โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประเทศไทย โดยโรคมะเร็งที่พบในคนไทยมากที่สุด คือ มะเร็งตับ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม แต่หากแยกตามเพศจะพบว่า เพศชายป่วยด้วยโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่มากที่สุดตามลำดับ ส่วนเพศหญิงจะพบมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งตับมากที่สุดตามลำดับ แต่หากแยกตามรายภาคก็จะพบอุบัติการณ์ที่แตกต่างกันออกไป
สาเหตุที่แต่ละภาคของประเทศไทยมีอุบัติการณ์เกิดโรคมะเร็งที่แตกต่างกันนั้น ส่วนหนึ่งมาจากวิถีชีวิตของคนแต่ละภาคที่มีความแตกต่างกัน ส่งผลให้การเกิดโรคมะเร็งแตกต่างกันไปด้วย ยกตัวอย่าง ภาคอีสาน มีการกินปลาน้ำจืดดิบๆ มาก ก็จะพบการป่วยด้วยโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีที่สูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ หรือภาคเหนือที่พบปัญหาหมอกควันเป็นประจำ และผู้หญิงมีอัตราการสูบบุหรี่สูง ทำให้มีอัตราเกิดมะเร็งปอดสูงกว่าภาคอื่นๆ มาก

หากมองเฉพาะในส่วนของภาคใต้ นพ.สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ข้อมูลว่า จากข้อมูลช่วงปี 2554 - 2558 พบว่า ภาคใต้ 14 จังหวัดจะพบอัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกสูงที่สุด คือ 15.8 ต่อแสนประชากร แต่เมื่อเทียบกับอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกเฉลี่ยระดับประเทศซึ่งอยู่ที่ 14.4 ต่อแสนประชากร ก็ถือว่าไม่ได้สูงกว่าภาคอื่นๆ มากนัก แต่หากดูเฉพาะมะเร็งที่ภาคใต้มีอุบัติการณ์สูงกว่าภาคอื่นและสูงกว่าอัตราเฉลี่ยระดับประเทศคือ มะเร็งช่องปาก พบ 7.5 ต่อแสนประชากร สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศที่อยู่ 4.35 ต่อแสนประชากร และมะเร็งหลอดอาหาร อยู่ที่ 4.6 ต่อแสนประชากร ขณะที่ค่าเฉลี่ยระดับประเทศอยู่ที่ 2.25 ต่อแสนประชากร
สำหรับ จ.สุราษฎร์ธานี ที่มีประชากรจำนวน 1,040,230 คน โดยอุบัติการณ์เกิดโรคมะเร็งใน จ.สุราษฎร์ธานี พบว่า มะเร็งที่พบสูงสุด 3 อันดับแรกในผู้ชายคือ มะเร็งปอด มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ ส่วนผู้หญิงคือ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้
นพ.สุกิจ กล่าวอีกว่า สำหรับอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งของเขตภาคใต้ตอนบน 7 จังหวัด ประกอบด้วย ระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช พบว่า อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยปี 2550 อยู่ที่ 2,335 คน ปี 2554 เพิ่มเป็น 2,626 คน ปี 2557 เพิ่มเป็น 3,229 คน และปี 2558 อยู่ที่ 3,508 คน โดยจังหวัดที่อัตราเสียชีวิตสูงสุดในช่วงปี 2554-2558 คือ จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 5,446 คน ตามด้วย จ.สุราษฎร์ธานี จำนวน 4,063 คน ขณะที่ จ.ระนอง น้อยสุดอยู่ที่ 610 คน ซึ่งจำนวนอัตราการเสียชีวิตจะสัมพันธ์กับจำนวนประชากร ซึ่งจังหวัดที่มีประชากรมากอย่างนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี จึงมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่า

