคมีอันตราย ประเภทที่ 4 และยกเลิกการขึ้นทะเบียนพาราควอท โดยทันที
เอกสารอ้างอิง
1. กรมสุขภาพจิต. สถิติการฆ่าตัวตาย พ.ศ. 2550 – 2552. นนทบุรี. 2550 - 2552.
2. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. ฆ่าตัวตาย: สูญเสียทางเศรษฐกิจ 16,000 ล้านบาท. มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1857. 2549.
3. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2557. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. 2558.
4. Moebus S, Boedeker W. Case fatality as an indicator for the human toxicity of pesticides - a systematic review on the availability and variability of severity indicators of pesticide poisoning. BioRxiv. April 12, 2017. http://dx.doi.org/10.1101/126615 [http://bit.ly/2AAxcIF]
5. WHO 2002. World Report on Violence and Health, Geneva, ISBN 9241545616. Global Burden of Diseases and Injury Series, Vol. 1, Cambridge, MA.
6. Bowles JR. Suicide in Western Samoa – an example of a suicide prevention programme in a developing country, in: Diekstra RFW et al. (eds.): Preventive strategies on suicide, Brill Academic Publishers, Leiden/Brill, p.173-206.
7. Choi Y, Kim Y, Ko Y, Cha ES, Kim J, Lee WJ. Economic burden of acute pesticide poisoning in South Korea. Trop Med Int Health. 2012 Dec;17(12):1534-43. doi: 10.1111/j.1365-3156.2012.03096.x. Epub 2012 Oct 11.
8. Cha ES, Chang SS, Gunnell D, Eddleston M, Khang YH, Lee WJ. Impact of paraquat regulation on suicide in South Korea. Int J Epidemiol. 2016 Apr;45(2):470-9. doi: 10.1093/ije/dyv304. Epub 2015 Nov 18.
9. Myung W, Lee GH, Won HH, et al. Paraquat Prohibition and Change in the Suicide Rate and Methods in South Korea. PLoS One. 2015; 10(6): e0128980. doi: 10.1371/journal.pone.0128980
10. Knipe DW, Chang SS, Dawson A, Eddleston M, Konradsen F, Metcalfe C, Gunnell D.
Suicide prevention through means restriction: Impact of the 2008-2011 pesticide restrictions on suicide in Sri Lanka. PLoS One. 2017 Mar 6;12(3):e0172893. doi: 10.1371/journal.pone.0172893. eCollection 2017.
พาราควอต คือ สารเคมีกำจัดวัชพืช ที่ไม่ควรมีการอนุญาตให้นำมาใช้ในประเทศไทย โดยมีเหตุผลสำคัญ ดังนี้
1)มีพิษร้ายแรงสูงมาก การกินเพียง 1 ช้อนชา ก็ทำให้เสียชีวิตได้
2)ไม่มียาแก้พิษ การรักษาใดๆก็ไม่ได้ผล
3)มีการใช้อย่างแพร่หลาย กว้างขวาง เกิดผลกระทบในวงกว้าง
4)ซึ่งส่วนหนึ่ง เป็นเพราะราคาไม่แพง
ผลกระทบด้านการฆ่าตัวตาย
ผลกระทบที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ การนำมากิน ทำร้ายตนเอง เพื่อประชดคนใกล้ชิด ทำให้ต้องมาเสียชีวิตโดยไม่สมควร ทั้งๆที่ไม่ได้ตั้งใจฆ่าตัวตาย ดังกรณีศึกษา ต่อไปนี้
การกินสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เป็นวิธีหนึ่ง ที่คนไทยนิยมใช้ทำร้ายตนเองเป็นอันดับต้นๆ เพราะสังคมไทยมีคนประกอบอาชีพเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก การทำการเกษตรโดยใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นที่นิยมแพร่หลาย ตามบ้านเรือนจึงมีภาชนะบรรจุสารเคมีฯวางอยู่ทั่วไป ทำให้เข้าถึงง่าย เมื่อเกิดเหตุกระทบทางจิตใจขึ้นมาในครอบครัว จึงเกิดการตัดสินใจแบบหุนหันพลันแล่น คว้าเอาสารเคมีฯในครัวเรือนมาทำร้ายตนเอง เมื่อกินสารเคมีฯที่มีพิษร้ายแรงสูง เช่น พาราควอต จึงเสียชีวิตโดยไม่สมควร
คนไทยทำร้ายตนเองปีละ 23,000 – 25,000 คน และในจำนวนนี้ ร้อยละ 20 – 25 จะใช้วิธีกินสารเคมีกำจัดศัตรูพืช นั้นคือจะมีคนกินสารเคมีฯ เพื่อฆ่าตัวตายจำนวนประมาณ 5,000 – 5,600 คนต่อปี ผู้ทำร้ายตนเองจะเสียชีวิตปีละ 3,900 – 4,200 ราย คนที่ทำร้ายตนเองส่วนใหญ่ ร้อยละ 63 หรือสองในสาม ไม่ได้คิดฆ่าตัวตาย เป็นเพียงความคิดชั่ววูบ เพื่อหลบหนีปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่เท่านั้น [1]
ใครที่คิดว่า เพราะเขาอยากตายเอง ก็ต้องปล่อยไปนั้น ท่านคิดผิด ผิดไปจากข้อเท็จจริง !
