ผ่านพันไปแล้วกับวันแห่งประวัติศาสตร์ชาติไทย วันแห่งการรวมศูนย์จิตใจของประชาชนชาวไทยจากทั่วทุกมุมโลกในวันที่ 26 ตุลาคม 2560 งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
แม้จะมีการเตรียมตัวเตรียมใจมาเป็นระยะเวลากว่า 1 ปี ตั้งแต่พระองค์ท่านเสด็จสวรรคต แต่ก็ดูเหมือนปวงชนชาวไทยก็ยากต่อการทำใจ เพราะสื่งที่พระองค์ท่านทรงงานหนักมาตลอดระยะเวลา 70 ปี และทรงทุ่มเทพระวรกาย ก็เพื่อประชาชนคนไทยอย่างแท้จริง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้
และแน่นอนว่าพระองค์ท่านจะสถิตอยู่ในใจตราบนิจนิรันดร์
ไม่เพียงเท่านั้น ด้วยคุณูปการของพระองค์ท่านทำให้เกิดปรากฏการณ์กระแสตื่นตัวของประชาชนคนไทยอย่างมาก ในการอยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง บางคนยอมเปลี่ยนชีวิตตัวเองทันที บางคนพยายามเปลี่ยนแปลง บางคนได้รับแรงบันดาลใจ บางคนขอเป็นจิตอาสา ฯลฯ เรียกว่ามีความพยายามจากทั่วทุกสารทิศในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่คิดว่าจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น อยากทำความดี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเรื่องที่กระตุ้นให้ผู้คนหันมาสนใจแนวทางการใช้ชีวิต “พอเพียง” เพื่อเดินตามรอยพระองค์ท่าน ซึ่งทรงเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุด
พระองค์ท่านเคยมีพระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ 4 ธันวาคม 2541 ว่า
“เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกินก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...
“พอเพียง มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือ คำว่าพอ ก็พอเพียงนี้ก็พอแค่นั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมี มีมากอาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น...”
เป็นการขยายภาพทำให้เห็นแนวทางคำว่า “พอเพียง” ได้ชัดเจน
การเลี้ยงดูลูกก็เช่นกัน ถ้าคนเป็นพ่อแม่สามารถนำแนวทางของพระองค์ท่านมาปรับประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตน และการเลี้ยงดูลูกน้อย ก็จะนำไปสู่การพัฒนาลูกของเราให้เติบโตขึ้นไปอย่างมีทักษะชีวิต และเป็นคนดีต่อไปในสังคม
โดยแนวทางที่สามารถนำไปปรับใช้มี “3 พอ” ได้แก่ “พอเพียง”, “พอดี” และ “พอใจ”
“พอเพียง”
หนึ่ง เริ่มจากรู้จักประหยัด ใช้ทรัพย์สินของตนเอง เช่น เงิน สิ่งของ เครื่องใช้ ฯลฯ อย่างรู้คุณค่า คุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี รวมทั้งการใช้เวลาอย่างเหมาะสม ใช้ทรัพยากรของส่วนรวมอย่างประหยัด
สอง ลด ละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีวิตอย่างจริงจัง ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ
สาม ไม่แก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายแบบต่อสู้ดุเดือด ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และมีคุณธรรม
สี่ ขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียง เพื่อสร้างตนเองให้มั่นคง มีความสุข พอมีพอกิน การใช้ชีวิตประจำวันบนพื้นฐานของความรู้ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม ยอมรับและปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
“พอดี”
เริ่มง่ายๆ จากเรื่องในครอบครัวก่อน
หนึ่ง ลองสำรวจดูว่าเรามีของใช้ภายในครัวเรือนมากเกินไปไหม ข้าวของเครื่องใช้มากมายมีสิ่งที่มีความจำเป็น และไม่มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน สังเกต แล้วเราจะพบว่ามีส่วนเกินในชีวิตของคนเรามากมาย
