โดย...นพ.บัญชา เสียมหาญ อายุรแพทย์ระบบประสาท ศูนย์ระบบประสาทสมองและไขสันหลัง โรงพยาบาล พญาไท 2

อาการปวดศีรษะ ส่วนใหญ่อาจไม่ได้เกิดจากโรคร้ายแรง แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการคร่าวๆ ดังต่อไปนี้ ควรรีบมาพบแพทย์ทันที เช่น อยู่ดีๆ ก็ปวดศีรษะแบบขั้นรุนแรงทันทีทันใด หรือเวลาปวดศีรษะทุกครั้งจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่ตอบสนองต่อการรักษาใดๆ ทั้งสิ้น รวมถึงอาการปวดศีรษะเป็นไข้ร่วมกับต้นคอแข็ง และสุดท้ายอาการปวดมักเกิดร่วมกับอาการทางระบบประสาท อย่างแขนขาอ่อนแรง สับสน มึน งง บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง เป็นต้น
อาการปวดศีรษะมี 4 แบบ แต่ละแบบนำไปสู่ภาวะหรือสาเหตุแห่งโรคที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. ปวดศีรษะแบบตึงตัว (Tension Type Headache) อาการการปวดแนวนี้พบบ่อยที่สุด คนทั่วไปก็สามารถเป็นได้ เกิดจากความเครียด เหนื่อย ทำงานหนัก ลักษณะการปวดจะแน่นๆ รัดๆ ทั้งสองข้าง มีความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง
2. ปวดศีรษะไมเกรน (Migraine Headache) อาการปวดแบบนี้มักพบบ่อยกับวัยทำงาน ลักษณะการปวดจะรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก มักปวดเป็นระยะเวลานาน 4 ชั่วโมงขึ้นไป ปัจจัยอย่าง แสง เสียง สี และกลิ่นจะยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการคลื้นไส้อาเจียน
3. ปวดศีรษะแบบกลุ่ม (Cluster Headache) อาการปวดประเภทนี้จะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง จะมีอาการปวดบริเวณรอบดวงตาหรือขมับข้างใดข้างหนึ่ง เป็นอาการปวดแบบรุนแรงจนทำให้ผู้ป่วยกระสับกระส่าย มีอาการระบบประสาทร่วมอยู่ด้วย เช่น มีตาแดง มีน้ำตาไหล มีน้ำมูก และเหงื่อออก เป็นต้น
4. ปวดศีรษะแบบเรื้อรังทุกวัน (Choronic Daily Headache) เป็นสไตล์ที่ปวดเป็นระยะเวลานาน อย่างน้อย 15 วันต่อเดือน ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการรับประทานยาเกินขนาด หรือกินยาผิดประเภท หรือไม่ก็เกิดจากภาวะไซนัสอักเสบ อาการเกี่ยวกับหลอดเลือดในสมอง หรือโรคมะเร็งก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ปวดเรื้อรังฉะนั้นผู้ป่วยควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

อย่าปล่อยให้ปวด
พฤติกรรมเสี่ยงในการใช้ชีวิตประจำวันของคุณอย่างการเคี้ยวหมากฝรั่ง รับประทานอาหารหวาน เช่น ช็อกโกแลต ชีส หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงและแดดจ้า สิ่งเหล่านี้คือ ตัวกระตุ้นชั้นดี ที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ แต่เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวันเหล่านี้ได้ดังนี้
1. นวดบริเวณขมับ เพื่อบรรเทาอาการปวด นี้ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คุณผ่อนคลายเฉพาะจุดที่ปวดและอาจทำให้อาการปวดเบาบางลง
2. อยู่ในแสงไม่จ้าเพราะบางครั้งแสงไฟก็เป็นตัวกระตุ้นอาการปวดศีรษะ จากเดิมที่ปวดอยู่แล้ว ก็จะปวดมากยิ่งขึ้น ลองปิดไฟ แล้วเปิดเฉพาะดวงที่จำเป็น
อาการปวดคือสัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม ในโอกาสครบรอบ 30 ปี โรงพยาบาลพญาไท 2 ปล่อยแพกเกจ “ตรวจคัดกรองปวดศีรษะ” เช็กเพื่อป้องกันก่อนเกิดโรคร้ายแรง ภายใต้แคมเปญ “ไม่อยากให้ใครป่วยมาโรงพยาบาล”