การฆ่าตัวตายสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าที่สูงมาก จากการศึกษาของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ประเทศสูญเสียทรัพยากรมนุษย์จากการฆ่าตัวตาย คิดเป็นความสูญเสียเชิงเศรษฐศาสตร์ประมาณปีละ 16,000 ล้านบาท [2] หนึ่งในคนไทยที่ฆ่าตัวตาย โดยการกินพาราควอท มีอาชีพเป็นแพทย์หญิงในจังหวัดแห่งหนึ่งในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นับเป็นความสูญเสียของประเทศชาติอย่างมาก
คนที่ฆ่าตัวตายส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน อายุยังน้อย มีอายุเฉลี่ย 44.8 ปี ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20 – 50 ปี [3] เป็นกำลังแรงงานที่สำคัญของครอบครัวและประเทศชาติ ทำงานเลี้ยงครอบครัว และมีศักยภาพที่จะเสียภาษีทั้งทางตรงทางอ้อมในอนาคต
กว่าที่คนไทยคนหนึ่งจะเติบโตขึ้นมาจนเป็นผู้ใหญ่นั้น ทั้งครอบครัวและรัฐบาลได้ลงทุนไปกับคนคนนี้มากมาย ทั้งค่าใช้จ่ายด้านระบบบริการสุขภาพตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ค่าเลี้ยงดู การลงทุนด้านระบบการศึกษา และอื่นๆ ที่ให้กับคนๆนี้ เมื่อเขาเสียชีวิตไป ย่อมหมายถึงความความสูญเปล่าของการลงทุนที่ผ่านมาอันมากมายมหาศาล
อนิจจา ! ที่สังคมไทย มองชีวิตคนๆ หนึ่ง แบบไร้ค่า ปล่อยให้คนไทยเสียชีวิตโดยไม่สมควรเช่นนี้มาอย่างยาวนาน
บทเรียนจากต่างประเทศพบว่า ถ้ายกเลิกการใช้พาราควอททำให้อัตราการฆ่าตัวตายลดลง
ปัญหาการฆ่าตัวตายโดยการกินพาราควอต เป็นปัญหาระดับโลก มีอัตราป่วยตาย (case fatality) ที่สูงมาก เป็นอันดับต้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับสารเคมีตัวอื่นๆ มีค่ากลางของอัตราป่วยตาย อยู่ที่ร้อยละ 54.2 และจะสูงถึงร้อยละ 100 (เสียชีวิตทุกราย) หากกินในปริมาณมาก [4] ทำให้หลายประเทศออกมาตรการมาควบคุม เพื่อปกป้องทรัพยากรบุคคลของชาติ ไม่ให้เสียชีวิตโดยไม่สมควร นับตั้งแต่การจำกัดการใช้ การควบคุมการใช้ ไปจนถึงการถอนทะเบียนไม่อนุญาตให้ใช้เลย (Ban)
ผลลัพธ์จากการยกเลิกการใช้พาราควอต ทำให้หลายประเทศประสบความสำเร็จ ในการลดอัตราการฆ่าตัวตายลงได้อย่างชัดเจน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ประเทศซามัว
เดิมทีอัตราการฆ่าตัวตายของประเทศนี้ต่ำ เมื่อเริ่มมีการนำพาราควอตมาใช้ในช่วงปี ค.ศ.1972 อัตราการฆ่าตัวตายจึงค่อยๆเพิ่มขึ้น จากอัตรา 6.7 ต่อประชากรแสน เป็น 31.3 ต่อประชากรแสน ในปี ค.ศ.1981 หลังจากใช้ความพยายามในการควบคุมอย่างจริงจัง พบว่า ในระยะเวลา 3 ปีต่อมาอัตราการฆ่าตัวตายจึงลดลง เหลือ 9.4 ต่อประชากรแสนคน (WHO, 2002) [5][6]
ประเทศเกาหลีใต้
ปัญหาการฆ่าตัวตายในประเทศเกาหลีใต้ มีความรุนแรง ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจต่อการเสียชีวิต 1 ราย คิดเป็นอันดับสาม รองจากปัญหาการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุและโรคติดเชื้อ [7] หลังจากที่รัฐบาลถอนทะเบียนพาราควอตในช่วงปี ค.ศ.2011-2012 พบว่า อีกสองปีต่อมา ทำให้อัตราการฆ่าตัวตายโดยใช้สารเคมีฯลดลงครึ่งหนึ่ง จากอัตรา 5.26 ต่อประชากรแสนคน เหลือเพียง 2.67 ต่อประชากรแสนคน นั่นคือการหยุดยั้งพาราควอทช่วยรักษาชีวิตคนไว้ได้เป็นจำนวนมากถึง 847 คน ทั้งเพศชาย เพศหญิง ทุกกลุ่มอายุ และทุกพื้นที่ [8] และยิ่งติดตามไปนานขึ้น อัตราการฆ่าตัวตาย ยิ่งลดลงไปอีก [9]
ประเทศศรีลังกา