สอง คุณเป็นพ่อแม่ที่เมื่อลูกลืมตาดูโลก ก็สุดแสนจะทะนุถนอม พยายามสรรหาสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูก ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ เครื่องใช้เครื่องมือสำหรับเลี้ยงลูกก็ต้องดีที่สุด ใครบอกว่าอะไรดีก็จัดเต็ม ไม่ว่าจะแพงแค่ไหนหรือเปล่า หรือต้องหาสิ่งของเครื่องใช้ใหม่ ๆ ตลอดหรือเปล่า ถ้าเป็นของเล่นก็ต้องเป็นของดีมียี่ห้อ หรือไฮเทคโนโลยีสุดๆ เสื้อผ้าก็ต้องแบรนด์เนมเท่านั้นหรือไม่ ถ้าตอบว่าใช่ คงไม่ใช่ความพอดีแล้วล่ะค่ะ
ความพอดีของแต่ละคนไม่เท่ากัน ต้องพยายามหาความสมดุลที่ต้องยึดหลักความพอเพียง
“พอใจ”
ในที่นี้จะเน้นเรื่องทักษะชีวิต ที่ควรปลูกฝังให้ลูกของเราพอใจในสิ่งที่มี มิใช่อยากมี อยากได้อยู่ตลอดเวลา รวมถึงการเสริมสร้างพัฒนาทักษะชีวิตพื้นฐานที่สำคัญ 2 ด้าน คือ
หนึ่งความภาคภูมิใจในตนเอง ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีความภูมิใจ เห็นคุณค่าความสามารถของตนเอง มีความมั่นใจในการคิด ตัดสินใจ มีการแสดงออก สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีความสุข ประสบความสำเร็จ สร้างประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม เพื่อให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณค่าต่อไป
สองการมีวินัยและความรับผิดชอบ เด็กที่มีวินัยในตนเองและมีความรับผิดชอบ จะเป็นเด็กที่สามารถบังคับตนเองให้ปฏิบัติตนให้ถูกกาลเทศะ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม เคารพสิทธิของผู้อื่น ทำตามหน้าที่ของตน และมีความซื่อสัตย์สุจริต โดยไม่ต้องมีผู้ควบคุมหรือลงโทษ หากผู้ใหญ่เสริมสร้างความมีวินัยในตนเองและความรับผิดชอบให้กับเด็กตั้งแต่เล็ก จะทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะปรับตัวและยอมรับกติกา กฎระเบียบของกลุ่ม ของโรงเรียน ของสังคม เข้าใจสิทธิของผู้อื่น ยอมรับฟังความคิดเห็น มีความอดทน อดกลั้น ควบคุมตนเองได้ และสามารถปรับตัวอยู่ในกลุ่มสังคมได้อย่างภาคภูมิ
ถ้าทำได้เพียงเท่านี้ เชื่อว่าลูกเราจะเติบโตขึ้นไปเป็นคนดีและมีความสุข แต่ถ้าจะให้ดีควรเริ่มจากตัวของพ่อแม่หรือครอบครัวก่อน ดีที่สุดค่ะ
แม้จะมีการเตรียมตัวเตรียมใจมาเป็นระยะเวลากว่า 1 ปี ตั้งแต่พระองค์ท่านเสด็จสวรรคต แต่ก็ดูเหมือนปวงชนชาวไทยก็ยากต่อการทำใจ เพราะสื่งที่พระองค์ท่านทรงงานหนักมาตลอดระยะเวลา 70 ปี และทรงทุ่มเทพระวรกาย ก็เพื่อประชาชนคนไทยอย่างแท้จริง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้
และแน่นอนว่าพระองค์ท่านจะสถิตอยู่ในใจตราบนิจนิรันดร์
ไม่เพียงเท่านั้น ด้วยคุณูปการของพระองค์ท่านทำให้เกิดปรากฏการณ์กระแสตื่นตัวของประชาชนคนไทยอย่างมาก ในการอยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง บางคนยอมเปลี่ยนชีวิตตัวเองทันที บางคนพยายามเปลี่ยนแปลง บางคนได้รับแรงบันดาลใจ บางคนขอเป็นจิตอาสา ฯลฯ เรียกว่ามีความพยายามจากทั่วทุกสารทิศในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่คิดว่าจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น อยากทำความดี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเรื่องที่กระตุ้นให้ผู้คนหันมาสนใจแนวทางการใช้ชีวิต “พอเพียง” เพื่อเดินตามรอยพระองค์ท่าน ซึ่งทรงเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุด
พระองค์ท่านเคยมีพระราชดำรัส เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ 4 ธันวาคม 2541 ว่า
“เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกินก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...
“พอเพียง มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือ คำว่าพอ ก็พอเพียงนี้ก็พอแค่นั้นเอง คนเราถ้าพอในความต้องการก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข พอเพียงนี้อาจจะมี มีมากอาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น...”
เป็นการขยายภาพทำให้เห็นแนวทางคำว่า “พอเพียง” ได้ชัดเจน
การเลี้ยงดูลูกก็เช่นกัน ถ้าคนเป็นพ่อแม่สามารถนำแนวทางของพระองค์ท่านมาปรับประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตน และการเลี้ยงดูลูกน้อย ก็จะนำไปสู่การพัฒนาลูกของเราให้เติบโตขึ้นไปอย่างมีทักษะชีวิต และเป็นคนดีต่อไปในสังคม
โดยแนวทางที่สามารถนำไปปรับใช้มี “3 พอ” ได้แก่ “พอเพียง”, “พอดี” และ “พอใจ”
“พอเพียง”
หนึ่ง เริ่มจากรู้จักประหยัด ใช้ทรัพย์สินของตนเอง เช่น เงิน สิ่งของ เครื่องใช้ ฯลฯ อย่างรู้คุณค่า คุ้มค่า และเก็บรักษาดูแลอย่างดี รวมทั้งการใช้เวลาอย่างเหมาะสม ใช้ทรัพยากรของส่วนรวมอย่างประหยัด
สอง ลด ละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีวิตอย่างจริงจัง ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ
สาม ไม่แก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายแบบต่อสู้ดุเดือด ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และมีคุณธรรม
สี่ ขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียง เพื่อสร้างตนเองให้มั่นคง มีความสุข พอมีพอกิน การใช้ชีวิตประจำวันบนพื้นฐานของความรู้ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม ยอมรับและปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
“พอดี”
เริ่มง่ายๆ จากเรื่องในครอบครัวก่อน
หนึ่ง ลองสำรวจดูว่าเรามีของใช้ภายในครัวเรือนมากเกินไปไหม ข้าวของเครื่องใช้มากมายมีสิ่งที่มีความจำเป็น และไม่มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน สังเกต แล้วเราจะพบว่ามีส่วนเกินในชีวิตของคนเรามากมาย
สอง คุณเป็นพ่อแม่ที่เมื่อลูกลืมตาดูโลก ก็สุดแสนจะทะนุถนอม พยายามสรรหาสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูก ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ เครื่องใช้เครื่องมือสำหรับเลี้ยงลูกก็ต้องดีที่สุด ใครบอกว่าอะไรดีก็จัดเต็ม ไม่ว่าจะแพงแค่ไหนหรือเปล่า หรือต้องหาสิ่งของเครื่องใช้ใหม่ ๆ ตลอดหรือเปล่า ถ้าเป็นของเล่นก็ต้องเป็นของดีมียี่ห้อ หรือไฮเทคโนโลยีสุดๆ เสื้อผ้าก็ต้องแบรนด์เนมเท่านั้นหรือไม่ ถ้าตอบว่าใช่ คงไม่ใช่ความพอดีแล้วล่ะค่ะ
ความพอดีของแต่ละคนไม่เท่ากัน ต้องพยายามหาความสมดุลที่ต้องยึดหลักความพอเพียง
“พอใจ”
ในที่นี้จะเน้นเรื่องทักษะชีวิต ที่ควรปลูกฝังให้ลูกของเราพอใจในสิ่งที่มี มิใช่อยากมี อยากได้อยู่ตลอดเวลา รวมถึงการเสริมสร้างพัฒนาทักษะชีวิตพื้นฐานที่สำคัญ 2 ด้าน คือ
หนึ่งความภาคภูมิใจในตนเอง ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีความภูมิใจ เห็นคุณค่าความสามารถของตนเอง มีความมั่นใจในการคิด ตัดสินใจ มีการแสดงออก สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีความสุข ประสบความสำเร็จ สร้างประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม เพื่อให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณค่าต่อไป
สองการมีวินัยและความรับผิดชอบ เด็กที่มีวินัยในตนเองและมีความรับผิดชอบ จะเป็นเด็กที่สามารถบังคับตนเองให้ปฏิบัติตนให้ถูกกาลเทศะ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม เคารพสิทธิของผู้อื่น ทำตามหน้าที่ของตน และมีความซื่อสัตย์สุจริต โดยไม่ต้องมีผู้ควบคุมหรือลงโทษ หากผู้ใหญ่เสริมสร้างความมีวินัยในตนเองและความรับผิดชอบให้กับเด็กตั้งแต่เล็ก จะทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะปรับตัวและยอมรับกติกา กฎระเบียบของกลุ่ม ของโรงเรียน ของสังคม เข้าใจสิทธิของผู้อื่น ยอมรับฟังความคิดเห็น มีความอดทน อดกลั้น ควบคุมตนเองได้ และสามารถปรับตัวอยู่ในกลุ่มสังคมได้อย่างภาคภูมิ
ถ้าทำได้เพียงเท่านี้ เชื่อว่าลูกเราจะเติบโตขึ้นไปเป็นคนดีและมีความสุข แต่ถ้าจะให้ดีควรเริ่มจากตัวของพ่อแม่หรือครอบครัวก่อน ดีที่สุดค่ะ