ด้าน พญ.นิธิมา ศรีเกตุ รองผู้อำนวยการด้านวิชาการและการแพทย์ รพ.มะเร็งสุราษฎร์ธานี ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ส่วนสถิติผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ของ รพ.มะเร็งสุราษฎร์ธานี พบว่า ในเพศชาย มะเร็งปอดพบมากสุดร้อยละ 16.03 รองลงมาคือ มะเร็งช่องปาก ร้อยละ 15.27 และ มะเร็งลำไส้ใหญ่ ร้อยละ 13.74 ส่วนเพศหญิงพบมะเร็งเต้านมมากที่สุด ร้อยละ 41.76 รองลงมาคือ มะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 19.41 และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ร้อยละ 9.46 โดยแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ก็เพิ่มขึ้นในแต่ละปี คือ ปี 2557 อยู่ที่ 1,021 ราย ปี 2558 เพิ่มเป็น 1,137 ราย และปี 2559 เป็น 1,252 ราย โดยจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 5 ปีย้อนหลัง คือ ปี 2555 - 2559 พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ใน จ.สุราษฎร์ธานี คือ 1,952 ราย รองลงมา คือ นครศรีธรรมราช 856 ราย ส่วน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างเข้ามาเป็นผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่น้อยมากประมาณหลักสิบเท่านั้น เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ในการดูแลรักษา
พญ.นิธิมา กล่าวว่า ส่วนสาเหตุที่ภาคใต้พบผู้ป่วยมะเร็งช่องปากและมะเร็งหลอดอาหารสูงกว่าภาคอื่นๆ ปัจจัยส่วนหนึ่งคาดว่ามาจากการสูบบุหรี่และการดื่มน้ำหวานเมา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการดื่มของคนภาคใต้ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ยังนิยมการเคี้ยวหมากด้วย แต่พฤติกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะพบในผู้สูงอายุ ซึ่งหากปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตรงนี้ได้ คนรุ่นใหม่ๆ ก็จะเกิดโรคมะเร็งในส่วนนี้น้อยลง ซึ่งโรงพยาบาลก็พยายามดำเนินการรณรงค์อยู่เช่นกัน ทั้งในเรื่องของการสุบุบหรี่ ดื่มสุรา น้ำหวานเมา เป็นต้น ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา ส่วนมะเร็งชนิดอื่นๆ จะเน้นการคัดกรองเพื่อให้พบตั้งแต่ระยะแรกๆ และเข้าสู่กระบวนการรักษาที่รวดเร็ว เพราะมีโอกาสหายสูง เช่น การคัดกรองมะเร็งเต้านม มีการให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการตรวจ ส่งผลให้พบมะเร็งเต้านมในระยะแรกเพิ่มมากขึ้น หรือการให้ความรู้สถานีอนามัยในการตรวจแปบสเมียร์คัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ถูกต้อง และมีการจัดส่งรถโมบายที่ไปคัดกรองทั้งมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแปบสเมียร์ และมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีแมมโมแกรมถึงในชุมชนด้วย

