เป็นที่รู้กันว่าการขยับเคลื่อนไหวสามารถช่วยให้ร่างกายแข็งแรงได้ ซึ่ง “การเดิน” ถือเป็นกิจกรรมง่ายๆ และพื้นฐานที่สุดในการเคลื่อนไหว เพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรง แต่วันนี้จะมาเจาะลึกกันว่า ในแต่ละช่วงนาทีของการเดินแต่ละก้าวย่างนั้นให้ประโยชน์อะไรกับร่างกายเราบ้าง
ล่าสุด กรมอนามัยได้ทำอินโฟกราฟิกให้ความรู้แบบง่ายๆ ถึงประโยชน์และความมหัศจรรย์ของการเดิน โดยระบุว่า
การเดินนาทีที่ 1 - 5 หรือช่วง 2 - 3 ก้าวแรกจะช่วยกระตุ้นปล่อยสารเคมีเพื่อเป็นเชื้อให้กับการเดิน ชีพจรจะเร่งขึ้นเป็น 70 - 100 ครั้งต่อนาที กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตและให้ความอบอุ่นแก่กล้ามเนื้อ ไขข้อที่ฝืดและตึงจะคลายตัวลงเพื่อให้การเคลื่อนไหวทำได้ง่ายขึ้น เมื่อเคลื่อนที่ไปร่างกายจะเผาผลาญพลังงาน 5 แคลอรีต่อนาที
การเดินนาทีที่ 6 - 10 ชีพจรจะเต้นเร็วขึ้น ร่างกายจะเผาผลาญพลังงานเพิ่มขึ้นเป็น 6 แคลอรีต่อนาที เมื่อก้าวเท้าได้มากขึ้นความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจะช่วยขยายเส้นเลือด ทำให้เลือดและออกซิเจนเข้าสู่กล้ามเนื้อที่กำลังใช้งานมากขึ้น
การเดินนาทีที่ 11 - 20 อุณหภูมิของร่างกายจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เหงื่อเริ่มออก เมื่อเส้นเลือดส่วนที่ใกล้ผิวหนังขยายขึ้นเริ่มปลดปล่อยความร้อนออกมา เมื่อเดินมากขึ้นจะเผาผลาญได้มากไปถึง 7 แคลอรีต่อนาที และหายใจเร็วขึ้น สารฮอร์โมน เช่น เอฟพะเนฟฟริน และ กลูคากอน จะถูกปล่อยออกมามากขึ้น เพื่อเพิ่มเชื้อให้กับกล้ามเนื้อที่กำลังใช้งานอยู่
การเดินนาทีที่ 46 - 60 กล้ามเนื้ออาจจะรู้สึกเมื่อยล้า เมื่อปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่สะสมอยู่ลดลง เมื่อร่างกายเริ่มเย็นตัวลง ชีพจรจะเต้นช้าและหายใจช้าลง อัตราการเผาผลาญพลังงานจะลดน้อยลง แต่ก็ยังสูงกว่าตอนที่เริ่มเดิน จำนวนแคลอรีที่เผาผลาญจะคงที่ไปอีกราวหนึ่งชั่วโมงทั้งหมดนี้เกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว