โดย...รศ.พญ.จิตรลัดดา วะศินรัตน์ ภาควิชารังสีวิทยา
การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT scan เป็นการตรวจหาโรคที่ให้ผลแม่นยำและนำไปสู่การรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตรวจด้วยวิธีนี้ทำอย่างไร ตรวจอวัยวะใดได้บ้าง และมีความจำเป็นอย่างไร มาหาคำตอบกัน
การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่า CT scan เป็นการถ่ายภาพร่างกายของผู้ป่วยด้วยลำแสงเอกซ์ โดยฉายผ่านอวัยวะที่ต้องการตรวจ ซึ่งภาพที่ได้จะเป็นภาพในแนวตัดขวางของร่างกายและสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจนี้ ไปสร้างภาพในระนาบอื่นๆ เพิ่มเติม ทำให้เห็นรอยโรคได้ชัดเจนมากขึ้น และนำไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นแพทย์จึงนิยมใช้ CT scan เพื่อตรวจหารอยโรคในระยะเริ่มต้น ดูการกระจายของตัวโรค เพื่อวางแผนการรักษา รวมไปถึงใช้ตรวจติดตามหลังการรักษาด้วย
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT scan นี้ สามารถตรวจรอยโรคในอวัยวะได้เกือบทุกชนิด ตั้งแต่ สมอง ลำคอ ปอด ตับ อวัยวะต่างๆ ภายในช่องท้อง รวมถึง ต่อมน้ำเหลือง กระดูก และหลอดเลือด แต่ไม่สามารถตรวจเส้นประสาท และเอ็นของข้อต่อต่างๆ ได้
การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT scan จะแตกต่างจากการตรวจเอกซเรย์ธรรมดา ตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจ โดยการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT scan จะมีการนัดหมายการตรวจ เพราะมักมีการฉีดสารทึบรังสีร่วมด้วย โดยผู้ป่วยที่ต้องฉีดสารทึบรังสีต้องงดอาหารอย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนทำการตรวจ เพื่อให้เห็นรายละเอียดของเนื้อเยื่อเป็นภาพ 3 มิติ และบอกความแตกต่างของความผิดปกติได้หลายพันระดับ จึงช่วยให้แพทย์อ่านความผิดปกติของอวัยวะนั้น ๆ ได้ละเอียดและแม่นยำกว่า ซึ่งในการตรวจเอกซเรย์ธรรมดาจะไม่มี และการเอกซเรย์ธรรมดาจะให้ภาพแค่ 2 มิติ ไม่สามารถบอกความลึกได้ และบอกความแตกต่างของความผิดปกติในภาพได้เพียง 5 ระดับส่วนการจะตรวจรอยโรคด้วยวิธีใดนั้น ขึ้นกับแพทย์ผู้ให้การรักษาจะเป็นผู้เลือกการตรวจที่เหมาะสมกับผู้ป่วยรายนั้น ๆ และรอยโรคนั้นๆ
การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT scan ก็มีข้อควรระวัง เนื่องจากการตรวจ CT scan ในหลายโรค จำเป็นต้องฉีดสารทึบรังสี ซึ่งสารทึบรังสีนี้จะไม่ใช้กับผู้ที่แพ้ไอโอดีน ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดรุนแรง ผู้ที่เป็นโรคไต เพราะอาจมีอาการแพ้ได้ ถ้าแพ้เล็กน้อยอาจมีผื่นคันขึ้นตามใบหน้า ลำตัว ถ้ารุนแรงขึ้นอาจมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ถ้าถึงขั้นรุนแรงมากอาจเกิดความดันโลหิตต่ำและช็อกเสียชีวิตได้ แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวมาข้างต้น แพทย์ก็จะฉีดยากันแพ้ให้ก่อนการตรวจ หรืออาจใช้การตรวจด้วยวิธีอื่น เช่น อัลตราซาวนด์ หรือ MRI แทน จึงไม่ต้องวิตกกังวล