สำหรับการรักษาโรคมะเร็ง พญ.นิธิมา กล่าวว่า รพ.มะเร็งสุราษฎร์ธานี มีการพัฒนาศักยภาพขึ้นมาเป็นลำดับ จนปัจจุบันเรียกได้ว่ามีศักยภาพทัดเทียมกับกลุ่มโรงเรียนแพทย์ในการดูแลรักษาโรคมะเร็ง เพราะมีทั้งบุคลากรที่มีความรู้ และเครื่องมือในการรักษาที่ทันสมัย เห็นได้ชัดจาการรับส่งผู้ป่วยมะเร็งของโรงพยาบาล ซึ่งพบว่า อัตราการรับผู้ป่วยมาดูแล (Refer In) สูงขึ้น โดยปี 2558 อยู่ที่ 3,150 ราย ปี 2559 อยู่ที่ 4,155 ราย และปี 2560 เพียงแค่ครึ่งปีก็รับผู้ป่วยมาดูแลแล้วถึง 3,232 ราย ขณะที่การส่งต่อผู้ป่วยมะเร็งลดลงเช่นกัน โดยปี 2557 ส่งต่อ 738 ราย ปี 2558 ส่งต่อ 486 ราย ปี 2559 ส่งต่อ 422 ราย และปี 2560 ครึ่งปีส่งต่อเพียง 274 ราย
“จากสถิติดังกล่าว สะท้อนว่าโรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานีมีการพัฒนาศักยภาพขึ้น สามารถรับผู้ป่วยมาดูแลได้มากขึ้น ขณะเดียวกันการส่งต่อก็น้อยลง โดยบุคลากรของโรงพยาบาลมีแพทย์ทั้งหมด 15 คน ปฏิบัติงานจริง 8 คน อยู่ระหว่างศึกษาต่อเฉพาะทางอีก 7 คน และกำลังรอบรรจุโอนย้ายอีก 2 คน พยาบาลวิชาชีพ 55 คน นักเทคนิคการแพทย์ 4 คน นักรังสีรักษา 11 คน อยู่ระหว่างลาศึกษาอีก 2 คน ให้การดูแลรักษาทั้งการผ่าตัด การฉายแสง เคมีบำบัด การดูแลรักษาแบบประคับประคอง และการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย เรียกได้ว่ามีครบและดูแลครบทั้งวงจร” พญ.นิธิมา กล่าว
สำหรับการรักษามะเร็งของโรงพยาบาล พญ.นิธิมา ระบุว่า มีหลายวิธีและหลายเทคนิค ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย เช่น การผ่าตัด มีทั้งการผ่าตัดแบบสงวนเต้านม การผ่าตัดแบบใช้เต้านมเทียม การฉีดสีเพื่อผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง การผ่าตัดทางเดินปัสสาวะ มดลูก และลำไส้ เป็นต้น การใช้ยารักษา มีทั้งการรักษาด้วยฮอร์โมน การให้เคมีบำบัด การใช้ยาแบบเฉพาะเจาะจง ขณะที่การฉายแสงมีทั้งการใช้เครื่องฉายรังสีโคบอลต์ และเครื่องเร่งอนุภาค หรือลิแนค (Linac) รวมไปถึงการใช้น้ำแร่ในการรักษามะเร็งไทรอยด์ เป็นต้น

พญ.นิธิมา เล่าอีกว่า ขณะนี้ รพ.มะเร็งสุราษฎร์ธานี อยู่ระหว่างจัดซื้อเครื่องเร่งอนุภาคเพิ่มอีก 1 ตัว ราคา 75 ล้านบาท โดยจะมีการจัดตั้งเป็นศูนย์รังสีรักษาโดยเฉพาะบริเวณชั้นสองของอาคารโรงพยาบาล โดยเครื่องเร่งอนุภาคจะสามารถตรวจสอบตำแหน่งของก้อนมะเร็งได้ทั้งร่างกาย และสามารถกำหนดและกระจายรังสีแบบเฉพาะจุดได้ ให้มีขนาดพอดีกับเป้าหมาย ทำให้ลดความเสียหายของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะโดยีรอบมะเร็งได้ มีความถูกต้องและแม่นยำสูง จึงเหมาะสำหรับการรักษามะเร็งที่อยู่ใกล้อวัยวะที่มีความไวต่อรังสี ซึ่งขณะนี้ก็อยู่ระหว่างส่งแพทย์ไปเรียนเฉพาะทางในด้านนี้ เพื่อกลับมาใช้เครื่องมือดังกล่าวเพิ่ม
“โรงพยาบาลจะพัฒนาศักยภาพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อดูแลรักษาเฉพาะทางด้านมะเร็งให้แก่ประชาชนชาวปักษ์ใต้อย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน” พญ.นิธิมา กล่าว


โรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประเทศไทย โดยโรคมะเร็งที่พบในคนไทยมากที่สุด คือ มะเร็งตับ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม แต่หากแยกตามเพศจะพบว่า เพศชายป่วยด้วยโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่มากที่สุดตามลำดับ ส่วนเพศหญิงจะพบมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งตับมากที่สุดตามลำดับ แต่หากแยกตามรายภาคก็จะพบอุบัติการณ์ที่แตกต่างกันออกไป
สาเหตุที่แต่ละภาคของประเทศไทยมีอุบัติการณ์เกิดโรคมะเร็งที่แตกต่างกันนั้น ส่วนหนึ่งมาจากวิถีชีวิตของคนแต่ละภาคที่มีความแตกต่างกัน ส่งผลให้การเกิดโรคมะเร็งแตกต่างกันไปด้วย ยกตัวอย่าง ภาคอีสาน มีการกินปลาน้ำจืดดิบๆ มาก ก็จะพบการป่วยด้วยโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีที่สูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ หรือภาคเหนือที่พบปัญหาหมอกควันเป็นประจำ และผู้หญิงมีอัตราการสูบบุหรี่สูง ทำให้มีอัตราเกิดมะเร็งปอดสูงกว่าภาคอื่นๆ มาก
หากมองเฉพาะในส่วนของภาคใต้ นพ.สุกิจ ทัศนสุนทรวงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ข้อมูลว่า จากข้อมูลช่วงปี 2554 - 2558 พบว่า ภาคใต้ 14 จังหวัดจะพบอัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกสูงที่สุด คือ 15.8 ต่อแสนประชากร แต่เมื่อเทียบกับอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกเฉลี่ยระดับประเทศซึ่งอยู่ที่ 14.4 ต่อแสนประชากร ก็ถือว่าไม่ได้สูงกว่าภาคอื่นๆ มากนัก แต่หากดูเฉพาะมะเร็งที่ภาคใต้มีอุบัติการณ์สูงกว่าภาคอื่นและสูงกว่าอัตราเฉลี่ยระดับประเทศคือ มะเร็งช่องปาก พบ 7.5 ต่อแสนประชากร สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศที่อยู่ 4.35 ต่อแสนประชากร และมะเร็งหลอดอาหาร อยู่ที่ 4.6 ต่อแสนประชากร ขณะที่ค่าเฉลี่ยระดับประเทศอยู่ที่ 2.25 ต่อแสนประชากร
สำหรับ จ.สุราษฎร์ธานี ที่มีประชากรจำนวน 1,040,230 คน โดยอุบัติการณ์เกิดโรคมะเร็งใน จ.สุราษฎร์ธานี พบว่า มะเร็งที่พบสูงสุด 3 อันดับแรกในผู้ชายคือ มะเร็งปอด มะเร็งตับ และมะเร็งลำไส้ ส่วนผู้หญิงคือ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้
นพ.สุกิจ กล่าวอีกว่า สำหรับอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งของเขตภาคใต้ตอนบน 7 จังหวัด ประกอบด้วย ระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช พบว่า อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยปี 2550 อยู่ที่ 2,335 คน ปี 2554 เพิ่มเป็น 2,626 คน ปี 2557 เพิ่มเป็น 3,229 คน และปี 2558 อยู่ที่ 3,508 คน โดยจังหวัดที่อัตราเสียชีวิตสูงสุดในช่วงปี 2554-2558 คือ จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 5,446 คน ตามด้วย จ.สุราษฎร์ธานี จำนวน 4,063 คน ขณะที่ จ.ระนอง น้อยสุดอยู่ที่ 610 คน ซึ่งจำนวนอัตราการเสียชีวิตจะสัมพันธ์กับจำนวนประชากร ซึ่งจังหวัดที่มีประชากรมากอย่างนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี จึงมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่า