ประเทศศรีลังกา เคยมีสถิติการฆ่าตัวตายที่สูงที่สุดในเอเชีย คิดเป็นอัตรา 25 รายต่อประชากรแสนคนในปี ค.ศ. 2002 ต่อมาเมื่อรัฐบาลออกมาตรการควบคุมเรื่องสารเคมีฯอย่างจริงจัง โดยการถอนทะเบียนพาราควอท ไดเมโธเอท และไธโอฟอน ในช่วงปี ค.ศ.2007 – 2011 ทำให้อัตราการฆ่าตัวตายในภาพรวมลดลง จาก อัตรา 18.3 รายต่อประชากรแสนคน ในปี ค.ศ.2011 เหลือเพียง อัตรา 14.3 รายต่อประชากรแสนคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถิติการฆ่าตัวตายโดยใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ลดลงจาก อัตรา 8.5 รายต่อประชากรแสนคน ในปี ค.ศ.2011 เหลือเพียง 4.2 รายต่อประชากรแสนคน ในปี ค.ศ. 2015 [10] หรือลดลงไปถึงครึ่งหนึ่ง
สรุปส่งท้าย
ปัญหาการฆ่าตัวตายจากการกินสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งพาราควอต สร้างความสูญเสียต่อชีวิตคนไทย เป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ บทเรียนจากต่างประเทศเห็นได้ชัดเจนว่าปัญหานี้แก้ได้ หากผู้รับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นคุณค่าของชีวิตคนไทย ต้องใช้ความกล้าหาญทางจริยธรรม ประกาศให้พาราควอทเป็นสารเคมีอันตราย ประเภทที่ 4 และยกเลิกการขึ้นทะเบียนพาราควอท โดยทันที
เอกสารอ้างอิง
1. กรมสุขภาพจิต. สถิติการฆ่าตัวตาย พ.ศ. 2550 – 2552. นนทบุรี. 2550 - 2552.
2. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. ฆ่าตัวตาย: สูญเสียทางเศรษฐกิจ 16,000 ล้านบาท. มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1857. 2549.
3. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2557. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. 2558.
4. Moebus S, Boedeker W. Case fatality as an indicator for the human toxicity of pesticides - a systematic review on the availability and variability of severity indicators of pesticide poisoning. BioRxiv. April 12, 2017. http://dx.doi.org/10.1101/126615 [http://bit.ly/2AAxcIF]
5. WHO 2002. World Report on Violence and Health, Geneva, ISBN 9241545616. Global Burden of Diseases and Injury Series, Vol. 1, Cambridge, MA.
6. Bowles JR. Suicide in Western Samoa – an example of a suicide prevention programme in a developing country, in: Diekstra RFW et al. (eds.): Preventive strategies on suicide, Brill Academic Publishers, Leiden/Brill, p.173-206.
7. Choi Y, Kim Y, Ko Y, Cha ES, Kim J, Lee WJ. Economic burden of acute pesticide poisoning in South Korea. Trop Med Int Health. 2012 Dec;17(12):1534-43. doi: 10.1111/j.1365-3156.2012.03096.x. Epub 2012 Oct 11.
8. Cha ES, Chang SS, Gunnell D, Eddleston M, Khang YH, Lee WJ. Impact of paraquat regulation on suicide in South Korea. Int J Epidemiol. 2016 Apr;45(2):470-9. doi: 10.1093/ije/dyv304. Epub 2015 Nov 18.
9. Myung W, Lee GH, Won HH, et al. Paraquat Prohibition and Change in the Suicide Rate and Methods in South Korea. PLoS One. 2015; 10(6): e0128980. doi: 10.1371/journal.pone.0128980
10. Knipe DW, Chang SS, Dawson A, Eddleston M, Konradsen F, Metcalfe C, Gunnell D.
Suicide prevention through means restriction: Impact of the 2008-2011 pesticide restrictions on suicide in Sri Lanka. PLoS One. 2017 Mar 6;12(3):e0172893. doi: 10.1371/journal.pone.0172893. eCollection 2017.