กระแส “ตูน บอดี้สแลม” ออกมาวิ่งรับบริจาคช่วยเหลือโรงพยาบาล 11 แห่ง ในโครงการก้าวคนละก้าว จาก อ.เบตง จ.ยะลา จนถึง อ.แม่สาย จ.เชียงราย เชื่อว่า คงปลุกกระแสให้คนสนใจหันมาวิ่งได้อีกเพียบ แต่หลายคนยังมีคำถามติดอยู่ในใจ อย่างวิ่งแล้วทำให้ขาใหญ่ วิ่งแล้วจะผอมไหม ทางนี้ “กรมอนามัย” มีคำตอบ
1. วิ่งแล้วทำให้ขาใหญ่?
วิ่งมีส่วนช่วยให้ช่วงขาเรียวงาม การออกกำลังกายโดยทั่วไปไม่ทำให้กล้ามเนื้อใหญ่ขึ้นง่ายๆ โดยเฉพาะผู้หญิง แม้แต่การบริหารเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน ยังยากที่จะทำให้กล้ามเนื้อของผู้หญิงใหญ่ขึ้น แต่การวิ่งทำให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้น ในขณะที่ไขมันใต้ผิวหนังลดลง อย่างไรก็ตาม จำเป็นที่จะต้องควบคุมเรื่องอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการด้วย
อาการบวมน้ำบริเวณขาภายหลังจากการวิ่ง หากสังเกตบริเวณน่อง อาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่าขาใหญ่ขึ้น เพราะเมื่อออกกำลังกายอย่างหนัก เลือดจะถูกส่งไปบริเวณนั้นมากขึ้น มีลักษณะคล้ายอาการบวมน้ำ ซึ่งเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้หลังออกกำลังกายอย่างหนัก วิธีแก้ไขก็คือต้องมีการคูลดาวน์ และยืดเหยียดกล้ามเนื้อภายหลังจากการออกกำลังกายหรือจากการวิ่ง
2. วิ่งแล้วจะผอมใช่ไหม?
ตอบเลยว่าใช่ เพราะการวิ่งจะช่วยในเรื่องของการเผาผลาญไขมันในร่างกายทำให้กล้ามเนื้อกระชับมากขึ้น แต่ทั้งนี้ควรมีการดูแลและควบคุมการรับประทานอาหารให้ได้ในปริมาณที่พอเหมาะ รวมทั้งมีการเสริมสร้างกล้ามเนื้อด้วยการฝึกความแข็งแรงร่วมด้วย
3. วิ่งแล้วทำให้หัวเข่าและข้อเสื่อม
ความเชื่อที่ว่าการวิ่งทำให้หัวเข่าและข้อเท้าเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น ความจริงแล้วการวิ่งที่ถูกวิธีอย่างต่อเนื่อง ช่วยป้องกันการเสื่อมเร็วของข้อต่อ การหยุดวิ่งหรือขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสมต่างหากที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้ข้อเสื่อม เพราะการวิ่งแต่ละก้าวมีแรงกดที่กระดูกอ่อนผิวข้อซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายฟองน้ำคอยรับแรงกระแทกในข้อแรงกดและปล่อยอย่างเป็นจังหวะจากการวิ่งจะเพิ่มการหมุนเวียนน้ำหล่อเลี้ยงภายในข้อ ซึ่งเป็นสารอาหารให้เซลล์กระดูกอ่อนซึ่งไม่มีเลือดมาเลี้ยงและต้องได้สารอาหารและออกซิเจนจากน้ำหล่อเลี้ยงข้อเท่านั้น การเคลื่อนไหวข้อที่มีแรงกดที่กระดูกอ่อนอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอจึงเป็นการให้สารอาหารกระดูกอ่อนกระตุ้นการสร้างและซ่อมส่วนที่สึกหรอ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อข้อเสื่อม
4. วิ่งเวลาไหนดี?
การวิ่งไม่ว่าจะเวลาไหน ต่างมีผลต่อสุขภาพทั้งสิ้น ใครสะดวกเวลาไหนก็สามารถออกกำลังกายเวลานั้น “สิ่งสำคัญคือความสม่ำเสมอ”
5. เหนื่อยแค่ไหน ควรหยุดวิ่ง
ควรหยุดวิ่งเมื่อหายใจไม่ทัน หายใจไม่ทั่วท้อง เวียนศีรษะ หรือเริ่มตาพร่าลาย เหงื่อออกมากเกินกว่าปกติหรือมือเท้าเย็นเฉียบ หัวใจเต้นรัวผิดปกติ รู้สึกถึงใจที่เต้นแรง และเร็ว
6. วิ่ง Outdoor กับวิ่งบนลู่ได้ผลเหมือนกันหรือไม่?
การวิ่งบนลู่วิ่งสายพานจะได้ผลเหมือนกับการวิ่งบนทางราบ ถ้าเราได้ใช้กำลังในการออกแรงวิ่งเท่าๆ กัน โดยสามารถวัดได้จากอัตราการเต้นของหัวใจ หรือความรู้สึกเหนื่อยขณะที่วิ่ง แต่ถ้าเปรียบเทียบการวิ่งด้วยความเร็วที่เท่ากันบนทางราบ กับบนลู่วิ่งสายพาย จะพบว่า การวิ่งบนลู่วิ่งสายพานนั้นจะเหนื่อยน้อยกว่า ก็เพราะว่าการวิ่งบนสายพานจะไม่มีแรงต้านจากอากาศหรือลม และตัวสายพานที่เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาก็เป็นตัวช่วยผ่อนแรงวิ่งของเรา ซึ่งต่างจากการวิ่งบนทางราบที่ขาของเราจะต้องออกแรงผลักพื้นเพื่อให้ตัวเราพุ่งไปข้างหน้าหรือเผาผลาญพลังงานได้น้อยกว่านั่นเอง
7. วิ่งแค่ไหนได้สุขภาพ?
การวิ่งสำหรับมือใหม่ควรวิ่งจากความเร็วน้อยๆ ให้ติดต่อกันให้ได้ 10 นาที สะสมให้ได้ 30 นาที ในแต่ละวัน อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ เมื่อรู้สึกว่าวิ่ง 10 นาทีอาการเหนื่อยน้อยลงแสดงว่ามีความฟิตมากขึ้นจึงค่อยๆ เพิ่มเวลาการวิ่งต่อเนื่องให้ได้ 30 นาทีต่อวัน
1. วิ่งแล้วทำให้ขาใหญ่?
วิ่งมีส่วนช่วยให้ช่วงขาเรียวงาม การออกกำลังกายโดยทั่วไปไม่ทำให้กล้ามเนื้อใหญ่ขึ้นง่ายๆ โดยเฉพาะผู้หญิง แม้แต่การบริหารเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน ยังยากที่จะทำให้กล้ามเนื้อของผู้หญิงใหญ่ขึ้น แต่การวิ่งทำให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้น ในขณะที่ไขมันใต้ผิวหนังลดลง อย่างไรก็ตาม จำเป็นที่จะต้องควบคุมเรื่องอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการด้วย
อาการบวมน้ำบริเวณขาภายหลังจากการวิ่ง หากสังเกตบริเวณน่อง อาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่าขาใหญ่ขึ้น เพราะเมื่อออกกำลังกายอย่างหนัก เลือดจะถูกส่งไปบริเวณนั้นมากขึ้น มีลักษณะคล้ายอาการบวมน้ำ ซึ่งเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้หลังออกกำลังกายอย่างหนัก วิธีแก้ไขก็คือต้องมีการคูลดาวน์ และยืดเหยียดกล้ามเนื้อภายหลังจากการออกกำลังกายหรือจากการวิ่ง
2. วิ่งแล้วจะผอมใช่ไหม?
ตอบเลยว่าใช่ เพราะการวิ่งจะช่วยในเรื่องของการเผาผลาญไขมันในร่างกายทำให้กล้ามเนื้อกระชับมากขึ้น แต่ทั้งนี้ควรมีการดูแลและควบคุมการรับประทานอาหารให้ได้ในปริมาณที่พอเหมาะ รวมทั้งมีการเสริมสร้างกล้ามเนื้อด้วยการฝึกความแข็งแรงร่วมด้วย
3. วิ่งแล้วทำให้หัวเข่าและข้อเสื่อม
ความเชื่อที่ว่าการวิ่งทำให้หัวเข่าและข้อเท้าเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น ความจริงแล้วการวิ่งที่ถูกวิธีอย่างต่อเนื่อง ช่วยป้องกันการเสื่อมเร็วของข้อต่อ การหยุดวิ่งหรือขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสมต่างหากที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้ข้อเสื่อม เพราะการวิ่งแต่ละก้าวมีแรงกดที่กระดูกอ่อนผิวข้อซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายฟองน้ำคอยรับแรงกระแทกในข้อแรงกดและปล่อยอย่างเป็นจังหวะจากการวิ่งจะเพิ่มการหมุนเวียนน้ำหล่อเลี้ยงภายในข้อ ซึ่งเป็นสารอาหารให้เซลล์กระดูกอ่อนซึ่งไม่มีเลือดมาเลี้ยงและต้องได้สารอาหารและออกซิเจนจากน้ำหล่อเลี้ยงข้อเท่านั้น การเคลื่อนไหวข้อที่มีแรงกดที่กระดูกอ่อนอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอจึงเป็นการให้สารอาหารกระดูกอ่อนกระตุ้นการสร้างและซ่อมส่วนที่สึกหรอ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อข้อเสื่อม
4. วิ่งเวลาไหนดี?
การวิ่งไม่ว่าจะเวลาไหน ต่างมีผลต่อสุขภาพทั้งสิ้น ใครสะดวกเวลาไหนก็สามารถออกกำลังกายเวลานั้น “สิ่งสำคัญคือความสม่ำเสมอ”
5. เหนื่อยแค่ไหน ควรหยุดวิ่ง
ควรหยุดวิ่งเมื่อหายใจไม่ทัน หายใจไม่ทั่วท้อง เวียนศีรษะ หรือเริ่มตาพร่าลาย เหงื่อออกมากเกินกว่าปกติหรือมือเท้าเย็นเฉียบ หัวใจเต้นรัวผิดปกติ รู้สึกถึงใจที่เต้นแรง และเร็ว
6. วิ่ง Outdoor กับวิ่งบนลู่ได้ผลเหมือนกันหรือไม่?
การวิ่งบนลู่วิ่งสายพานจะได้ผลเหมือนกับการวิ่งบนทางราบ ถ้าเราได้ใช้กำลังในการออกแรงวิ่งเท่าๆ กัน โดยสามารถวัดได้จากอัตราการเต้นของหัวใจ หรือความรู้สึกเหนื่อยขณะที่วิ่ง แต่ถ้าเปรียบเทียบการวิ่งด้วยความเร็วที่เท่ากันบนทางราบ กับบนลู่วิ่งสายพาย จะพบว่า การวิ่งบนลู่วิ่งสายพานนั้นจะเหนื่อยน้อยกว่า ก็เพราะว่าการวิ่งบนสายพานจะไม่มีแรงต้านจากอากาศหรือลม และตัวสายพานที่เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาก็เป็นตัวช่วยผ่อนแรงวิ่งของเรา ซึ่งต่างจากการวิ่งบนทางราบที่ขาของเราจะต้องออกแรงผลักพื้นเพื่อให้ตัวเราพุ่งไปข้างหน้าหรือเผาผลาญพลังงานได้น้อยกว่านั่นเอง
7. วิ่งแค่ไหนได้สุขภาพ?
การวิ่งสำหรับมือใหม่ควรวิ่งจากความเร็วน้อยๆ ให้ติดต่อกันให้ได้ 10 นาที สะสมให้ได้ 30 นาที ในแต่ละวัน อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ เมื่อรู้สึกว่าวิ่ง 10 นาทีอาการเหนื่อยน้อยลงแสดงว่ามีความฟิตมากขึ้นจึงค่อยๆ เพิ่มเวลาการวิ่งต่อเนื่องให้ได้ 30 นาทีต่อวัน