ด้าน พญ.นิธิมา ศรีเกตุ รองผู้อำนวยการด้านวิชาการและการแพทย์ รพ.มะเร็งสุราษฎร์ธานี ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ส่วนสถิติผู้ป่วยโรคมะเร็งรายใหม่ของ รพ.มะเร็งสุราษฎร์ธานี พบว่า ในเพศชาย มะเร็งปอดพบมากสุดร้อยละ 16.03 รองลงมาคือ มะเร็งช่องปาก ร้อยละ 15.27 และ มะเร็งลำไส้ใหญ่ ร้อยละ 13.74 ส่วนเพศหญิงพบมะเร็งเต้านมมากที่สุด ร้อยละ 41.76 รองลงมาคือ มะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 19.41 และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ร้อยละ 9.46 โดยแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ก็เพิ่มขึ้นในแต่ละปี คือ ปี 2557 อยู่ที่ 1,021 ราย ปี 2558 เพิ่มเป็น 1,137 ราย และปี 2559 เป็น 1,252 ราย โดยจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 5 ปีย้อนหลัง คือ ปี 2555 - 2559 พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ใน จ.สุราษฎร์ธานี คือ 1,952 ราย รองลงมา คือ นครศรีธรรมราช 856 ราย ส่วน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างเข้ามาเป็นผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่น้อยมากประมาณหลักสิบเท่านั้น เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ในการดูแลรักษา
พญ.นิธิมา กล่าวว่า ส่วนสาเหตุที่ภาคใต้พบผู้ป่วยมะเร็งช่องปากและมะเร็งหลอดอาหารสูงกว่าภาคอื่นๆ ปัจจัยส่วนหนึ่งคาดว่ามาจากการสูบบุหรี่และการดื่มน้ำหวานเมา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการดื่มของคนภาคใต้ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ยังนิยมการเคี้ยวหมากด้วย แต่พฤติกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะพบในผู้สูงอายุ ซึ่งหากปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตรงนี้ได้ คนรุ่นใหม่ๆ ก็จะเกิดโรคมะเร็งในส่วนนี้น้อยลง ซึ่งโรงพยาบาลก็พยายามดำเนินการรณรงค์อยู่เช่นกัน ทั้งในเรื่องของการสุบุบหรี่ ดื่มสุรา น้ำหวานเมา เป็นต้น ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา ส่วนมะเร็งชนิดอื่นๆ จะเน้นการคัดกรองเพื่อให้พบตั้งแต่ระยะแรกๆ และเข้าสู่กระบวนการรักษาที่รวดเร็ว เพราะมีโอกาสหายสูง เช่น การคัดกรองมะเร็งเต้านม มีการให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการตรวจ ส่งผลให้พบมะเร็งเต้านมในระยะแรกเพิ่มมากขึ้น หรือการให้ความรู้สถานีอนามัยในการตรวจแปบสเมียร์คัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ถูกต้อง และมีการจัดส่งรถโมบายที่ไปคัดกรองทั้งมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแปบสเมียร์ และมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีแมมโมแกรมถึงในชุมชนด้วย
สำหรับการรักษาโรคมะเร็ง พญ.นิธิมา กล่าวว่า รพ.มะเร็งสุราษฎร์ธานี มีการพัฒนาศักยภาพขึ้นมาเป็นลำดับ จนปัจจุบันเรียกได้ว่ามีศักยภาพทัดเทียมกับกลุ่มโรงเรียนแพทย์ในการดูแลรักษาโรคมะเร็ง เพราะมีทั้งบุคลากรที่มีความรู้ และเครื่องมือในการรักษาที่ทันสมัย เห็นได้ชัดจาการรับส่งผู้ป่วยมะเร็งของโรงพยาบาล ซึ่งพบว่า อัตราการรับผู้ป่วยมาดูแล (Refer In) สูงขึ้น โดยปี 2558 อยู่ที่ 3,150 ราย ปี 2559 อยู่ที่ 4,155 ราย และปี 2560 เพียงแค่ครึ่งปีก็รับผู้ป่วยมาดูแลแล้วถึง 3,232 ราย ขณะที่การส่งต่อผู้ป่วยมะเร็งลดลงเช่นกัน โดยปี 2557 ส่งต่อ 738 ราย ปี 2558 ส่งต่อ 486 ราย ปี 2559 ส่งต่อ 422 ราย และปี 2560 ครึ่งปีส่งต่อเพียง 274 ราย
“จากสถิติดังกล่าว สะท้อนว่าโรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานีมีการพัฒนาศักยภาพขึ้น สามารถรับผู้ป่วยมาดูแลได้มากขึ้น ขณะเดียวกันการส่งต่อก็น้อยลง โดยบุคลากรของโรงพยาบาลมีแพทย์ทั้งหมด 15 คน ปฏิบัติงานจริง 8 คน อยู่ระหว่างศึกษาต่อเฉพาะทางอีก 7 คน และกำลังรอบรรจุโอนย้ายอีก 2 คน พยาบาลวิชาชีพ 55 คน นักเทคนิคการแพทย์ 4 คน นักรังสีรักษา 11 คน อยู่ระหว่างลาศึกษาอีก 2 คน ให้การดูแลรักษาทั้งการผ่าตัด การฉายแสง เคมีบำบัด การดูแลรักษาแบบประคับประคอง และการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย เรียกได้ว่ามีครบและดูแลครบทั้งวงจร” พญ.นิธิมา กล่าว
สำหรับการรักษามะเร็งของโรงพยาบาล พญ.นิธิมา ระบุว่า มีหลายวิธีและหลายเทคนิค ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย เช่น การผ่าตัด มีทั้งการผ่าตัดแบบสงวนเต้านม การผ่าตัดแบบใช้เต้านมเทียม การฉีดสีเพื่อผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง การผ่าตัดทางเดินปัสสาวะ มดลูก และลำไส้ เป็นต้น การใช้ยารักษา มีทั้งการรักษาด้วยฮอร์โมน การให้เคมีบำบัด การใช้ยาแบบเฉพาะเจาะจง ขณะที่การฉายแสงมีทั้งการใช้เครื่องฉายรังสีโคบอลต์ และเครื่องเร่งอนุภาค หรือลิแนค (Linac) รวมไปถึงการใช้น้ำแร่ในการรักษามะเร็งไทรอยด์ เป็นต้น
พญ.นิธิมา เล่าอีกว่า ขณะนี้ รพ.มะเร็งสุราษฎร์ธานี อยู่ระหว่างจัดซื้อเครื่องเร่งอนุภาคเพิ่มอีก 1 ตัว ราคา 75 ล้านบาท โดยจะมีการจัดตั้งเป็นศูนย์รังสีรักษาโดยเฉพาะบริเวณชั้นสองของอาคารโรงพยาบาล โดยเครื่องเร่งอนุภาคจะสามารถตรวจสอบตำแหน่งของก้อนมะเร็งได้ทั้งร่างกาย และสามารถกำหนดและกระจายรังสีแบบเฉพาะจุดได้ ให้มีขนาดพอดีกับเป้าหมาย ทำให้ลดความเสียหายของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะโดยีรอบมะเร็งได้ มีความถูกต้องและแม่นยำสูง จึงเหมาะสำหรับการรักษามะเร็งที่อยู่ใกล้อวัยวะที่มีความไวต่อรังสี ซึ่งขณะนี้ก็อยู่ระหว่างส่งแพทย์ไปเรียนเฉพาะทางในด้านนี้ เพื่อกลับมาใช้เครื่องมือดังกล่าวเพิ่ม
“โรงพยาบาลจะพัฒนาศักยภาพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อดูแลรักษาเฉพาะทางด้านมะเร็งให้แก่ประชาชนชาวปักษ์ใต้อย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน” พญ.นิธิมา กล่าว