อาการปวดศีรษะ ส่วนใหญ่อาจไม่ได้เกิดจากโรคร้ายแรง แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการคร่าวๆ ดังต่อไปนี้ ควรรีบมาพบแพทย์ทันที เช่น อยู่ดีๆ ก็ปวดศีรษะแบบขั้นรุนแรงทันทีทันใด หรือเวลาปวดศีรษะทุกครั้งจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่ตอบสนองต่อการรักษาใดๆ ทั้งสิ้น รวมถึงอาการปวดศีรษะเป็นไข้ร่วมกับต้นคอแข็ง และสุดท้ายอาการปวดมักเกิดร่วมกับอาการทางระบบประสาท อย่างแขนขาอ่อนแรง สับสน มึน งง บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง เป็นต้น
อาการปวดศีรษะมี 4 แบบ แต่ละแบบนำไปสู่ภาวะหรือสาเหตุแห่งโรคที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. ปวดศีรษะแบบตึงตัว (Tension Type Headache) อาการการปวดแนวนี้พบบ่อยที่สุด คนทั่วไปก็สามารถเป็นได้ เกิดจากความเครียด เหนื่อย ทำงานหนัก ลักษณะการปวดจะแน่นๆ รัดๆ ทั้งสองข้าง มีความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง
2. ปวดศีรษะไมเกรน (Migraine Headache) อาการปวดแบบนี้มักพบบ่อยกับวัยทำงาน ลักษณะการปวดจะรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก มักปวดเป็นระยะเวลานาน 4 ชั่วโมงขึ้นไป ปัจจัยอย่าง แสง เสียง สี และกลิ่นจะยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการคลื้นไส้อาเจียน
3. ปวดศีรษะแบบกลุ่ม (Cluster Headache) อาการปวดประเภทนี้จะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง จะมีอาการปวดบริเวณรอบดวงตาหรือขมับข้างใดข้างหนึ่ง เป็นอาการปวดแบบรุนแรงจนทำให้ผู้ป่วยกระสับกระส่าย มีอาการระบบประสาทร่วมอยู่ด้วย เช่น มีตาแดง มีน้ำตาไหล มีน้ำมูก และเหงื่อออก เป็นต้น
4. ปวดศีรษะแบบเรื้อรังทุกวัน (Choronic Daily Headache) เป็นสไตล์ที่ปวดเป็นระยะเวลานาน อย่างน้อย 15 วันต่อเดือน ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการรับประทานยาเกินขนาด หรือกินยาผิดประเภท หรือไม่ก็เกิดจากภาวะไซนัสอักเสบ อาการเกี่ยวกับหลอดเลือดในสมอง หรือโรคมะเร็งก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ปวดเรื้อรังฉะนั้นผู้ป่วยควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
อย่าปล่อยให้ปวด
พฤติกรรมเสี่ยงในการใช้ชีวิตประจำวันของคุณอย่างการเคี้ยวหมากฝรั่ง รับประทานอาหารหวาน เช่น ช็อกโกแลต ชีส หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงและแดดจ้า สิ่งเหล่านี้คือ ตัวกระตุ้นชั้นดี ที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ แต่เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวันเหล่านี้ได้ดังนี้
1. นวดบริเวณขมับ เพื่อบรรเทาอาการปวด นี้ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คุณผ่อนคลายเฉพาะจุดที่ปวดและอาจทำให้อาการปวดเบาบางลง
2. อยู่ในแสงไม่จ้าเพราะบางครั้งแสงไฟก็เป็นตัวกระตุ้นอาการปวดศีรษะ จากเดิมที่ปวดอยู่แล้ว ก็จะปวดมากยิ่งขึ้น ลองปิดไฟ แล้วเปิดเฉพาะดวงที่จำเป็น
อาการปวดคือสัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม ในโอกาสครบรอบ 30 ปี โรงพยาบาลพญาไท 2 ปล่อยแพกเกจ “ตรวจคัดกรองปวดศีรษะ” เช็กเพื่อป้องกันก่อนเกิดโรคร้ายแรง ภายใต้แคมเปญ “ไม่อยากให้ใครป่วยมาโรงพยาบาล”