xs
xsm
sm
md
lg

เรียนอาชีวะก็ดีได้! อนาคตอยู่ที่...มือเรา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online




“จบ ป.ตรี เงินเดือน 15,000 บาท จบอาชีวะเงินเดือนเท่าไหร่? พอกินเหรอ?” --- ความเห็นจากคุณป้าร้านขายหมูปิ้งปากซอย
“ตายกันไปข้าง อาชีวะ 2 สถาบัน เปิดศึกตีกันกลางถนน ไม่สนกฎหมาย” --- ข่าวจาก Kapook.com
“ใครจะกล้าเรียนอาชีวะ ในเมื่อเรียนแล้วชีวิตหาความปลอดภัยไม่มี ใครที่เรียนจบสายนี้แล้วร่างกายยังครบถือว่าเป็นบุญสุดๆ” --- ความเห็นจากเว็บไซต์เดลินิวส์

หลายปีที่ผ่านมา ข่าวคราวความรุนแรงต่างๆ ในหมู่วัยรุ่น ทำให้ค่านิยมเกี่ยวกับอาชีวศึกษาในสังคมไทยนั้นบิดเบี้ยวไปมาก ดังเช่น ความเห็นและข่าวที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ซึ่งมีผลให้สัดส่วนจำนวนนักเรียนสายอาชีวะเทียบกับนักเรียนสายสามัญนั้นลดน้อยลงเรื่อยๆ เห็นได้จากตัวเลขอัตราความต้องการแรงงาน จากข้อมูลของกรมการจัดหางาน ณ เดือนธันวาคม 2559 ซึ่งได้เปิดเผยตัวเลขความต้องการแรงงานระดับชั้น ปวช. ปวส หรือ อนุปริญญา ว่า นายจ้าง หรือสถานประกอบการมีความต้องการแรงงานในชั้นการศึกษานี้มากที่สุด ถึง 8,138 อัตรา หรือคิดเป็นร้อยละ 35.98 จากจำนวนความต้องการแรงงานทั้งหมด รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาจำนวน 7,320 อัตรา ประถมศึกษาและต่ำกว่า 3,774 อัตรา และปริญญาตรีขึ้นไป 3,416 อัตรา

ซึ่งตัวเลขการขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะฝีมือในประเทศไทย เป็นตัวเลขที่ตรงกันข้ามกับประเทศที่พัฒนาแล้วของโลก โดยเฉพาะในทวีปยุโรป ไม่ว่าจะเป็น เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ ที่มีหลักสูตรทวิภาคี อันเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคเอกชนในการผลิตบุคลากรมาให้ให้ทักษะ และฝีมือตรงกับความต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

เมื่อเหลียวมองไปรอบสังคมเราจะเห็นได้ว่า ทุกวันนี้เราไม่ได้ขาดคนมีดีกรีปริญญาตรี แต่เราขาดคนที่มีฝีมือ และทักษะเฉพาะ ในหลากหลายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพเกี่ยวกับช่างต่างๆ เช่น ช่างไฟฟ้า ช่างยนต์ ช่างระบบคอมพิวเตอร์ เรื่อยไปจนถึงบุคลากรที่จะช่วยรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่กำลังบูมอย่างมากในบ้านเราไม่ว่าจะเป็น บุคลากรด้านการโรงแรม การท่องเที่ยว เช่น เชฟ หรือพนักงานบริการต้อนรับต่างๆ ในโรงแรม

ด้วยเหตุนี้เอง “โครงการอาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ” โดยมูลนิธิเอสซีจี จึงได้กำเนิดขึ้นนับแต่ปี 2556 ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้เยาวชนมุ่งมั่น อดทน พัฒนาความรู้ ความสามารถ เพื่อเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 อย่างมีคุณภาพ อีกทั้งยังต้องการให้สังคมมีทัศนคติที่ดีขึ้นกับอาชีวศึกษา และต้องการให้เยาวชนเลือกที่จะเอาชนะการแก้ปัญหาต่างๆ โดยทำในสิ่งที่ถูกต้อง

ซึ่งในความเป็นจริงแล้วด้วยการวางระบบการศึกษาที่ดีจากความร่วมมือแบบทวิภาคีของสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน ทำให้นักเรียนอาชีวะฝีมือชนได้เรียนแบบลงมือปฏิบัติจริง ทั้งยังสามารถทำงานและหารายได้ระหว่างเรียน เพราะมีทักษะฝีมือที่ได้ฝึกฝนมาจากห้องเรียน สามารถสร้างเนื้อสร้างตัว ดูแลครอบครัว และสุดท้ายมีรายได้ที่ดี ดังภาพยนตร์สั้นเรื่อง “ทางเลือก”



(พื้นที่ประชาสัมพันธ์)

กำลังโหลดความคิดเห็น