****************************
กิจกรรมดี ๆ ที่ศิริราช
# ขอเชิญผู้สนใจร่วม งานจุลชีววิทยา พบผู้รับบริการ ประจำปี 2560 ภายใต้หัวข้อ Micro - Festival SEASON IV วันที่ 18 - 20 กันยายน 2560 เวลา 12.00 - 14.50 น. ณ โถงอาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช ฟังเสวนาจากผู้เชี่ยวชาญ -18 ก.ย. “ส่งตรวจแบคทีเรียอย่างไรให้ SUCCESS” -19 ก.ย. “เจาะประเด็นส่งตรวจไวรัส” -20 ก.ย. “360 องศา การตรวจหาราและวัณโรค ผู้ร่วมงานจะได้สอบถามปัญหาคาใจและรับคำแนะนำที่ถูกต้อง สอบถามและลงทะเบียนได้ที่ โทร. 0 2419 9760 (รัชนีกร ศรีทอง)
# ขอเชิญผู้สนใจร่วมงาน “วันอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำ คู คลองแห่งชาติ (คลองบางกอกน้อย) ประจำปี 2560” วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน 2560 เวลา 08.00 - 13.00 น. ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา บางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย ชมนิทรรศการตัวอย่างน้ำเสียจากคลองหลัก และคลองสาขาของคลองบางกอกน้อย 40 แห่ง ที่สามารถส่องดูจากกล้องจุลทรรศน์ เห็นถึงความสกปรกและสิ่งมีชีวิตของคูคลอง การจัดการน้ำเสียในชุมชนเมือง สาธิตการทำชุดบำบัดน้ำเสียครัวเรือน กิจกรรมขยะแลกไข่ ร้านค้าของดีชุมชนบางกอกน้อย และตลาดเพื่อการเกษตร อีกทั้งกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ งานกิจกรรมเพื่อสังคม โทร. 0 2419 9350-1 โทรสาร 0 2419 7652
การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT scan เป็นการตรวจหาโรคที่ให้ผลแม่นยำและนำไปสู่การรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตรวจด้วยวิธีนี้ทำอย่างไร ตรวจอวัยวะใดได้บ้าง และมีความจำเป็นอย่างไร มาหาคำตอบกัน
การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่า CT scan เป็นการถ่ายภาพร่างกายของผู้ป่วยด้วยลำแสงเอกซ์ โดยฉายผ่านอวัยวะที่ต้องการตรวจ ซึ่งภาพที่ได้จะเป็นภาพในแนวตัดขวางของร่างกายและสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจนี้ ไปสร้างภาพในระนาบอื่นๆ เพิ่มเติม ทำให้เห็นรอยโรคได้ชัดเจนมากขึ้น และนำไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นแพทย์จึงนิยมใช้ CT scan เพื่อตรวจหารอยโรคในระยะเริ่มต้น ดูการกระจายของตัวโรค เพื่อวางแผนการรักษา รวมไปถึงใช้ตรวจติดตามหลังการรักษาด้วย
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT scan นี้ สามารถตรวจรอยโรคในอวัยวะได้เกือบทุกชนิด ตั้งแต่ สมอง ลำคอ ปอด ตับ อวัยวะต่างๆ ภายในช่องท้อง รวมถึง ต่อมน้ำเหลือง กระดูก และหลอดเลือด แต่ไม่สามารถตรวจเส้นประสาท และเอ็นของข้อต่อต่างๆ ได้
การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT scan จะแตกต่างจากการตรวจเอกซเรย์ธรรมดา ตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจ โดยการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT scan จะมีการนัดหมายการตรวจ เพราะมักมีการฉีดสารทึบรังสีร่วมด้วย โดยผู้ป่วยที่ต้องฉีดสารทึบรังสีต้องงดอาหารอย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนทำการตรวจ เพื่อให้เห็นรายละเอียดของเนื้อเยื่อเป็นภาพ 3 มิติ และบอกความแตกต่างของความผิดปกติได้หลายพันระดับ จึงช่วยให้แพทย์อ่านความผิดปกติของอวัยวะนั้น ๆ ได้ละเอียดและแม่นยำกว่า ซึ่งในการตรวจเอกซเรย์ธรรมดาจะไม่มี และการเอกซเรย์ธรรมดาจะให้ภาพแค่ 2 มิติ ไม่สามารถบอกความลึกได้ และบอกความแตกต่างของความผิดปกติในภาพได้เพียง 5 ระดับส่วนการจะตรวจรอยโรคด้วยวิธีใดนั้น ขึ้นกับแพทย์ผู้ให้การรักษาจะเป็นผู้เลือกการตรวจที่เหมาะสมกับผู้ป่วยรายนั้น ๆ และรอยโรคนั้นๆ
การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT scan ก็มีข้อควรระวัง เนื่องจากการตรวจ CT scan ในหลายโรค จำเป็นต้องฉีดสารทึบรังสี ซึ่งสารทึบรังสีนี้จะไม่ใช้กับผู้ที่แพ้ไอโอดีน ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดรุนแรง ผู้ที่เป็นโรคไต เพราะอาจมีอาการแพ้ได้ ถ้าแพ้เล็กน้อยอาจมีผื่นคันขึ้นตามใบหน้า ลำตัว ถ้ารุนแรงขึ้นอาจมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ถ้าถึงขั้นรุนแรงมากอาจเกิดความดันโลหิตต่ำและช็อกเสียชีวิตได้ แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวมาข้างต้น แพทย์ก็จะฉีดยากันแพ้ให้ก่อนการตรวจ หรืออาจใช้การตรวจด้วยวิธีอื่น เช่น อัลตราซาวนด์ หรือ MRI แทน จึงไม่ต้องวิตกกังวล
****************************
กิจกรรมดี ๆ ที่ศิริราช
# ขอเชิญผู้สนใจร่วม งานจุลชีววิทยา พบผู้รับบริการ ประจำปี 2560 ภายใต้หัวข้อ Micro - Festival SEASON IV วันที่ 18 - 20 กันยายน 2560 เวลา 12.00 - 14.50 น. ณ โถงอาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช ฟังเสวนาจากผู้เชี่ยวชาญ -18 ก.ย. “ส่งตรวจแบคทีเรียอย่างไรให้ SUCCESS” -19 ก.ย. “เจาะประเด็นส่งตรวจไวรัส” -20 ก.ย. “360 องศา การตรวจหาราและวัณโรค ผู้ร่วมงานจะได้สอบถามปัญหาคาใจและรับคำแนะนำที่ถูกต้อง สอบถามและลงทะเบียนได้ที่ โทร. 0 2419 9760 (รัชนีกร ศรีทอง)
# ขอเชิญผู้สนใจร่วมงาน “วันอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำ คู คลองแห่งชาติ (คลองบางกอกน้อย) ประจำปี 2560” วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน 2560 เวลา 08.00 - 13.00 น. ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา บางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย ชมนิทรรศการตัวอย่างน้ำเสียจากคลองหลัก และคลองสาขาของคลองบางกอกน้อย 40 แห่ง ที่สามารถส่องดูจากกล้องจุลทรรศน์ เห็นถึงความสกปรกและสิ่งมีชีวิตของคูคลอง การจัดการน้ำเสียในชุมชนเมือง สาธิตการทำชุดบำบัดน้ำเสียครัวเรือน กิจกรรมขยะแลกไข่ ร้านค้าของดีชุมชนบางกอกน้อย และตลาดเพื่อการเกษตร อีกทั้งกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ งานกิจกรรมเพื่อสังคม โทร. 0 2419 9350-1 โทรสาร 0 2419 7652